ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต กรดไหลย้อน จริงหรือ ?

25 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับกรดไหลย้อนเอาไว้มากมาย ทั้งอันตราย ห้ามนอนตะแคงขวา และการกลั้นผายลมเสี่ยงให้เกิดกรดไหลย้อน ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่  1 : กรดไหลย้อน ห้ามนอนตะแคงขวา จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความว่า คนที่เป็นกรดไหลย้อนห้ามนอนตะแคงขวาโดยเด็ดขาด บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : อ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช อายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ ผศ.นพ.โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า มีการวิจัยว่านอนตะแคงขวามีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนมากกว่านอนตะแคงซ้าย  และแม้ว่ากรดไหลย้อนจะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่เป็นโรคที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต โดยในต่างประเทศคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนรุนแรงนำไปสู่การเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้ แต่ในประเทศไทยยังไม่พบว่ามีอาการรุนแรงเช่นนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าการนอนให้ศีรษะอยู่สูงจะช่วยป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้ดีกว่านอนตะแคง โดยต้องหนุนเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้วขึ้นไป ไม่ใช่หนุนหมอนสูง ส่วนวิธีป้องกันโรคกรดไหลย้อน คือ ต้องควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป อย่าใส่เสื้อผ้ารัด เลี่ยงอาหารทอด-มัน-รสเปรี้ยวจัด และควรนอนหลังกินอาหารมื้อเย็นแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป ด้าน ผศ.นพ.โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ข้อโต้เถียงประเด็น “ทารก 40 รายถูกฆ่าตัดหัว” ในอิสราเอล

หนึ่งในข่าวจากสมรภูมิรบในอิสราเอลและกาซาที่สร้างความสลดใจไปทั่วโลก คือข่าวที่อ้างว่ากองกำลังติดอาวุธฮามาสลงมือตัดศีรษะเด็กทารกชาวอิสราเอลนับ 40 ราย

ชัวร์ก่อนแชร์ : วุ้นมะพร้าวทำมาจากกระดาษทิชชู่หรือพลาสติก จริงหรือ ?

25 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปถึงผลิตภัณฑ์ยี่ห้อหนึ่งว่าวุ้นมะพร้าวทำมาจากกระดาษทิชชู่หรือพลาสติก ทำให้ผู้บริโภคไม่กล้าบริโภคนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ บริษัท ทวีผลผลิตภัณฑ์ จํากัด ผู้ผลิตสินค้ากาโตะ ได้ชี้เเจงว่าไม่เป็นความจริงและทางบริษัทขอชี้แจงเพิ่มเติม ดังนี้ กาโตะ ได้ขึ้นทะเบียนรับรองผลิตภัณฑ์อาหารกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับมาตรฐานการผลิตอาหารระดับสากล GHP, GMP, HACCP, ISO 9001:2015, FSSC 22000, HALAL, MUI และมีการส่งออกไปยังต่างประเทศทั่วโลก วุ้นมะพร้าว คือ เส้นใยอาหาร ผลิตโดยการนำน้ำมะพร้าวและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ Acetobacter Xylinum มาผ่านกระบวนการผลิต ได้ผลผลิตเป็น แผ่นวุ้นที่มีเส้นใยอาหารรวมตัวกัน มีเนื้อสัมผัสธรรมชาติ คือ นุ่มเหนียวหนึบ และมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย บริษัทฯ ขอความกรุณามายังผู้โพสต์ข้อความและผู้รับข้อมูลดังกล่าว ซึ่งอาจกระทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำการลบข้อมูลและอย่าส่งต่อข้อมูลอันเป็นเท็จต่อสาธารณะหากผู้บริโภคมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับวุ้นมะพร้าว บริษัทฯมีนักวิชาการอาหารพร้อมให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ท่าน โดยสามารถติดต่อกับบริษัทฯได้ที่ Email : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ไม่ควรพกสมุดคู่มือจดทะเบียนฉบับจริงไว้ในรถ จริงหรือ ?

25 ตุลาคม 2566 ตามที่มีการแชร์กันว่า “ไม่ควรพกสมุดคู่มือจดทะเบียนฉบับจริงไว้ในรถยนต์ เพราะเมื่อรถถูกขโมย จะทำให้โจรสามารถนำรถไปขายได้” นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ เนื่องจากข้อความที่แชร์กันอาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรพกคู่มือฯ ฉบับจริงไว้ในรถยนต์ เนื่องจากเป็นหนึ่งในเอกสารหลักฐานสำคัญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และโฆษกกรมการขนส่งทางบก ได้รับการยืนยันว่า ข้อความที่แชร์กันมีส่วนจริง อย่างไรก็ตามอาจทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าการโอนรถตามกฎหมายนั้นทำได้โดยง่ายเพียงแค่มีสมุดคู่มือฯ ฉบับจริง นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบกยังได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ระบุว่า ตามที่มีประเด็นและข้อถกเถียงในสื่อสังคมออนไลน์ว่าเจ้าของรถควรพกสมุดคู่มือทะเบียนรถไว้ในรถยนต์หรือไม่ และหากไม่พกสมุดคู่มือทะเบียนรถจะมีความผิดตามกฎหมายและมีค่าปรับ 2,000 บาท นั้น กรมการขนส่งทางบกในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอชี้แจงว่า การเก็บใบคู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริง ใบอนุญาตขับรถ รวมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถไว้ในรถ มีความเสี่ยงที่จะถูกมิจฉาชีพลักขโมยเอาไปกระทำการโดยมิชอบ เช่น ปลอมแปลงเพื่อสวมทะเบียน  หรือเสี่ยงที่เอกสารสำคัญดังกล่าวจะสูญหายได้เช่นกัน โดยกรมฯ แนะนำให้เจ้าของรถพกสำเนาใบคู่มือจดทะเบียนรถ (หน้าที่ปรากฏชื่อเจ้าของรถและรายละเอียดตัวรถ) แทนฉบับจริงไว้ในรถ รวมถึงต้องติดแผ่นป้ายทะเบียนและเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี (ป้ายวงกลม) ให้ถูกต้อง เห็นได้อย่างชัดเจน เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าพนักงานหากถูกเรียกตรวจสอบ “ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือที่ประชาชนมักเรียกว่าสมุดคู่มือทะเบียนรถ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตั้งองค์กฐิน ควรงด พับ เจาะ เย็บ ธนบัตร จริงหรือ ?

25 ตุลาคม 2566 ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับตั้งองค์กฐิน ควรงด พับ เจาะ เย็บ ธนบัตร นั้น บทสรุป : เป็นข้อมูลจริง อย่างไรก็ตาม ควรแชร์คำแนะนำจากธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เนื้อหาตามที่แชร์นี้ ในส่วนที่เป็นคำแนะนำการงดพับธนบัตร หรือการใช้ลวดเย็บกระดาษนั้น สอดคล้องกับแนวทางเกี่ยวกับการจัดการธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย ในเรื่องการใช้งานธนบัตรอย่างถูกวิธี ที่ระบุว่า “การใช้ธนบัตรอย่างถูกวิธี – แม้ธนบัตรจะผลิตจากกระดาษชนิดพิเศษที่ทนทานต่อการใช้งาน แต่ความเคยชินในการใช้ธนบัตรที่ไม่เหมาะสมของประชาชน เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ธนบัตรเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น เพื่อถนอมรักษาและยืดอายุการใช้งานธนบัตรให้ยาวนานขึ้น จึงขอความร่วมมือใช้ธนบัตรกันอย่างถูกวิธี “ ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำให้หลีกเลี่ยงการนำธนบัตรไปพับประดิษฐ์ต่าง ๆ การขีดเขียน การพับหรือกรีดเป็นรอย การประทับตรา การขยำธนบัตร และ การเย็บด้วยลวดเย็บกระดาษ สำหรับแนวทางที่แนะนำ หากจำเป็นต้องใช้ธนบัตรประกอบในพิธีหรืองานบุญต่าง ๆ ธนาคารแห่งประเทศไทย แสดงภาพถ่ายตัวอย่างการใช้ธนบัตรโดยไม่มีการพับ หรือเย็บด้วยลวด วิธีการใช้ธนบัตรอย่างถูกวิธี โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ จากการสอบถามไปที่ธนาคารซึ่งมีชื่อระบุในข้อความที่แชร์กัน ได้รับการแนะนำให้ตรวจสอบข้อมูลอย่างเป็นทางการจากธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถดูเนื้อหาที่เกี่ยวกับการสังเกตธนบัตรปลอมได้จากตอนอื่น ๆ ของ […]

รู้ทัน ข่าวปลอมระบาด สงครามอิสราเอล-ฮามาส Part 1 

📽 “ชัวร์ก่อนแชร์ REPLAY” วันนี้ พาทุกท่านย้อนไปรับชม “ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE” กันอีกครั้ง ในหัวข้อที่ยังสำคัญและอยู่ในความสงสัย พบกับ : พีรพล อนุตรโสตถิ์ อัปเดตแวดวงข่าวปลอมข้อมูลเท็จในแบบ “คุยสด เรียนรู้ เท่าทัน” 🎯 เรื่อง : รู้ทัน ข่าวปลอมระบาด สงครามอิสราเอล-ฮามาส Part 1 🔎 กับ อดิศร สุขสมอรรถ Fact Checker ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สามารถร่วมแบ่งปันประสบการณ์ และความคิดเห็นที่มีค่ากับเรา ผ่านช่องทาง “LIVE CHAT” บนทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ ร่วมรับชม “ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE REPLAY” พร้อมกันทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.00 น. บน Youtube และ Facebook “ชัวร์ก่อนแชร์”

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : แยกออยล์คูลเลอร์เกียร์ ช่วยลดอุณหภูมิเกียร์และหม้อน้ำ จริงหรือ ?

24 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คำแนะนำผู้ใช้รถยนต์ว่า การติดตั้งออยล์คูลเลอร์เกียร์แยกออกมาจากหม้อน้ำ จะช่วยให้อุณหภูมิเกียร์และหม้อน้ำลดลงได้นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ อธิบายว่า การติดตั้งแยกออยล์คูลเลอร์เกียร์สามารถช่วยระบายความร้อนได้ดีกว่าเดิมจริง แต่อย่างไรก็ตามประชาชนอย่าตื่นตระหนกรีบไปดัดแปลงหรือปรับเปลี่ยน หากขับขี่ปกติระบบเดิมที่มากับรถนั้นดีอยู่แล้ว Q : หลักการทำงานของออยล์คูเลอร์เกียร์ เป็นอย่างไร ?A : ปกติแล้วน้ำมันเกียร์จะเริ่มต้นทำงานที่อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส แต่เมื่อเวลาทำงานนาน ๆ ถึงจุดหนึ่งอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอาจจะประมาณ 90 องศาเซลเซียส จะมีการเอาน้ำจากหม้อน้ำที่ถูกระบายความร้อนจากด้านบนลงมาด้านล่าง เพื่อฝากระบายความร้อนน้ำมันเกียร์ จากนั้นจึงกลับไประบายความร้อนเครื่องยนต์ต่อ Q : หากไม่ติดตั้งออยล์คูลเลอร์เกียร์ จะส่งผลกระทบหรือไม่ ?A : หากมีการใช้งานปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งแยกออกมาก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามควรตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอหม้อน้ำ ชุดออยเกียร์ จะต้องเปลี่ยนและบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่เหมาะสม Q : ออยล์คูเลอร์ทำงานอย่างไร […]

ชัวร์ก่อนแชร์: คลิปฮามาสยิงมิสไซล์ถล่มอิสราเอลรอบที่ 2 จริงหรือ?

คลิปแรกคือการยิงขีปนาวุธในสงครามกลางเมืองของประเทศซีเรียเมื่อปี 2020 คลิปที่สองคือการตอบโต้ของ Iron Dome ในการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสเมื่อปี 2021

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: เตือนภัย ! ร้านอาหาร รวมมุกโจรในคราบลูกค้า

24 ตุลาคม 2566 วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨ได้รวบรวมกลโกงของแก๊งมิจฉาชีพในคราบลูกค้า มาเตือนภัยให้แม่ค้า พ่อค้าและเหล่าร้านอาหารระวังตัวกัน ทั้งมุกทำเนียนเป็นลูกค้าแล้วป่วย หลอกเงินค่ารักษาพยาบาล อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ยศใหญ่ หลอกเรียกเก็บค่าสถานที่ และอีกหลายกลโกง พร้อมทั้งวิธีจับไต๋มิจฉาชีพ จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : COPYCAT ? — ปรากฏการณ์พฤติกรรมการเลียนแบบ

21 ตุลาคม 2566 – สิ่งนี้… คือ ปรากฏการณ์พฤติกรรมการลอกเลียนแบบ จากเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมที่เคยเกิดขึ้น และ สิ่งนี้…พบว่ากลายเป็นแรงกระตุ้น กว่าร้อยละ 20-30 ของการก่อเหตุอาชญากรรม ที่ถูกเผยแพร่อย่างหนักจากสื่อ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 17 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ข้อพึงตระหนัก เมื่อกินโปรตีนเกษตร

22 ตุลาคม 2566 – โปรตีนเกษตร อาหารทางเลือกที่หลายคนนิยมกิน เพื่อทดแทนการกินเนื้อสัตว์ โปรตีนเกษตร กินเพื่อลดน้ำหนัก ลดไขมันได้หรือไม่ และบุคคลใดควรระวัง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.หทัยชนก กันตรง นักวิจัยชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ : 19 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 68 69 70 71 72 278
...