คุมตัวนักการเมืองท้องถิ่นสงสัยเอี่ยวโค่นไม้พยูง

ฉะเชิงเทรา 8 ต.ค.- ชุดสนธิกำลังฉะเชิงเทราลุยป่าท่าตะเกียบปราบขบวนการลอบตัดไม้พยูง ยึดของกลางเพียบ หลังผู้ทำผิดไหวตัวหลบหนี และคุมตัวผู้ต้องสงสัย เป็นนักการเมืองท้องถิ่นรายหนึ่งในจังหวัดนครนายก เจ้าหน้าที่เร่งสอบขยายผล นายเกรียงศักดิ์ มิตรประกอบโชค นายอำเภอท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา สนธิกำลังกับ ร.ท.สุระ โสรักนิษฐ์ รอง ผบ.ร้อย ทหารพรานที่ 1306 ตำรวจ สภ.ท่าตะเกียบ และชุดปฏิบัติการป่าไม้บ้านหนองคอก เข้าตรวจสอบพิกัดป่าบ้านเขากล้วยไม้ หมู่ 14 ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ เมื่อคืนที่ผ่านมา (7 ต.ค.) หลังมีเบาะแสการลักลอบตัดไม้พยูงและพบกลุ่มคนกำลังใช้เลื่อยยนต์ตัดโค่นต้นไม้ แล้วเกิดไหวตัววิ่งหลบหนีไป ส่วนที่เกิดเหตุได้ตรวจยึดของกลางไว้หลายรายการ อาทิ เครื่องปั่นไฟ เลื่อยไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์ ต้นพยูงถูกโค่น 1 ต้น และท่อนไม้อีกจำนวนหนึ่ง รถบรรทุก 6 ล้อ ทะเบียนนครนายก อย่างไรก็ตาม เวลาต่อมาเจ้าหน้าที่จึงคุมตัวผู้ต้องสงสัย 1 ราย ชื่อ นายราเชนทร์ (สงวนนามสกุล) อายุ 58 ปี […]

โควิด-19เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคตลอดกาล

กรุงเทพฯ 8 ต.ค 63 –  ไลน์ ชี้โควิด-19 เปลี่ยนโลกจากโกบอลไลเซชั่น สู่โลกไม่รวมศูนย์ ชู 3 แนวโน้มใหม่เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มแห่งอนาคต นายนรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ ไลน์ประเทศไทย กล่าวว่า เทรนด์ใหญ่ระดับโลกที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น การเชื่อมต่อความเร็วสูง 5G การใช้จ่ายเงินดิจิทัล สงครามการค้าระหว่างประเทศ ถูกกระทบด้วยการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทุกธุรกิจต้องเรียนรู้และเร่งปรับตัว  วิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉมธุรกิจทั่วโลกครั้งใหญ่ไปโดยสิ้นเชิง ทุกภาคส่วนต่างเร่งรับมือกับโจทย์ใหญ่ คือการก้าวขึ้นสู่โลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว โดยไม่ได้มีสูตรสำเร็จในการใช้ดิจิทัลรับมือวิกฤตครั้งนี้มาก่อน เราจึงมองว่าการทำธุรกิจแบบไม่รวมศูนย์กลาง (Decentralization) ที่ให้ความสำคัญกับภาคส่วนย่อยมากขึ้น สามารถสอดรับการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันนี้ได้เป็นอย่างดี  ควบคู่กับเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบัน ทำให้แต่ละภาคธุรกิจต้องนิยามการเติบโตในธุรกิจใหม่ เพื่อความอยู่รอดและก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอีกครั้งหลังวิกฤตครั้งใหญ่นี้ แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไประหว่างช่วงโควิด-19 มี 4 ประเด็น คือ Basket – ผู้บริโภคมีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าในปริมาณน้อยลง Homebody – ผู้บริโภคนิยมหันมาดำเนินกิจกรรมที่บ้านมากขึ้น Rational – ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงเหตุผลมากขึ้น และ Affordability – ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงปัจจัยด้านราคามากขึ้น  ผู้บริโภคกับพฤติกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงจากข้อมูลเชิงสถิติบนแพลตฟอร์มไลน์ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคมากมายหลายด้าน และมีจำนวนผู้บริโภคที่นิยมชื่นชอบพฤติกรรมเหล่านี้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ในสังคมไทย เราเรียกแนวโน้มนี้ว่า “New Human” หรือผู้บริโภคกับพฤติกรรมใหม่ ตัวอย่างเทรนด์นี้ที่เห็นได้ชัดคือกระแสซีรีส์วายพลิกจากความชอบเฉพาะกลุ่มสู่พฤติกรรมกระแสหลักของผู้ชมชาวไทยก่อนจุดติดเป็นกระแสซีรีส์วายฟีเวอร์ทั่วเอเชีย สร้างกลุ่มแฟนตัวจริงที่พร้อมสนับสนุนนักแสดงซีรีส์วายในดวงใจ  ก่อให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ Y-Economy ด้วยการใช้ศิลปิน นักแสดงเป็นกลไกนำไปสู่ความจงรักภักดีต่อแบรนด์และการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากข้อมูลผลสำรวจโดยไลน์ประเทศไทยยังพบว่าร้อยละ 80 ของผู้ชมซีรีส์วายชาวไทยคือเกือบ 20 ล้านคนนิยมดูซีรีส์วายผ่านช่องทางไลน์ทีวีเป็นหลักบรรทัดฐานใหม่ในการเก็บข้อมูลไม่พึ่งพาคนกลาง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา จนเกิดเป็นบรรทัดฐานใหม่ของการเก็บข้อมูลหรือ “New Rule” ที่อาจส่งผลต่อทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งในฝั่งแพลตฟอร์มและฝั่งแบรนด์การเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้า (First-party data) จึงเป็นทางออกที่ทุกกลุ่มธุรกิจควรให้ความสำคัญ และควรเริ่มเตรียมตัว ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ วิธีดำเนินธุรกิจให้สอดคล้อง รองรับมาตรการเหล่านี้ให้ทันท่วงที ไลน์เห็นความสำคัญของ First-party data และเปิดให้แบรนด์สามารถเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้า ผู้ใช้งานด้วยโซลูชันและเครื่องมือบนแพลตฟอร์มไลน์มานานเกือบ 3 ปีผ่าน LINE Business Connect for CRM (BCRM) ที่ช่วยบริการจัดการฐานข้อมูลลูกค้าบน LINE Official Account และ Mission Stickers สติกเกอร์ที่ผู้ใช้งานจะได้รับเมื่อทำภารกิจตามที่แบรนด์กำหนด เช่น การเพิ่มเพื่อนบน ไลน์การตอบแบบสอบถาม เป็นต้น ซึ่งทั้งสองเครื่องมือ สามารถช่วยให้แบรนด์ได้รับข้อมูลโดยตรงจากลูกค้าได้อย่างถูกต้อง โปร่งใส ในจำนวนมหาศาลภายในเวลาอันรวดเร็วถึงนับล้านโปรไฟล์ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาไลน์ มีฐานข้อมูลสะสมที่ได้รับโดยตรงจากผู้ใช้งานมากกว่า 300 ล้านโปรไฟล์รวมจากทุกแบรนด์ที่ใช้บริการ ไลน์ยังคงมุ่งเน้นให้ความสำคัญของการเก็บและใช้ประโยชน์ของดาต้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการประกาศเปิดตัวโซลูชันใหม่ล่าสุด MyCustomer ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่านไลน์โอเอให้กับแบรนด์ได้ดีและลึกยิ่งขึ้น ยกระดับระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าแบบครบวงจรหรือCRM (Customer relationship management) บนไลน์ในแบบเดิมๆ สู่การเป็น CDP – Customer Data Platform หรือแพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูลลูกค้าแบบใหม่ ซึ่งมีแผนจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการปีหน้าอิทธิพลและพลังของเอเชียเหนือทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าเอเชียได้ก้าวเข้ามาเป็นขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ของโลก เฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มูลค่าการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ใน 3 ไตรมาสแรกมีมูลค่ารวมกว่า 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ1 มากกว่าทวีปอเมริกาเหนือกว่า 3 เท่า ส่งให้เอเชียกลายเป็น “New Power” ที่อิทธิพลและพลังเหนือภูมิภาคอื่นทั่วโลก โดยหากวัดเฉพาะผู้บริโภคของไทย ประเทศไทยขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกในด้านการช้อปปิ้งผ่านโซเชียลมีเดียมาตั้งแต่ปี 25592 โดยเฉพาะ Chat Commerce ซึ่งมีผลสำรวจเผยว่า เป็นช่องทางการซื้อขายรูปแบบ E-Commerce ที่ดีที่สุดสำหรับเอสเอ็มอีไทย หากวัดจากผลตอบแทนจากการลงทุนหรือ ROI – Return on Investment3  จึงอาจกล่าวได้ว่า Chat Commerce คือช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับการขายสินค้าแบบ E-Commerce ที่เหมาะและตอบโจทย์ความต้องการของคนไทยได้อย่างลงตัวไลน์จึงได้เปิดให้บริการ MyShop เครื่องมือที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพไลน์โอเอด้านการขายของ ด้วยระบบหน้าร้านออนไลน์ ระบบจัดการสต๊อกสินค้า เป็นต้น ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยพบว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของ MyShop มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดถึง 17 เท่านับตั้งแต่เปิดให้บริการมาจากความสำเร็จนี้ไลน์ได้เดินหน้าแนะนำเครื่องมือและโซลูชันใหม่ๆ เพื่อการเติบโตของทุกธุรกิจไทยภายใต้ ความเปลี่ยนแปลงสู่ยุคที่ไม่รวมศูนย์กลาง ออกมาอีกมากมาย ซึ่งล้วนเป็นโซลูชันที่ออกแบบมาเพื่อผู้บริโภคไทย และภาคธุรกิจไทยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น MyRestaurant โซลูชันสำหรับจัดการบริการต่างๆ ด้านธุรกิจอาหารบนไลน์โอเอภายใต้ความร่วมมือจากไลน์แมนวงในช่วยดูแลธุรกิจอาหารตั้งแต่บนโลกออนไลน์ถึงหน้าร้านและบริการจัดส่งอย่างครบวงจร Event Stickers สติกเกอร์รูปแบบใหม่ที่แบรนด์สามารถกำหนดยอดดาวน์โหลดได้เองเพื่อควบคุมงบประมาณได้ตามต้องการ เป็นการขยายฐานให้กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงโซลูชันนี้ในการทำธุรกิจได้มากขึ้น เช่น การแจกสติกเกอร์ให้กับผู้ร่วมงานอีเวนท์ตามจำนวนที่กำหนด การแจกสติกเกอร์สำหรับลูกค้าที่ได้ซื้อสินค้าที่กำหนดไว้ในจำนวนจำกัดเท่านั้น เป็นต้น ซึ่งพร้อมเปิดให้แบรนด์สามารถใช้งานโซลูชันนี้ได้แล้ววันนี้! และอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญคือการเปิดตัวไลน์โอเอสโตร์ ที่รวมเครื่องมือและโซลูชันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ ไลน์โอเอ ทั้งที่พัฒนาจากไลน์เอง และจากองค์กรนักพัฒนาภายนอก รวมไว้ในที่เดียว ซึ่งนอกจากจะมีช่องทางหลักให้ธุรกิจสามารถเลือกใช้เครื่องมือ โซลูชันได้ตามจุดประสงค์ ความต้องการแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมศักยภาพของนักพัฒนาไทย ให้มีตลาดในการนำเสนอผลงานทางด้านเทคโนโลยีสำหรับภาคธุรกิจได้อย่างจริงจัง โดยมีแผนเปิดให้ใช้งานภายในสิ้นปีนี้เช่นเดียวกับ MyRestaurant “ธุรกิจไทยยังมีความท้าทายข้างหน้ารออยู่ในโลกหลังโควิด-19 โดยไลน์พร้อมที่จะนำเสนอโซลูชันใหม่ๆ เพื่อพลิกนิยามของการเติบโตทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ให้แก่ทั้งแบรนด์ นักการตลาด และเอสเอ็มอี ตลอดจนยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้ให้สะดวกสบายขึ้นไปอีกขั้น กระแสตอบกลับต่อเหตุการณ์ครั้งใหญ่ของโลกแบบเฉพาะตัวอันแตกต่างไปตามแต่ละท้องที่หรือ Decentralization ได้สร้างโอกาสการเติบโตของธุรกิจไทยโดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ตามอีกต่อไป” -สำนักข่าวไทย.

ดีป้าเผยโควิด-19กระทบดัชนีความเชื่อมั่นดิจิทัลไทย

กรุงเทพฯ 8 ต.ค. ดีป้าเผยดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ชี้โควิด-19 กระทบธุรกิจดิจิทัลสวนทางจำนวนผู้ใช้งาน  นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า จากการทำการสำรวจ Digital Industry Sentiment Index โดนรวบรวมข้อมูลทั้งดัชนีชี้วัดระดับสากล และฐานข้อมูลที่ดีป้าสำรวจเองทั้งในฝั่งของผู้ประกอบการที่เป็นฐานข้อมูลและแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัล และความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลที่สำรวจและนำเสนอผลรายไตรมาส ตลอดจนการสำรวจฝั่งผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรมโดยในระยะแรกมุ่งเน้นที่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการผลิตเป็นอันดับแรก และจะขยายผลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอื่นและภาคบริการต่อไปในอนาคตอันใกล้ พบว่าแนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลมีความสอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งสามารถบ่งชี้ว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลและมีการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพราะดิจิทัลกลายเป็นปัจจัยสำคัญทั้งในการขับเคลื่อนธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อย่างไรก็ตามเรายังขาดแคลนเรื่องกำลังคนดิจิทัล ซึ่งเป็นแรงงานกลุ่มสำคัญในการสร้างความได้เปรียบ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมดิจิทัลไทย  นายณัฐพล กล่าวอีกว่า ด้านกำลังคนดิจิทัลที่มีศักยภาพ ความสามารถสูง มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จะเข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยให้เติบโตในตลาดโลก บัณฑิตที่จบใหม่ ต้องพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน มีทักษะตามที่ตลาดแรงงานดิจิทัลต้องการ ทำงานได้ทันที จึงต้องมีการ Upskill หรือ Reskill ก่อนที่บัณฑิตเหล่านี้จะเข้าสู่ตลาด ดัชนีความเชื่อมั่นจึงเป็นเสียงสะท้อนว่านโยบายที่ภาครัฐใช้นั้นเกิดผลสำเร็จได้จริงหรือไม่ หากค่าดัชนีฯ ต่ำหมายถึง ภาคธุรกิจไม่มีความเชื่อมั่นในนโยบายของรัฐและการทำงานของภาครัฐ เพราะฉะนั้น ดัชนีฯ จึงเป็นเสียงสะท้อนโดยตรงจากผู้ประกอบการดิจิทัล” ผอ.ใหญ่ ดีป้า กล่าวเสริม ทั้งนี้ในเชิงรายละเอียดจากการสำรวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ในไตรมาส 2/2563 อยู่ที่ระดับ 43.4 ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ชี้ว่า อุตสาหกรรมดิจิทัลก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงอย่างรุนแรงในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ แม้ว่าในช่วงการะบาดของโควิด-19 จะมีผู้ใช้ดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดก็ตาม แต่ผู้ประกอบการดิจิทัลส่วนใหญ่ระบุว่าโควิด-19 ทำให้ผลประกอบการโดยรวมลดลง เนื่องจากขาดแคลนแหล่งเงินทุนสนับสนุนในการขับเคลื่อนธุรกิจ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขาดแคลนแรงงานที่ตรงกับสายงานที่กิจการต้องการ  “ในไตรมาสที่ 3/2563 นี้ ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 49.8 เป็นผลมาจากรัฐบาลเพิ่งผ่อนคลายมาตรการการควบคุมโรคโควิด-19 และเร่งฟื้นฟูธุรกิจหลังจากผ่านวิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการดิจิทัลเริ่มได้รับการจ้างดำเนินงานหรือมีโครงการเพิ่มขึ้น ทั้งนี้โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน ภาคการศึกษานำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้มากขึ้นเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการดิจิทัลมีผลประกอบการดีขึ้นแต่ยังไม่กลับสู่สถานการณ์ปกติ  คาดว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล จะปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่ที่ระดับ 61.2 เนื่องจากโควิด-19 เป็นตัวเร่งที่ทำให้ทุกภาคส่วนเริ่มใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น Cloud Technology, Software, Social Media, Online Entertainment และ Online Payment มาปรับใช้ในการทำงานหรือเกิดDigital Transformation องค์กรมากขึ้น” นอกจากนี้ ดีป้าได้ศึกษาเพิ่มเติมควบคู่กับ มูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลปี 2561-2562 คาดการณ์ 3 ปี ชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์กำลังประสบปัญหา จากมูลค่าตลาดฮาร์ดแวร์มีแนวโน้มลดลง ฉุดรั้งให้มูลค่าตลาดฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะปรับตัวลดลงตามไปด้วย จาก 303,168 ล้านบาทในปี 2561 เป็น 299,342 ล้านบาทในปี 2562 โดยปัจจัยหลักเกิดมาจากการบริโภคอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ลดลง และเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในรูปแบบบริการมากขึ้นพร้อมทั้งแทนที่ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้าถึงบริการดิจิทัลมากขึ้นจากอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้มูลค่าตลาดบริการดิจิทัลเติบโตขึ้นสวนทางกับตลาดฮาร์ดแวร์ที่มูลค่าตลาดลดลง แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นจะบ่งชี้ว่า ในภาพรวมผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะก็ยังคงต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากภาครัฐ ทั้งในด้านการด้านการแข่งขันทางด้านดีไซน์ การสร้างตลาดใหม่ของกลุ่มฮาร์ดแวร์ที่จะต้องผลักดันให้ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ผลิต แล้วส่งออก แต่ต้องมีตลาดภายในประเทศ นายณัฐพล กล่าวถึงการพัฒนากำลังคนดิจิทัลว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลจะสอดคล้องกับการจ้างงานที่ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถในด้านดีไซน์ ด้าน Machine Learning และในการเพิ่มผลิตผลในอุตสาหกรรมดิจิทัล เพราะเกี่ยวข้องกับการลดต้นทุน ขณะเดียวกัน ทักษะแรงงาน ควรจะเป็นแรงงานที่มีทักษะ หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น Data Analytic หรือ Data Engineering -สำนักข่าวไทย.

คู่มือป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์

กรุงเทพฯ 8 ต.ค. 63 – ดีอีเอส เตรียมออกคู่มือแนะนำทางปฏิบัติ ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ภายในสัปดาห์หน้า นายพุทธิพงษ์  ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวในการประชุมคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่าที่ประชุมได้ยกกรณีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาลสระบุรีที่ถูกแฮคข้อมูลเรียกค่าไถ่(Ransomware) จากกรณีนี้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเรื่องการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล ให้กับพี่น้องประชาชนทราบ เพื่อหาทางป้องกันภัยทางไซเบอร์ในเบื้องต้น โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับประชาชนทั่วไป  ทางกระทรวงดิจิทัลฯ ให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA จัดทำหนังสือแนะนำวิธีป้องกันข้อมูลสำคัญส่วนตัวเบื้องต้น ซึ่งจะออกเผยแพร่ให้ประชาชนทราบภายในสัปดาห์หน้า ระดับภาคธุรกิจเอกชนที่มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ แนะนำวิธีป้องกันข้อมูลเบื้องต้น ก่อนที่จะเกิดเหตุ จากนั้นจึงจะให้ไทยเซิร์ต ในฐานะศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(National CERT) เข้าไปช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติให้  ตามลำดับ และระดับองค์กรภาครัฐ องค์กรใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องวางระบบป้องกันข้อมูลก่อน เกิดความเสียหาย รัฐมนตรีดิจิทัลฯ กล่าวอีกว่า พบว่ามีความพยายามจะแฮคข้อมูลของภาครัฐตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องหาทางป้องกันรับมือกับเหตุการณ์เหล่านี้เอาไว้  โดยแต่ละหน่วยงานโดยเฉพาะภาครัฐรวมถึงโรงพยาบาล  จำเป็นต้องส่งเจ้าหน้าที่ด้านไอทีที่ดูแลเทคนิคของตัวเองเข้าอบรมกับไทยเซิร์ต เพื่อให้ทราบถึงการดูแลระบบ รวมถึงวิธีการป้องกันรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเบื้องต้นก่อน ให้สามารถแก้ปัญหาและป้องกันเหตุก่อนล่วงหน้า สำหรับแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นในการจัดเก็บข้อมูลสำคัญส่วนตัว และข้อมูลองค์กร ควรปฏิบัติดังนี้  1. จัดทำ หรือทบทวนแนวนโยบายในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงาน 2. สำรองข้อมูลที่สำคัญ  3. ควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายสารสนเทศ 4. ประเมินความเสี่ยงด้านระบบสารสนเทศ 5. จัดเก็บบันทึกกิจกรรม (log) ในพื้นที่จัดเก็บส่วนกลางที่มีการควบคุมการเข้าถึงอย่างรัดกุม 6. ทบทวน และยกเลิกบริการที่ไม่จำเป็นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ 7. กำหนดเจ้าหน้าที่ประสานงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในระดับบริหารกับระดับปฏิบัติการ 8. ให้ความรู้ผู้ใช้งานในหน่วยงาน เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ .-สำนักข่าวไทย

บอร์ดกมช.เลือกปรัชญาเฉลิมวัฒน์ เป็นเลขาธิการ

กรุงเทพฯ 7 ต.ค. รองนายกฯ เห็นชอบแต่งตั้ง “พลโทปรัชญา เฉลิมวัฒน์” เป็นเลขาธิการ กมช. ตามผลการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหา พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานการประชุมคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ครั้งที่ 3/2563 วันนี้  (7 ต.ค.) พร้อมด้วยคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งพลโทปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ตามผลการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหา พลเอกประวิตร กล่าวว่า ในวันนี้ถือได้ว่าเป็นการสร้างและผลักดันความคืบหน้าในการขับเคลื่อนกลไกการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ โดยมีการแต่งตั้งเลขาธิการ เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อน สกมช. และทำหน้าที่ที่กฎหมายไซเบอร์กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป พร้อมทั้งมอบหมายให้นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กบส.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องในการทำสัญญาว่าจ้างเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อให้สามารถเข้าปฏิบัติงานได้โดยเร็ว โดยวาระพิจารณาแต่งตั้งเลขาธิการ กมช. ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการตามที่กฎหมายไซเบอร์กำหนดคือเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบการปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ซึ่งถือเป็นอำนาจหน้าที่ที่สำคัญในช่วงแรกของคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ “ในการทำงานที่ผ่านมาของบอร์ดไซเบอร์ฯ เราได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กบส.) เรียบร้อยแล้ว และได้มีการอนุมัติโครงสร้างของสำนักงานฯ แล้ว และมีการดำเนินการในส่วนของการจัดสร้างที่ตั้งของสำนักงาน งบประมาณและข้อบังคับต่างๆที่ /เกี่ยวข้องแล้ว จึงสามารถแต่งตั้งเลขาธิการได้” พลเอกประวิตรกล่าว นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่ผ่านมาระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2563 ในการเตรียมการตามหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) ภารกิจจัดทำแผนการดำเนินงานตามมาตรา13 ตามอำนาจหน้าที่ของ กกม. มีการจัดทำกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และจัดทำแนวทางกำหนดหลักเกณฑ์บริการที่จัดเป็นบริการที่สำคัญ (Critical Services) และหน่วยงานควบคุมกำกับหรือดูแลหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ อีกทั้งมีการเตรียมการตามหน้าที่และอำนาจของของคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กบส.) อาทิ จัดทำร่างกรอบโครงสร้างและอัตรากำลัง จัดทำร่างแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี(พ.ศ.2563 – 2565) จัดทำกรอบวงเงินงบประมาณปี 2564 – 2565 ในการขอทุนประเดิม จัดทำร่างคำขอจัดกลุ่มองค์การมหาชนของ สกมช. จัดทำร่างข้อบังคับ กบส. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล และจัดทำร่างข้อบังคับ กบส. ว่าด้วยการบริหารงานการเงิน บัญชี งบประมาณ และทรัพย์สิน และภารกิจที่สำคัญอีกด้านคือ การจัดทำกฎหมายลำดับรอง ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงฯ อยู่ระหว่างดำเนินขั้นตอนการดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562-สำนักข่าวไทย.

รมว.แรงงาน ส่งผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ลุยระยองขับเคลื่อนยกระดับฝีมือแรงงาน

กระทรวงแรงงาน 7 ต.ค.- “สุชาติ” รมว.แรงงาน มอบหมายให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงฯ ลงพื้นที่ระยองประชุมหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด รับฟังปัญหา ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญด้านแรงงาน เร่งขับเคลื่อนยกระดับฝีมือแรงงานให้มีทักษะที่สูงขึ้น ส่งเสริมการมีงานทำ พร้อมทั้งเร่งรัดการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ วันที่ 7 ตุลาคม 2563 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดระยอง ตรวจเยี่ยมราชการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 จังหวัดระยอง พร้อมด้วย นายภูมา ธรรมกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เพื่อประชุมติดตามการขับเคลื่อนภารกิจตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมทั้งประชุมหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดระยอง และรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์และการขับเคลื่อนนโยบายด้านแรงงานที่สำคัญ รวมถึงปัญหาอุปสรรคด้านแรงงานในพื้นที่ ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 จังหวัดระยอง ตำบลพนานิคม อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง โดยมีนางสาวสุพัตรา โรจนมังคลาภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 ให้การต้อนรับ และนำเยี่ยมชมศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานฯ ทั้งนี้ นายสุรชัย กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เน้นให้ทุกหน่วยงานทำงานเชิงรุก เร่งขับเคลื่อนยกระดับฝีมือแรงงานให้มีทักษะที่สูงขึ้น ส่งเสริมการมีงานทำ รวมทั้งเร่งรัดการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ […]

ภูเก็ตเสนอรับต่างชาติเที่ยวหลังงานถือศีลกินผัก

ภูเก็ต 7 ต.ค.- ผู้ว่าฯ ภูเก็ต ยังไม่ฟันธงจะมีชาวต่างชาติเข้าภูเก็ต 8 ต.ค.นี้ได้หรือไม่ และการหารือกับภาคท่องเที่ยวอยากให้เข้ามาหลัง 25 ต.ค. หรือหมดกิจกรรมถือศีลกินผักจะดีกว่า เพราะตอนนี้กระแสไทยเที่ยวไทยแนวโน้มดี อาจเกิดสะดุด นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวในรายการผู้ว่ารายงานประชาชน เช้าวันนี้ (7 ต.ค.) กรณีจะเปิดให้ชาวต่างชาติกลุ่มพิเศษ Special Tourist Visa หรือ STV เพื่อการท่องเที่ยวและทำธุรกิจเข้ามายังจังหวัดภูเก็ต เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจว่า การเปิดเมืองให้ชาวต่างชาติเข้ามาภูเก็ตนั้น เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนในพื้นที่ภูเก็ตอย่างมาก และมีการสอบถามกันมาตลอดว่าวันที่ 8 ต.ค.นี้ จะมีนักท่องเที่ยวเข้าภูเก็ตหรือไม่ ขอชี้แจงว่าเวลานี้จังหวัดภูเก็ตยังไม่ได้รับแจ้งจากกระทรวงมหาดไทยในการให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาภูเก็ตในวันที่ 8 ต.ค.นี้ ซึ่งการนำชาวต่างชาติเข้ามานั้นจะต้องได้รับการอนุญาตจากกระทรวงการต่างประเทศ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. และกระทรวงมหาดไทยก่อน จังหวัดอยู่ในขั้นตอนปลายทางที่จะนำคำสั่งมาปฏิบัติเท่านั้น ขอย้ำว่าขณะนี้ยังไม่มีการให้ต่างชาติเข้ามา นายณรงค์ กล่าวด้วยว่า ส่วนจะให้ชาวต่างชาติเข้ามาได้เมื่อไหร่นั้น จากการหารือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและภาคเอกชนได้ข้อสรุปว่า ต้องการให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาหลังงานประเพณีถือศีลกินผักไปแล้ว คือ หลังวันที่ 25 […]

ดีป้าปลุกกระแสเมืองอัจฉริยะ

กรุงเทพฯ 7 ต.ค. ดีป้า จับมือพันธมิตรจัดงาน Thailand Smart City Week 2020 โชว์เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ​นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า ดีป้า ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร Techsauce, Huawei และFutureTales Lab by MQDC จัดงาน Thailand Smart City Week 2020 มหกรรมแสดงเทคโนโลยีด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในรูปแบบ Real Digital Event ครั้งแรกของประเทศไทยขึ้นระหว่างวันที่ 16-22 ตุลาคม 2563 ภายใต้แนวคิดREAL Solutions for REAL People in the REAL Smart Cities “ดีป้า ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการยกระดับเมืองอัจฉริยะให้เป็นเมืองน่าอยู่มากที่สุด ซึ่งงาน Thailand Smart City Week 2020 มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความตระหนักรู้ พร้อมมอบประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในมิติต่าง ๆ แก่ประชาชน ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ควบคู่ไปกับการจุดประกายให้ผู้นำเมืองสร้างสรรค์แนวทางการจัดการเมืองในแต่ละด้านอย่างตรงจุด มีเวทีสัมมนาถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและต่างประเทศ เปิดโอกาสประชาชนร่วมค้นหาโซลูชันในการแก้ปัญหาและพัฒนาเมือง รวมถึงพื้นที่สำหรับการเจรจาทางธุรกิจ ซึ่งประชาชนยังสามารถสัมผัสและเข้าถึงกิจกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้จากทั่วทุกภูมิภาค ตอบรับชีวิตวิถีใหม่ (นิวนอร์มอล) โดย ดีป้า หวังเป็นอย่างยิ่งว่า Thailand Smart City Week 2020 จะเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ซึ่งเมืองอัจฉริยะประเทศไทยอยู่ไม่ไกลเกินคิดอย่างแน่นอน” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว สำหรับกิจกรรมภายในงาน Thailand Smart City Week 2020 ประกอบด้วย Smart City PLAYS การสาธิตการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อจัดแสดงนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมในมิติต่าง ๆ โดยความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มาพร้อมเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ (CU Smart City) มหาวิทยาลัยศิลปากร กับ Flower Labs ย่านปากคลองตลาด และCreator Space ชั้น 6 True Digital Park ฯลฯ ทั้งหมดเพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประชาชนได้สัมผัสประสบการณ์เมืองอัจฉริยะที่อยู่ใกล้ตัว ​Smart City LEARNS การอบรม แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านคอร์สอบรม และการสัมมนาออนไลน์ถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ Smart City Thailand Office เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา พร้อมต่อยอดการเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ (Lifelong Learning) […]

เคบีทีจีตั้งเป้าเป็นบริษัทเทคใหญ่สุดของไทยในปี68

กรุงเทพฯ 7 ต.ค. เคบีทีจีชูวิสัยทัศน์ Beyond The Future Day 2020 ย้ำผู้นำไฟแนนเชียลเทคฯ ตั้งเป้าปี 68 เป็น บริษัทเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในไทย นายเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกรบิซิเนส-เทคโนโลยีกรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า โควิด -19 ทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ที่แตกต่างจากอดีต เคบีทีจีทำทรานส์ฟอร์เมชั่นครั้งสำคัญที่สุดภายใต้แนวคิด“ วันเคบีทีจี “(One KBTG) โดยมีแกนสำคัญในการปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กรการปฏิรูปกระบวนการทำงานและการให้พนักงานมีส่วนร่วมเพื่อผลักดันให้เคบีทีจีเป็น บริษัท เทคโนโลยีที่แข็งแกร่งและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาให้ประเทศรอดจากวิกฤตจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปมีความคุ้นเคยกับดิจิทัลมากขึ้นสะท้อนจากธุรกรรมซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าผู้ใช้โมบายแบงกิ้งมีอายุมากขึ้นเฉลี่ย 40-50 ปีจากเดิม 25-39 ปีทำให้ปัจจุบันมียอดผู้ใช้งาน K + ราว 14 ล้านคนคาดว่าจะมียอดทำธุรกรรมทำสถิติกว่า 20,000 ล้านรายการในปีนี้รวมถึงการร่วมเป็นพันธมิตรกับองค์กรเพื่อให้ครอบคลุมธุรกรรมทางการเงินในทุกอุตสาหกรรม สำหรับแอปพลิเคชันขุนทองมีลูกค้าดาวน์โหลดแล้ว 500,000 ราย แอป Make ดาวน์โหลดแล้ว 20,000 ราย แอปEatable 10,000 รายและมีพันธมิตรใช้ Contactless Technology 20 ราย โดยล่าสุดได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพัฒนาแพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อเปิดตลาดทุนแบบใหม่ในประเทศไทยที่จะช่วยเพิ่มช่องทางการระดมทุนและลงทุนในผลิตภัณฑ์บนแพลตฟอร์มใหม่ ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของเคบีทีจีต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผ่าน 3 แกนหลักคือ 1. เพื่อให้ลูกค้าทุกรายสามารถทำธุรกิจต่อได้ทำให้คนรู้จักออมเงินลงทุนและซื้อประกันซึ่งเป็นเสาหลัก 2. ทำให้เกิดสมดุลทางการเงินของชีวิตและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าให้มากที่สุดเพราะมีเงินสะสมนำเงินส่วนที่เหลือไปลงทุนเพื่อที่จะเกษียณได้3. เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจธนาคารแบบเดิมเป็น บริษัท เทคโนโลยีที่จะนำนวัตกรรมออกไปให้กับทุก ๆ คนได้ใช้ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ไหนหรือทำธุรกรรมรูปแบบใด  “อนาคตถูกร่นเวลาด้วยการระบาดของโควิด-19 เคบีทีจีต้องการเร่งการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลด้วยการมองไปไกลนำหน้าอนาคตหนึ่งก้าว และไม่หยุดเฉพาะในประเทศไทย” นายเรืองโรจน์ กล่าวอีกว่า เคบีทีจีได้ตั้ง Development Hub ขึ้นใน 3 ประเทศคือไทยเวียดนามและจีนเพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีได้ทันกับโครงสร้างการให้บริการของธนาคารกสิกรไทยและพันธมิตรที่มุ่งสู่ดิจิทัลแบงกิ้งมากขึ้นปัจจุบันธนาคารกสิกรไทยประสบความสำเร็จในการให้บริการ QR KBank ในสปป. ลาวและได้ขยายบริการจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปที่สะหวัดนะเขตเพิ่มขึ้นซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการแล้ว 70,000 รายคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 200,000 รายสำหรับในเมียนมาได้ร่วมกับเอยาวดีฟาร์มเมอร์ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์หรือเอแบงก์ซึ่งเป็นธนาคารที่ธนาคารกสิกรไทยร่วมลงทุนเตรียมนำแอปพลิเคชันเคพลัสไปพัฒนาใช้ในเมียนมาในชื่อ A + ซึ่งมั่นใจว่าจะได้รับความนิยมเช่นเดียวกับที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยจนเป็นแอปฯ การเงินอันดับหนึ่งในขณะนี้ ส่วนในประเทศจีน เคบีทีจีเปิด K-TECH ที่เมืองเซินเจิ้นประเทศจีนโดยมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านหยวนเรียบร้อยแล้วตั้งเป้าจะรับพนักงานประมาณ 300 คนโดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการทางเงินสำหรับธนาคารกสิกรไทยในประเทศจีนและประเทศอื่นและพันธมิตรโดยธนาคารกสิกรไทยในจีนมีเป้าหมายที่จะขยายตลาดไปสู่ลูกค้ารายย่อยในการปล่อยสินเชื่อบุคคลซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่ยังมีช่องว่างในลักษณะที่เป็น Digital Lending-สำนักข่าวไทย.

กสทช.เผยมูลค่าตลาดทีวีไทยปี62แตะ3.8หมื่นล้านบาท

กรุงเทพฯ 6 ต.ค.กสทช. ร่วมกับจุฬาฯ  เผยแพร่ผลการสำรวจมูลค่าตลาดกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทย ปี 2562 แตะ 3.8 หมื่นล้านบาท นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าผลจากการศึกษามูลค่าตลาดกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทย ปี 2562 โดยการศึกษาของสำนักงาน กสทช. ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า มูลค่าตลาดกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทยมีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ38,404.89 ล้านบาท โดยแบ่งกิจการโทรทัศน์ใช้คลื่นความถี่ ในส่วนที่เป็นบริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล มูลค่าประมาณ 23,761.68 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 61.8 และกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่น บริการโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายเคเบิล บริการโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายดาวเทียมและบริการโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต มูลค่าประมาณ 14,643.20 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 38.13 ผลจากการวิจัยทั้งในส่วนของการศึกษามูลค่าตลาดและการประมาณการณ์จะเป็นแนวทางในการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันของตลาดกิจการโทรทัศน์ซึ่งจะเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญในการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ต่อไปในอนาคต สนใจสามารถศึกษาผลการศึกษาดังกล่าวได้ทางเว็บไซต์ www.nbtc.go.th

รายงานพิเศษ:การวิเคราะห์บิ๊กดาต้าภาครัฐเพื่อค้นหาคนจนที่แท้จริง

กรุงเทพฯ 6 ต.ค. สมุทรสงคราม โชว์ผล ใช้ระบบบิ๊กดาต้า ค้นหาคนจน วางยุทธศาสตร์แก้ปัญหาแบบบูรณาการ  การค้นหาคนจนที่แท้จริง มาตรการของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการช่วยเหลือภาคประชาชนที่มีความยากจน ด้วยการลงทะเบียน เพื่อให้ความข่วยเหลือตามมาตรการ เครื่องมือที่ภาครัฐนำมาแยกแยะเพื่อให้ความช่วยเหลือ ประชาชนที่มีฐานยากจน จริงๆ ได้มีการตั้ง คณะท่างานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบ Big Data ของภาครัฐในประเด็น การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านการเพิ่มรายได้ ลดภาระค่าครองชีพ และเพิ่มโอกาสด้านอาชีพ  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พัฒนาระบบจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือ TPMAP ระบบที่พัฒนาต่อยอดมาจากระบบบริหารจัดการข้อมูลคนจนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform)โดยใช้ข้อมูลจำเป็นพื้นฐานของกรมการพัฒนาชุมชน และข้อมูลผู้ลงทะเบียน สวัสดิการแห่งรัฐของกระทรวงการคลัง และใช้วิธีการประมวลข้อมูลเพื่อดูความยากจนในหลายมิติ โดยสศช. ได้น่ามาปรับใช้กับประเทศไทย ให้สามารถครอบคลุมปัญหาที่กว้างขึ้น เช่น เด็กแรกเกิด การศึกษา ผู้สูงอายุ การพัฒนาสภาพที่อยู่อาศัย โดยยังคงความสามารถของระบบเดิมในการชี้เป้าความยากจนไว้ด้วย  ระบบ TPMAP สามารถใช้ระบุ ปัญหาความยากจนในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น / ท้องที่ จังหวัด ประเทศ หรือปัญหาความยากจน รายประเด็น ซึ่งทำให้การแก้ปัญหาตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น และสามารถออกแบบนโยบายโครงการ ในการแก้ปัญหา ให้ตรงกับความต้องการหรือสภาพปัญหาได้ สามารถระบุได้ว่าคนจนนั้นอยู่ที่ไหน มีปัญหา ในมิติอะไรบ้าง หลักการท่างานของ TPMAP คืออาศัยข้อมูลจากหลายแหล่งมายืนยันซึ่งกันและกัน ใช้สมมติฐานว่าคนที่ได้รับการส่ารวจว่าคนจน เป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน TPMAP จึงตั้งต้นโดยใช้ข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จากกรมการพัฒนาชุมชน และข้อมูลผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ จากกระทรวงการคลัง มายืนยันซึ่งกันและกัน หรืออีกนัยหนึ่ง “คนจนเป้าหมาย” ใน TPMAP คือคนจน ใน จปฐ. ที่ไปลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐTPMAP สามารถวิเคราะห์ข้อมูลคนจนจาก หลายแหล่งซึ่ง Data Integration ท่าให้ทราบข้อมูล คนจนที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด สามารถระบุได้ว่า “คนจนเป้าหมาย” มีปัญหาอะไรบ้างในแต่ละมิติจากข้อมูลจำนวนคนในครัวเรือนยากจน ที่ตกตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ในแต่ละมิติ โดยตัวชี้วัด จปฐ. ที่น่ามาใช้ในการคำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ (MPI) สามารถระบุกลุ่มที่ต้องช่วยเหลือเร่งด่วน ได้รวดเร็ว และชัดเจนมีรายงานเชิงแผนที่ แสดงความยากจนใน 5 มิติ ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ และด้านการเงิน ประกอบด้วย ข้อมูลด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ และ ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ TPMAP สามารถเปรียบเทียบข้อมูลปีต่อปี ทำให้เห็นสภาพปัญหาว่ามีทิศทางปรับลดหรือรุนแรง มากขึ้นเพียงใด ซึ่งสามารถนำมาใช้ประเมินปัจจัยที่อาจส่งผลต่อปัญหาดังกล่าว หรือประเมินประสิทธิภาพของ นโยบายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นได้ ซึ่งจะช่วยให้การแก้ปัญหาตรงจุด และเลือกนโยบายได้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์กับผู้ก่าหนดนโยบายและหน่วยงานแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้สามารถ ออกนโยบายและปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุด โดยในอนาคต TPMAP จะผนวกรวมข้อมูลจากมิติอื่นเพิ่มเติม เพื่อให้การวิเคราะห์ครอบคลุมและแม่นยำขึ้น ปัจจุบันมีการนำเสนอระบบ TPMAP แก่ส่วนราชการ หลายจังหวัด เพื่อเป็นการสร้างฐานข้อมูลคนจนที่ถูกต้องในแต่ละจังหวัดก่อนที่จะให้หน่วยราชการในจังหวัด ๆนำไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาความยากจนในแต่ละพื้นที่ ตัวอย่างการดำเนินการที่จังหสัดสมุทรสงคราม นายชรัสบุญณสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า ผลจากการวิเคราะห์ฐานข้อมูล ได้ใช้กำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัด ข้อมูล TPMAP พบว่าจังหวัดสมุทรสงครามมีคนจนที่จะต้องดำเนินการแก้ไขในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 65 ครัวเรือน 850 คน การดำเนินงานจึงเน้นหลักการมีส่วนร่วมและการบูรณาการจากทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความรวดเร็วมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหาความยากจนจึงได้สนับสนุนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการขับเคลื่อนงานโดยนำระบบ IPMAP Logbook (แฟ้มบ้านพัฒนาคนไทย) ซึ่งเนคเทคได้พัฒนาจากระบบ IPMAP และออกแบบเป็นเครื่องมือสนับสนุนการบูรณาการและความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาสามารถบันทึกปัญหาความต้องการและความช่วยเหลือของหน่วยงานได้รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่ในท้องที่มีข้อมูลตั้งต้นที่เกิดจากการบูรณาการข้อมูลลดความซ้ำซ้อนสามารถติดตามสถานการณ์และการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วยกระดับคุณภาพชีวิต-สำนักข่าวไทย.

1 25 26 27 28 29 16,774
...