fbpx

กอนช. สั่งทุกหน่วยพร้อมรับมือฝนชุกปลายฤดู

ขณะนี้เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ฝนตกชุกที่สุดของปี โดยปีนี้เป็นปีที่ฝนมากกว่าค่าปกติเฉลี่ยย้อนหลัง 30 ปี กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ จึงสั่งให้ทุกหน่วยงานพร้อมรับมือ สำหรับลุ่มเจ้าพระยาที่มีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจะเริ่มนำน้ำหลากเข้าไปฝากในพื้นที่ลุ่มต่ำ 11 ทุ่ง เพื่อป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชนเมือง ด้านกรมชลประทานย้ำบริหารจัดการน้ำในเขื่อนอย่างเหมาะสมและคำนึงถึงความปลอดภัย

เร่งอนุรักษ์ฟื้นฟู หลังเสือโคร่งใกล้สูญพันธุ์ในไทย

วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็น “วันเสือโคร่งโลก” ซึ่งเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย กรมอุทยานแห่งชาติฯ พยายามอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งจนสำเร็จ โดยมีต้นแบบที่กลุ่มป่าตะวันตก ซึ่งจำนวนเสือที่เหลือน้อยมากกลับเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในเวลาเกือบ 20 ปี และจะขยายผลไปยังผืนป่าอื่นๆ

FAO จ่อรับรองวิถีการเลี้ยงควายน้ำและเกษตรเชิงนิเวศทะเลน้อย เป็นมรดกทางการเกษตรโลก

ปลายปีนี้มีโอกาสอย่างมากที่ประเทศไทยจะมี “มรดกทางการเกษตรโลก” เป็นแห่งแรก หากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประกาศรับรอง “วิถีการเลี้ยงควายน้ำและเกษตรเชิงนิเวศทะเลน้อย” จ.พัทลุง

การบริหารจัดการน้ำในฤดูฝน

ฤดูฝนนี้ รมว.เกษตรฯ กำชับให้กรมชลประทาน จัดสรรน้ำเพื่อกิจกรรมต่างๆ อย่างทั่วถึง พร้อมกับตั้งเป้าหมายให้เก็บกักน้ำไว้ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำ ขณะที่ต้องเฝ้าระวังอุทกภัยด้วย เนื่องจากปีนี้เป็นปีที่ฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย โดยกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ไทย 1-2 ลูก

“วัวแดง” รุ่นที่ 5 คืนสู่ “ป่าสลักพระ”

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เตรียมปล่อย “วัวแดง” คืนสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี โดยรุ่นที่จะปล่อยนี้เป็นรุ่นที่ 5 หลังจากที่ไม่พบในป่าสลักพระนานกว่า 30 ปี

ไขข้อสงสัยเหตุใดทั่วโลกไม่มีวัคซีน ASF

โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF พบครั้งแรกเมื่อ 100 ปีก่อน จนถึงปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค นักวิจัยไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ระบุว่าความรู้เกี่ยวกับไวรัส ASF ยังมีน้อย ดังนั้น กว่าจะวิจัยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมาใช้ได้จริง ต้องใช้เวลาอีกนาน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือหากมีการนำวัคซีน​เถื่อน​มาใช้​อาจทำให้​ไวรัส​กลายพันธุ์​จนโรครุนแรง​ขึ้น.-สำนักข่าวไทย

มก.ยันส่งรายงานพบเชื้อ ASF ต้นเดือน ธ.ค.64

กรุงเทพฯ 10 ม.ค. – อาจารย์คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุทางคณะชันสูตรซากสุกรที่เจ้าของนำมาให้ตรวจหาสาเหตุ พบเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ซึ่งเป็นโรคระบาดร้ายแรง จึงเร่งแจ้งแก่กรมปศุสัตว์ เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2564 ด้านอธิบดีกรมปศุสัตว์ ปฏิเสธว่ายังไม่เห็นหนังสือดังกล่าว จึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง แต่ยืนยันว่า ผลการตรวจหาเชื้อที่สุ่มเก็บจากฟาร์มต่างๆ จะทราบในอีก 2 วัน โดยพร้อมทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อรักษาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของประเทศให้อยู่ได้. – สำนักข่าวไทย

ไขข้อข้องใจปีนี้น้ำจะท่วมเหมือนปี 54 หรือไม่

ประชาชนในภาคกลาง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียง กังวลว่าปีนี้น้ำอาจท่วมหนักเหมือนปี 54 นักวิชาการด้านวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิเคราะห์ว่าไม่เกิดขึ้นแน่นอน ส่วนอธิบดีกรมชลประทานยืนยันว่าบริหารจัดการน้ำ ทั้งตัดยอดน้ำเข้าสู่คลอง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ เพื่อเร่งระบายออกอ่าวไทย ขอให้คนกรุงเทพฯ มั่นใจได้

เกษตรแปลงใหญ่ พลิกโฉมสมุนไพรอินทรีย์

กรมส่งเสริมการเกษตรวันนี้ จะพาไปชมกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ผู้ปลูกสมุนไพรที่สามารถพัฒนาการเพาะปลูกสมุนไพรของกลุ่มเป็นแบบเกษตรอินทรีย์ ผลิตคุณภาพดีจนสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในการรักษาแบบการแพทย์ทางเลือกได้

ปลาทูคืนสู่ท้องทะเลไทย

หลายปีแล้วที่ชาวประมงจับปลาทูได้น้อยลงจนเกิดความกังวลว่าปลาทูจะหายไปจากทะเลไทย แต่ช่วงปิดอ่าวฤดูปลาวางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนปีนี้ ชาวประมง จ.กระบี่ พบฝูงลูกปลาทูชุกชุมอย่างมาก

จับตา 30 เม.ย.63 เลื่อนแบนพาราควอตอีกหรือไม่

เหลืออีกเพียง 1 เดือน จะถึงเวลาแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ ล่าสุด มีข้อเสนอฝั่งผู้ประกอบการขอให้เลื่อนการแบนออกไปอีก โดยอ้างสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เครือข่ายที่สนับสนุนการแบนออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง

1 2 3 4 28
...