“เศรษฐา” เข้าพรรค ยิ้มรับหลังถูกถาม ตื่นเต้นหรือไม่จะได้เป็นนายกฯ

23 ส.ค.2566 บรรยากาศที่พรรคเพื่อไทย นายเศรษฐา ทวีสิน ว่าที่นายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าพรรคเพื่อไทย โดยใส่สูทสีเทา ไทด์สีน้ำเงิน เมื่อถามว่าตื่นเต้นหรือไม่ที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐายิ้มรับและไม่ได้ให้สัมภาษณ์ โดยจะแถลงข่าวเปิดใจอีกครั้งภายหลังพิธีรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30.ภาพ ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช

ก้มกราบพระบรมฉายาลักษณ์

22 ส.ค.2566 นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับถึงประเทศไทยแล้ว โดยเครื่องบินส่วนตัว เจ็ท Gulfstrem รุ่น G 650 มีเจ้าหน้าที่พาตัวนายทักษิณ ออกมาทางประตูด้านหน้า โดยมี นายพานทองแท้, นส.พิณทองทา และ นส.แพทองธาร บุตรชายและบุตรสาวของนายทักษิณ ออกมาด้วย ขณะที่แกนนำพรรคเพื่อไทย และมวลชนเสื้อแดงเฝ้ารอเห็นหน้าเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ที่อาคารผู้โดยสาร อากาศยานส่วนบุคคล MJETS ดอนเมือง ภาพ ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช

บรรยากาศก่อน “ทักษิณ” ถึงไทย

บรรยากาศก่อนการเดินทางกลับประเทศไทยของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เดินทางมาด้วยเครื่องบินส่วนตัว ลงที่อาคารผู้โดยสารส่วนบุคคล (MJETS) ท่าอากาศยานดอนเมือง ในเวลา 9.00 น. บรรดาแกนนำพรรคเพื่อไทย นักการเมือง อดีตนักการเมือง มารอรับนายทักษิณ คึกคัก พร้อมทั้งมวลชนเสื้อแดง ภาพ ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช

แถลงการณ์จัดตั้งรัฐบาล 11 พรรค จำนวน 314 เสียง

พรรคเพื่อไทยและพรรคการเมือง รวม 11 พรรค จำนวน 314 เสียง ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยไม่มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และไม่มีพรรคก้าวไกลเข้าร่วมรัฐบาล ทั้งนี้ ได้มีมติร่วมกันเสนอชื่อ “นายเศรษฐา ทวีสิน” แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยต่อรัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรี ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา.พรรคเพื่อไทยได้ดำเนินการรวบรวมพรรคต่างๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาล ดังนี้.

ยื่นหนังสือถึง “สว.” สอบคุณสมบัติแคนดิเดตนายกฯ

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 21 ส.ค.66 ที่รัฐสภา ภาคประชาชน เดินทางมายื่นหนังสือพร้อมข้อมูลประกอบการพิจารณาถึงสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เพื่อขอให้สมาชิกวุฒิสภาตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลที่ถูกเสนอชื่อเพื่อเป็นนายกฯคนที่ 30 ของประเทศไทย โดยมีนายสมชาย แสวงการ สว. และ นายถวิล เปลี่ยนศรี สว. เป็นผู้รับหนังสือ โดยตัวแทนภาคประชาชน กล่าวว่า ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อประเทศชาติและประชาชน เพราะถือว่าเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร จึงต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2560 เพื่อที่จะให้คนไทยทั้งประเทศได้นายกรัฐมนตรีที่มีความเหมาะสมตามคุณสมบัติ และลักษณะตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และเป็นต้นแบบอันดีงามของคนในชาติ เพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ทั้งยังป้องกันมิให้บุคคลผู้ที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม ขาดคุณสมบัติ และมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ถูกเสนอชื่อเพื่อได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ซึ่งจะนำความเสียหายและความเสื่อมเสียให้เกิดกับประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ภาคประชาชนส่วนต่างๆ จึงได้มายื่นหนังสือเพื่อร้องขอให้ท่านสมาชิกวุฒิสภาได้โปรดกรุณาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ถูกเสนอชื่อเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยอย่างละเอียดถี่ถ้วนตามอำนาจ และหน้าที่ของวุฒิสภาที่ได้บัญญัติเอาไว้ในบทเฉพาะกาลของกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่กำหนดให้วุฒิสภามีหน้าที่และอำนาจสำคัญคือ การพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จากผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมือง ภาพ ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช

วิป 3 ฝ่าย ถกกรอบเวลาโหวตนายกฯ

“วิป 3 ฝ่าย” หารือกรอบเวลาโหวตนายกฯ รอบ 3 คาดหารือเปิดโอกาส “เศรษฐา” แสดงวิสัยทัศน์ในสภาหรือไม่.วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ได้นัดหมายตัวแทนคณะกรรมการประสานงาน 3 ฝ่าย เข้าหารือเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณารายชื่อบุคคลที่สมควรได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 22 ส.ค. นี้ ประกอบด้วย พรรคการเมืองขั้วแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พรรคการเมืองฝ่ายเสียงข้างน้อย และวุฒิสภา.บรรยากาศการเข้าประชุม บรรดาตัวแทนแต่ละฝ่ายทยอยเข้าสู่ที่ประชุม ขณะที่ระหว่างสื่อมวลชนเข้าไปเก็บภาพในห้องประชุม นายวันมูหะมัดนอร์ ยังไม่ได้กล่าวเปิดการประชุม เพียงเชิญให้สื่อมวลชนออกจากห้องจึงเริ่มวาระการประชุม โดยระบุเพียงว่า หลังการประชุมจะชี้แจงรายละเอียดให้ทราบ ขณะที่ สส.ฝั่งพรรคเพื่อไทย มีท่าทีผ่อนคลาย พูดคุยอย่างเป็นกันเอง และ สส.ฝั่งพรรคก้าวไกล มีการพูดคุยหารือกันเองภายในพรรค.ทั้งนี้คาดว่าวาระหลักในการประชุม จะหาข้อสรุป เรื่องกรอบเวลาในการโหวตนายกรัฐมนตรี หารือว่าควรจะเปิดโอกาสให้นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย เข้าที่ประชุมสภาเพื่อแสดงวิสัยทัศน์หรือไม่ รวมถึงญัตติของนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ว่าด้วยการขอทบทวนมติของรัฐสภาที่ค้างอยู่ในระเบียบวาระจากการประชุมคราวที่แล้ว จะหาข้อสรุปอย่างไร ให้การประชุมดำเนินต่อไปได้.ภาพ ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช

กลุ่มผู้สูงอายุ รวมตัวคัดค้านตัด “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ”

17 ส.ค.2566 บริเวณด้าน กระทรวงการคลัง กลุ่มผู้สูงอายุ พร้อมด้วยประชาชน รวมตัว “ค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” โดยเครือข่ายสลัมสี่ภาค เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ และเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair) มาเรียกร้องยื่นหนังสือคัดค้านการตัดสิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต่อปลัดกระทรวงการคลัง จากการประกาศปรับระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.66.หลังจากนั้นจะเดินทางไป ยังกระทรวงมหาดไทย และที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อทำกิจกรรมค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อไป.ภาพ ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช

ครบรอบ 78 ปี “วันสันติภาพไทย” รำลึกวีรกรรมขบวนการเสรีไทย ให้ไทยพ้นประเทศแพ้สงคราม

16 ส.ค.66 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันปรีดี พนมยงค์ พร้อมองค์กรเครือข่าย ร่วมจัดงานครบรอบ 78 ปี วันสันติภาพไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 16 สิงหาคมของทุกปี ที่สวนประติมากรรมธรรมศาสตร์ บริเวณชิ้นงาน ‘ธรรมศาสตร์กับขบวนการเสรีไทย’ โดยมีผู้แทนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เอกอัครราชทูต คณะทูตานุทูต ผู้แทนทายาทเสรีไทย เข้าร่วมงาน.วันสันติภาพไทย คือวันครบรอบการประกาศสันติภาพ หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 โดยภายในงานมีพิธีวางช่อดอกไม้ ที่ประติมากรรม ธรรมศาสตร์กับขบวนการเสรีไทย และกล่าวแสดงความสำคัญ ปาฐกถา ถึงความสำคัญ ความชาญฉลาดทางการทูต และการเสียสละของขบวนการเสรีไทยที่ทำให้ประเทศไทย ไม่ตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม.ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานในงาน กล่าวว่า ในบรรดาวันสำคัญทั้งหลายของประเทศ ตนคิดว่าวันที่ 16 สิงหาคม เป็นอีกหนึ่งวันที่คนไทยควรรำลึกถึง เมื่อ 78 ปีที่แล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ประกาศสงครามกับสหประชาชาติ และสหราชอาณาจักร […]

“ชูวิทย์” แฉต่อ บอกประชาชนต้องวิพากษ์วิจารณ์ได้

15 ส.ค.2566 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านบัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุใจความว่า “ภารกิจแฉเพื่อชาติใกล้ถึงจุดหมายปลายทาง วันพรุ่งนี้ก็เป็นเพียงอีกวันสำหรับผม แต่จะเป็นวันพิพากษาที่ประชาชนได้รู้ความจริง” เมื่อเวลา 13.00 น.ที่ เดอะล็อบบี้ โรงแรมเดวิส สุขุมวิท 24 กรุงเทพฯ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เริ่มต้นด้วยการพานายวรัญชัย โชคชนะ นักกิจกรรมทางการเมือง เดินเข้ามาภายในห้องแถลงข่าวพร้อมใช้ปี๊บคลุมหัวระบุข้อความ “นายก ดิจิตอล” ก่อนเริ่มต้นการแฉความไม่ตรงไปตรงมา ของ นายเศรษฐา แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และการที่ตนพูดวันนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องการเมือง ตนเป็นประชาชนที่จะต้องวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพราะการวิพากษ์วิจารณ์มีการรับรองในรัฐธรรมนูญ ส่วนว่าที่นายกรัฐมนตรี ประชาชนย่อมมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงตนก็ยังไม่เคยวิพากษ์เรื่องส่วนตัวของนายเศรษฐา และไม่เคยแตะต้องพรรคเพื่อไทยด้วย ทั้งนี้ นายชูวิทย์ จะไปยื่นเอกสารต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และจะนำข้อมูลไปยื่นให้สมาชิกวุฒิสภาช่วยตรวจสอบคุณสมบัติ นายเศรษฐา โดยตนจะเดินทางไปที่รัฐสภา ยื่นหนังสือผ่านประธานรัฐสภา เพราะเชื่อว่าข้อมูลชุดนี้จะถูกขยายผลแน่นอน หลังเสร็จสิ้นการแฉเพื่อชาติ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้เป่าเค้กฉลองวันเกิดครบรอบ 62 ปี พร้อมกับเซลฟี่ตนเองกับนักข่าว พร้อมบอกอาจเป็นวันเกิดปีสุดท้ายของตนแล้วก็ได้ ภาพ ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช

เฉลิมพระเกียรติ “สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง”

กองพันทหารปืนใหญ่ ยิงสลุตหลวง 21 นัด เฉลิมพระเกียรติ “สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง” วันนี้ (12 สิงหาคม 2566) ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อเวลา 12.00 น. กองพันทหารปืนใหญ่ที่1 รักษาพระองค์ (ป.1 พัน.1 รอ.) จัดกำลัง 1 กองร้อย ยิงสลุตหลวง 21 นัด เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา 12 สิงหาคม 2566 ภาพ ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช

ถวายพระราชกุศล วันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566

นายกรัฐมนตรีและภริยา เป็นประธานพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2566 12 ส.ค.2566 เมื่อเวลา 07.30 น. ณ ท้องสนามหลวง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย นางนราพร จันทร์โอชา ภริยา เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2566 โดยมีคณะองคมนตรีและภริยา ประธานศาลฎีกาและภริยา ประธานวุฒิสภา ประธานองค์กรอิสระและคู่สมรส รองนายกรัฐมนตรีและภริยา ผู้บริหารหน่วยราชการในพระองค์ คณะรัฐมนตรีและคู่สมรส เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บัญชาการทหารและตำรวจพร้อมภริยา ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เมื่อนายกรัฐมนตรีและภริยาเดินทางถึงและเข้าประจำที่นั่งในปะรำพิธี พระสงฆ์ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ จำนวน 10 รูป ขึ้นนั่งอาสน์สงฆ์ นายกรัฐมนตรีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ถวายธูปเทียนแพหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติพิธีสงฆ์อาราธนาศีล พระสงฆ์ให้ศีลเจ้าหน้าที่ปฏิบัติพิธีสงฆ์อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จากนั้น […]

‘แม่แห่งแผ่นดิน ผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณ’

ชมฟรีตลอดเดือนสิงหาคมนี้!! กทม. เตรียมพร้อมการแสดงน้ำพุ-ม่านน้ำเฉลิมพระเกียรติสุดยิ่งใหญ่ตระการตา.กรุงเทพมหานคร เตรียมจัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 91 พรรษา ร่วมกับภาคีภาครัฐ-ภาคเอกชน กว่า 50 องค์กร จัดการแสดงม่านน้ำ ‘แม่แห่งแผ่นดิน ผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณ’ และน้ำพุดนตรี ประกอบแสง สี เสียง ที่งดงาม ตระการตา ด้วยบทเพลงพระราชนิพนธ์ เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรไทยมากว่า 70 ปี ระหว่างวันที่ 11-31 สิงหาคมนี้.ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมการแสดงม่านน้ำได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย วันละ 3 รอบ เวลา 19.00 น./ 20.00 น./ 21.00 น. ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2566 -31 สิงหาคม 2566 ณ อุทยานเบญจสิริ ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย.ภาพ ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช

1 22 23 24 25 26 94
...