กำจัด “ปลาหมอคางดำ” ต้องใช้วิธีผสมผสาน

กรุงเทพฯ 17 ก.ค. – อาจารย์คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยการลดจำนวนปลาหมอคางดำต้องผสมผสานหลายวิธี ย้ำต้องเลือกให้เหมาะสมตามสภาพความรุนแรงของการระบาด เพื่อลดผลกระทบกับสัตว์น้ำชนิดอื่น ส่วนการวิจัยทำหมันปลากว่าจะเห็นผลต้องใช้เวลา นายวีรกิจ จรเกตุ หัวหน้าสถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม  คณะประมง มหาวิทยาเกษตรศาสตร์กล่าวว่า มาตรการการกำจัดปลาหมอคางดำจำเป็นต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกัน อีกทั้งต้องเลือกให้เหมาะสมกับความรุนแรงของการระบาดด้วยการประเมินเป็นรายแหล่งน้ำเพื่อลดผลกระทบข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นต่อสัตว์น้ำชนิดอื่นและระบบนิเวศ พร้อมกันนี้ยกตัวอย่างการใช้เครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูงจับปลาหมอคางดำเพื่อนำมาทำทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ ย่อมมีปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นติดขึ้นมาด้วย ส่วนการปล่อยปลานักล่าอย่างปลากะพง ปลากะพงไม่ได้เลือกกินเฉพาะปลาหมอคางดำ แต่กินสัตว์น้ำชนิดอื่นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการประเมินสภาพความรุนแรงของการระบาดเป็นรายแหล่งน้ำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยในแหล่งน้ำเสื่อมโทรมที่ปลาหมอคางดำกินสัตว์น้ำชนิดอื่นกินจนเหลือน้อยมาก กระทั่งปลาหมอคางดำกลายเป็นชนิดพันธุ์หลักในแหล่งน้ำนั้น สามารถใช้เครื่องมือประมงประสิทธิภาพสูงจับเพื่อให้สามารถลดจำนวนได้อย่างรวดเร็ว แล้วจึงฟื้นฟูเพื่อคืนความสมดุลของระบบนิเวศ สำหรับโครงการวิจัยของกรมประมงเพื่อควบคุมการแพร่ขยายพันธุ์ของปลาหมอคางดำด้วยหลักการทางพันธุศาสตร์เพื่อให้ได้ปลาที่เป็นหมันนั้น คาดว่า เป็นการนำวิธีทำหมันปลาเศรษฐกิจซึ่งมาอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้สำหรับลดการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำ การทำหมันปลาที่ทำกันอย่างกว้างขวางเช่น ในปลานิลเพื่อลดการเจริญเพศซึ่งจะทำให้ปลาเติบโตเร็ว งานวิจัยของกรมประมงเพื่อให้ได้ปลาหมอคางดำซึ่งมีชุดโครโมโซมพิเศษที่เป็นหมัน แล้วปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำปกติเพื่อให้ได้ลูกที่เป็นหมันจึงเป็นงานวิจัยที่เป็นไปได้ทางทฤษฎี แต่จะทำให้ประชากรปลาหมอคางดำลดลงในระดับไม่ก่อผลกระทบภายใน 3 ปีได้หรือไม่นั้น ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่เคยมีการใช้เพื่อกำจัดสัตว์น้ำรุกรานต่างถิ่นมาก่อน ดังนั้นจึงต้องทำควบคู่กับวิธีอื่นๆ ในการลดจำนวนด้วย นายวีรกิจกล่าวว่า ปลาหมอคางดำเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกรานระบบนิเวศแหล่งน้ำของไทยที่รุนแรงที่สุด เมื่อเทียบกับสัตว์น้ำต่างถิ่นอื่นที่เคยหลุดเข้าสู่ระบบนิเวศ โดย Aliean Spicies เมื่อหลุดเข้าสู่ระบบนิเวศแล้ว เป็นไปได้ยากมากที่จะกำจัดให้หมดไปเช่น ปลาซักเกอร์ที่ยังคงพบในประเทศไทย นายวีรกิจย้ำว่า ในการกำหนดวิธีกำจัดปลาหมอคางดำไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันหมดได้ ต้องศึกษาวิจัยเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ระบบนิเวศเสียสมดุลจนกลายเป็นปัญหาซ้ำซ้อน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงบริบททางสังคม โดยหากมีการปล่อยปลานักล่าเช่น […]

เตรียมตั้งจุดรับซื้อ “ปลาหมอคางดำ” ใน 16 จังหวัด สัปดาห์หน้า

กรมประมงเตรียมตั้งจุดรับซื้อปลาหมอคางดำในสัปดาห์หน้า ตามคำสั่ง “ร.อ.ธรรมนัส” โดยคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำมีมติรับซื้อในราคา 15 บาท/กก.​ ส่วนตัวอย่าง​ปลาจากบริษัท​ที่ขออนุญาต​นำ​เข้า​ในปี​ 2553 ตรวจสอบ​แล้ว​ ยืนยัน​ว่า ไม่เคยได้รับมาและไม่พบจัดเก็บ​ไว้ในห้องเก็บตัวอย่าง

เร่งสกัดน้ำอ่างฯ ห้วยเชียงคำ หลังน้ำกัดเซาะทำนบดินพังทลาย

อธิบดี​กรมชลประทาน​ สั่งด่วน เร่งปิดจุดทำนบดินบริเวณด้านข้างอาคารระบายน้ำล้นของอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ จ.​มหาสารคาม จากเหตุ​ฝนตกหนัก ส่งผลให้น้ำปริมาณ​มากกัดเซาะทำนบดินเสียหาย น้ำไหลทะลักไปยังพื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำ

“ร.อ.ธ​รร​มนัส” เคาะมาตรการ​ไล่ล่าปลาหมอคางดำ​ จัดงบซื้อ 15 บาท/กก.​

“ร.อ.ธรรม​นัส” รมว.เกษตรฯ เร่งรัด​คณะกรรมการ​แก้ไขปัญหาปลาหมอสี​คาง​ดำให้​สรุป​มาตรการ​แก้ไข​ปัญหา เพื่อ​ให้​ kick off ได้​เร็วที่​สุด มาตรการ​ด่วน​คือ​ ให้​เกษตรกร​ผู้​เลี้ยง​สัตว์​น้ำและประชาชน​จับมาขาย​ โดยจะนำเงินจากกองทุน​สงเคราะห์​การทำ​สวนยาง​มารับซื้อไปทำปุ๋ย​ รวมถึง​ของบกลางด้วย​ รับซื้อกิโลกรัม​ละ​ 15​ บาท

รมว.เกษตรฯ สั่งเร่งแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ

“ร.อ.ธรรมนัส” สั่งการหน่วยงานเกี่ยวข้องศึกษาโครโมโซมปลาหมอคางดำตัวผู้ เพื่อไม่ให้ขยายพันธุ์เพิ่มเติมได้ แต่เบื้องต้นได้สั่งการให้ล่าและฆ่าให้หมด

ปะการังฟอกขาวน่านน้ำทะเลไทยดีขึ้น

เข้าสู่ฤดูฝน สถานการณ์ปะการังฟอกขาวน่านน้ำทะเลไทยดีขึ้น อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่ก่อนหน้าสูงมากเริ่มลดลง ประกอบกับปรากฏการณ์ “เอนโซ” เปลี่ยนจาก “เอลนีโญ” เป็นสภาวะเป็นกลาง.

“อาจารย์ธรณ์” ชี้ “ปลาหมอคางดำ” กำจัดไม่หมด

“อาจารย์ธรณ์” ระบุ Alien Species เข้าไปอยู่ในธรรมชาติแล้ว กำจัดให้หมดยาก สิ่งที่ต้องทำคือ ควบคุมการระบาดให้มากที่สุด รวมทั้งลดผลกระทบทั้งต่อแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและระบบนิเวศ

ประชุมวางแผนแก้ไขวิกฤติ “ปลาหมอคางดำ” เพิ่มเติมบ่ายนี้

อธิบดีกรมประมง เผยจะมีการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการระบาดของ “ปลาหมอคางดำ” ที่ รมช.เกษตรฯ เป็นประธานในช่วงบ่ายวันนี้ เพื่อยกระดับมาตรการ รวมถึงกำหนดแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขในจังหวัดที่พบการระบาด 14 จังหวัด ให้ชัดเจน จากนั้นกระทรวงเกษตรฯ จะเสนอ ครม. เห็นชอบต่อไป

“ปศุสัตว์” สกัดการลอบเคลื่อน​ย้าย​โคบริเวณ​ชายแดน​ไทย​-เมียนมา

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ร่วมกับชุดพญานาคราชและทหารพราน สกัดจับพ่อค้าโคลักลอบเคลื่อนย้ายโคมีชีวิต 20 ตัวได้ที่ชายแดนจังหวัดตาก ระหว่างจูงโคเลียบห้วยแม่สลิดโพโกรข้าง อบต.แม่สอง นำผู้กระทำผิด 5 คน ส่งดำเนินคดีที่ สภ.ท่าสองยาง พร้อมสั่งยกระดับคุมเข้มป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าและเคลื่อนย้ายโค-กระบือผิดกฎหมาย

“ธรรมนัส” สั่งกรมชลฯ เฝ้าระวังน้ำท่วม-หลาก 15-20 ก.ค.

รมว.เกษตรฯ สั่งกรมชลประทานเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 15-20 ก.ค. อย่างใกล้ชิด ตามที่ สทนช.ประกาศเตือนมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะ 15-18 ก.ค. ซึ่งกรมอุตุฯ คาดจะมีพื้นที่เสี่ยงมากถึง 71 จังหวัด ทั้งยังย้ำให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษเนื่องจากมี 3 ปัจจัย ที่จะทำให้สภาพอากาศแปรปรวน

ลงคะแนนเสียง “ทับลาน” ท่วมท้น ไม่เห็นด้วยปรับปรุงแนวเขต 95.2%

กรุงเทพฯ 13 ก.ค. – การเปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน มีผู้ร่วมแสดงความเห็นมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ในการรับฟังความคิดเห็นทางออนไลน์ คะแนนไม่เห็นด้วยมากถึง 95.2% เห็นด้วย 4.8% สวนทางกับการประชุมรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ซึ่งคะแนนเห็นด้วยมากกว่าไม่เห็นด้วย การเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเวลา 24.00 น. ที่ผ่านมา การปรับปรุงแนวเขตดังกล่าว เป็นไปตามมติครม. วันที่ 14 มีนาคม 2566 ซึ่งจะมีการตัดพื้นที่ที่มีสภาพเป็นชุมชนออกจากอุทยานแห่งชาติทับลาน 265,000 ไร่ จากนโยบายของรัฐบาลชุดที่แล้วซึ่งระบุว่า เป็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนประชาชนจากการทับซ้อนของแนวเขตที่ดินของรัฐ โดยให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ก่อนจัดทำแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานฉบับใหม่ ผลของการรับฟังความคิดเห็นทางออนไลน์ซึ่งดำเนินการตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน – 12 กรกฏาคม 2567 จำนวน 15 วัน มีผู้แสดงความคิดเห็น 947,107 คน แบ่งเป็น    – ไม่เห็นด้วย 901,892 คน คิดเป็น 95.2%    – เห็นด้วย […]

กรมประมงเร่งวิจัยพันธุกรรมหมันในปลาหมอคางดำ

รมว. ธรรมนัส เผยกรมประมงกำลังเร่งแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำที่ต้นตอ ด้วยการวิจัยและพัฒนาด้านพันธุกรรมให้ประชากรปลาหมอคางดำเป็นหมัน

1 8 9 10 11 12 105
...