ชัวร์ก่อนแชร์: ตึก 7 WTC ไม่ถูกเครื่องบินชน แต่ถล่มเพราะถูกวางระเบิด จริงหรือ?

ตึก 7 WTC ถล่มทั้ง ๆ ที่ไม่ถูกเครื่องบินพุ่งชน เนื่องจากซากของตึกแฝดตกมายังตัวอาคาร 7 WTC จนเกิดเพลิงไหม้ยาวนาน 7 ชั่วโมง ส่งผลให้โครงสร้างอาคารถล่มลงมาในที่สุด

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดตา

10 กันยายน 2566 – ปวดตา เป็นเพราะอะไรได้บ้าง แล้วจะป้องกัน บรรเทา หรือ รักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อาการปวดตา ตาล้า สายตาเพลียอาจจะเกี่ยวข้องกับการใช้สายตามากขึ้น เพราะการทำงานในยุคปัจจุบันจะใช้คอมพิวเตอร์และการอ่านหนังสือค่อนข้างมาก ทำให้เกิดอาการเกร็ง อาการเพลีย อาการปวดตาอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ อาการเจ็บป่วยหรือสาเหตุอื่น ๆ มีดังต่อไปนี้ เมื่อมีอาการปวดตาหากอาการไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจดูแลตนเองได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ หากดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วอาการไม่ทุเลาลงหรือรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ต่อไป สัมภาษณ์เมื่อ : 23 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: แผนจงใจระเบิดตึกแฝด World Trade Center จริงหรือ?

ตึก World Trade Center ถูกออกแบบให้ทนต่อการชนจากเครื่องบิน แต่ไม่ทนต่อความร้อนจากเปลวเพลิง อุณหภูมิจากน้ำมันก๊าดของเครื่องบินไม่สูงพอที่จะหลอมละลายเหล็กกล้า แต่ทำให้โครงสร้างอาคารอ่อนแอลง จนตึกถล่มในที่สุด

ชัวร์ก่อนแชร์: กล้องวงจรปิดพบ “เอเลี่ยน” ในลาสเวกัส จริงหรือ?

เป็นการนำเสียงโทรศัพท์แจ้ง 911 เรื่องการพบเห็นมนุษย์ต่างดาวมาประกอบกับภาพเอเลี่ยนที่สร้างขึ้นด้วยเทคนิค CGI

ชัวร์ก่อนแชร์: แชร์คลิปคนถูก “เอเลี่ยน” ลักพาตัว จริงหรือ?

เป็นวิดีโอที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นการจัดฉากให้เชื่อว่ามีคนถูกมนุษย์ต่างดาวลักพาตัว ทั้งหลักฐานการตัดต่อคลิปและการปรากฏตัวของทีมงานในเฟรม

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักอาการชาปลายประสาท

🎯 ตรวจสอบกับ พล.ต. รศ.นพ.สามารถ นิธินันทน์ อายุรแพทย์ สาขาประสาทวิทยา กรรมการสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย โรคของปลายประสาท คือปลายจริง ๆ ปลายมือ ก็เรียกปลายประสาท ปลายเท้า ก็เรียกปลายประสาท บางคนมาบ่นว่า “ชา” เหมือนสวมถุงมือเลย บางคนมาบอกว่า “ชา” เหมือนสวมถุงเท้า เส้นประสาทของคนเรา เริ่มจากตรงกลางไขสันหลัง ออกไปที่ปลายมือ ปลายเท้า คนที่ปลายประสาทเสื่อม มักเริ่มจากปลายมือและปลายเท้าก่อน ร่างกายกับกลไกที่ทำให้เกิดอาการชา หลังจากกินอาหารเข้าไป ระบบย่อยที่กระเพาะอาหารทำงาน กระบวนการดูดซึมแร่ธาตุและสารอาหารไปเลี้ยงตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา จนสุดปลายทาง การไหลเวียนของเลือดและเส้นประสาทดี ร่างกายก็ปกติไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้ปรากฏ บางคนไม่เป็นเช่นนั้น ถ้ามีการถูกรบกวนด้วยโรคบางอย่างทำให้การเคลื่อนไหว หรือการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทไม่ดีก็เกิดอาการชาได้ สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการชา เกี่ยวกับเลือดและการไหลเวียนของกระแสประสาท เนื่องจากเส้นประสาทของคนเรามีอาหารไปเลี้ยง การนำอาหารจากต้นทางคือตัวไขสันหลัง และตัวรากประสาทที่ไขสันหลังไปสู่ปลายทาง ถ้าไหลเวียนได้ดี อาการชาก็ไม่เกิด แต่ถ้ามีการกดทับ การส่งอาหารจากต้นทางไปสู่ปลายทางไม่ดี ส่งผลต่อกระแสประสาท ทำให้เกิดอาการชาได้เหมือนกัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 11 ประโยชน์ ของ โอเมก้า 9 จริงหรือ ?

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. ภกญ. ดร.รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประโยชน์ 11 ข้อ เกี่ยวกับกรดไขมันโอเมก้า 9 ที่มีการแชร์กันบนสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า จริงบางส่วน ส่วนมากยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ข้อ 1. โอเมก้า 9 ช่วยลดการสะสมของคอเลสเตอรอล มีหลักฐานว่าช่วยลดไขมันเลว (Low density lipoprotein : LDL) และไขมันรวม (Total Cholesterol) ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดีและเพิ่มไขมันดี (High density Lipoprotein : HDL) ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แนะนำให้กินกรดไขมันโอเมก้า 9 แทนการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าทำให้เพิ่มไขมันชนิดดี หรือ HDL ได้ ข้อ 2. โอเมก้า 9 ช่วยกระบวนการเผาผลาญ ลดไขมันชนิดเลว การเผาผลาญในร่างกายไม่ได้เกิดจากไขมันที่กินเข้าไปอย่างเดียว แต่เกิดจากการกินอย่างสมดุลมากกว่า  […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : กรดไขมัน “โอเมก้า 3”

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. ภกญ. ดร.รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย มีทั้ง “โอเมก้า 3” และ “โอเมก้า 6” กรดไขมันโอเมก้า 3 คือกรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (Alpha Linolenic Acid : ALA) เวลากินเข้าไปเกิดกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย ทำให้ตัวสายของกรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิกยาวขึ้น และมีพันธะคู่ที่มากขึ้น จากนั้นจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของกรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenoic Acid : EPA) และกรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid : DHA) ซึ่ง EPA กับ DHA จะเป็นประโยชน์ต่อระบบประสาทและสมอง เรียกว่า กรดไขมัน “โอเมก้า 3” การที่จะบอกว่ากรดไขมันตัวไหนเป็นโอเมก้า 3 ต้องดูจากสูตรโครงสร้าง ซึ่งสูตรโครงสร้างของกรดไขมันประกอบด้วยปลายทั้ง 2 ข้าง คือ เมทิล และคาร์บอกซีลิก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : กรดไขมัน “โอเมก้า 6”

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. ภกญ. ดร.รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรดไขมันโอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายจะต้องได้รับจากอาหาร ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ กรดไขมันโอเมก้า 6 หลัก ๆ ที่พบคือกรดไขมันไลโนเลอิก เวลาร่างกายได้รับเข้าไปก็จะเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อีกตัวหนึ่งที่ได้ยินบ่อย ๆ คือ Arachidonic acid : AA ตัวนี้จะมีจำนวนคาร์บอนที่เป็นสายยาวขึ้น และมีพันธะคู่มากยิ่งขึ้น เวลาที่จะดูว่าไขมันตัวไหนเป็นกรดไขมันโอเมก้า 6 ดูที่ตัวโครงสร้างของกรดไขมัน ซึ่งเป็นสูตรพันธะคู่ มีปลาย 2 ข้าง คือ เมทิลและคาร์บอกซีลิก และในเชิงโภชนาการจะนับปลายที่เป็นเมทิล เวลานับตำแหน่งนับที่ตัวคาร์บอนไปเรื่อย ๆ เราพบพันธะคู่ที่ตำแหน่งที่ 6 ประโยชน์ของกรดไขมันโอเมก้า 6 “โอเมก้า 6” เป็นกรดไขมันจำเป็นเหมือนกับ “โอเมก้า 3” เป็นตัวตั้งต้นของการสร้างสารไอโคซานอยด์ (Eicosanoids) ที่ช่วยให้ร่างกายทำงานปกติ  กรดไขมันโอเมก้า 6 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : กรดไขมัน “โอเมก้า 9”

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. ภกญ. ดร.รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “โอเมก้า 9” คือกรดไขมันชนิดหนึ่ง พบได้มากในอาหาร แต่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร การกินกรดไขมันโอเมก้า 9 จะช่วยลดไขมันที่ไม่ดี (Low-density Lipoprotein : LDL) ไขมันรวม (Total Cholesterol) ได้ และอาจจะเพิ่มไขมันดี (High Density Lipoprotein : HDL) ซึ่งได้จากการออกกำลังกาย แต่ขอให้การออกกำลังกายเป็นหลักที่ช่วยเพิ่ม HDL และไม่ใช่กินโอเมก้า 9 เข้าไปเพื่อหวังผลการเพิ่ม HDL อย่างเดียว นอกจากนี้ มีการพูดถึงกรดโอเลอิกซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า 9 อย่างหนึ่ง บอกว่าช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินได้ แต่ยังมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอที่จะบอกว่ากินกรดไขมันโอเมก้า 9 แล้วจะป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดัน หลอดเลือดหัวใจ  แหล่งอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 9 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สัญญาณโรคน้ำคั่งในโพรงสมอง

🎯 ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ประจักษ์ ศรีรพีพัฒน์ หัวหน้าสาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล “น้ำคั่งในโพรงสมอง” เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลาง คือ สมองในผู้สูงอายุ จริง ๆ เรารู้จักโรคนี้มานานมากแล้ว (ประมาณ 60 ปี) ความจริงในอดีตก็คือ ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง มีการเดินที่ผิดปกติ ลักษณะการเดินจะคล้าย ๆ กันหมด หลังค่อม ๆ เดินช้าลง ก้าวเท้าสั้น ๆ ซอยเท้า ยกเท้าไม่ค่อยสูง การคิดแย่ลง การตัดสินใจแย่ลง ความสามารถในการใช้สมองเดิม ๆ ของเขาแย่ลงไป และรวมถึงกลุ่มอาการอารมณ์เปลี่ยนแปลงด้วย กลายเป็นคนขี้หงุดหงิด อารมณ์ค่อนข้างเกรี้ยวกราด นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าในผู้ป่วยกลุ่มเดียวกันมีปัญหาเรื่องการกลั้นปัสสาวะ บังเอิญว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีการไปเจาะโพรงน้ำเลี้ยงสันหลังออกมาตรวจ และเป็นการระบายน้ำไขสันหลังออกไปในตัว ปรากฏว่าระบบดีขึ้น ซึ่งเป็นการพบโดยบังเอิญ หลังจากสืบค้นมาเรื่อย ๆ จึงเกิดแนวคิดของการเกิดโรคนี้ ดังนั้นการรักษาจึงกลายเป็นการใส่ตัวระบายน้ำนั่นเอง เพราะว่าเมื่อมีการระบายน้ำออกมาทำให้อาการดีขึ้น โรคน้ำคั่งในโพรงสมอง เป็นความเสื่อมตามวัย ? ความเสื่อมตามวัยเริ่มต้นที่สมอง […]

1 64 65 66 67 68 120
...