อสมท 19 ม.ค.-ทำความรู้จักระบบเกษตรพันธสัญญา (contract farming) หลังผู้เลี้ยงสุกร จ.ระยอง ร้องสื่อว่าราคาหน้าฟาร์มเพียง 60 บาท แต่ไม่มีใครซื้อจากฟาร์ม ต่อมาตรวจสอบพบเป็นการเลี้ยงแบบ “เกษตรพันธสัญญา” กับบริษัทเอกชน
เกษตรพันธสัญญา หรือ คอนแทรคฟาร์มมิ่ง (contract farming) คือ ระบบการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ หรือการเพาะปลูกพืชที่มีการทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้าระหว่างฝ่ายเกษตรกร หรือเจ้าของฟาร์ม กับคู่สัญญา คือ “ผู้รับประกัน” ซึ่งมักเป็นบริษัทเอกชนที่สัญญาว่าจะซื้อผลผลิตคืนจากอีกฝ่ายในราคาที่ตกลงกันตั้งแต่ต้น เรียกว่า “ราคาประกัน” ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญา
ประโยชน์ของการทำเกษตรพันธสัญญาในมุมมองของเกษตรกร
-บริษัทใหญ่สามารถอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรรายย่อยด้านต่างๆ เช่น เงินทุน ข่าวสาร เทคโนโลยี ตลาด
-สามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงทางด้านรายได้ให้แก่ เกษตรกรเมื่อทำการเกษตรสมัยใหม่
-ทำให้เกษตรกรผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น
-ให้การผลิตมีความเชื่อมโยงกับหน่วยอื่นๆ ในห่วงโซ่คุณค่า ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งและค่าการตลาดลดลง
-ต้นทุนในการควบคุมคุณภาพและความผันผวนของปริมาณวัตถุดิบลดลงด้วย ทำให้สามารถนำไปแปรรูปได้ดีขึ้น -การที่บริษัทสามารถควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ เท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่จะเกิดกับผู้บริโภค
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ.2560 ได้ถูกตราขึ้นด้วยเหตุผลที่ปัจจุบันมีการนำระบบเกษตร พันธสัญญามาใช้ในกระบวนการผลิตผลิตผลหรือบริการทางการเกษตรอย่างแพร่หลาย ซึ่งหากมีการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาให้มีความเป็นธรรมตามหลักสากลจะช่วยสร้างความไว้วางใจ ความร่วมมือ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการผลิต ผลิตผลหรือบริการทางการเกษตรอย่างยั่งยืน ส่งผลให้เกษตรกรมีความมั่นคง ทางด้านรายได้ และได้รับการถ่ายทอดความรู้อันจำเป็นตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตที่มีมาตรฐาน มีการควบคุม ต้นทุนในการผลิตผลิตผลหรือบริการทางการเกษตร มีการป้องกันความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกและผู้ประกอบธุรกิจ ทางการเกษตรสามารถประกอบธุรกิจโดยได้รับผลิตผลที่มีคุณภาพมาตรฐานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็น การสร้างความเชื่อมั่นและความเข้มแข็งทางธุรกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าเสรีได้ต่อไป
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ.2560 ได้ให้คำนิยาม “ระบบเกษตรพันธสัญญา” หมายความว่า ระบบการผลิตผลิตผลหรือบริการทางการเกษตร ที่เกิดขึ้นจากสัญญาการผลิตผลิตผลหรือบริการทางการเกษตรประเภทเดียวกันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ ทางการเกษตรฝ่ายหนึ่งกับบุคคลธรรมดาซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมตั้งแต่สิบรายขึ้นไป หรือกับสหกรณ์การเกษตรหรือกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ หรือกับวิสาหกิจชุมชนหรือเครือข่าย วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมอีกฝ่ายหนึ่ง ที่มีเงื่อนไขในการผลิต จำหน่าย หรือจ้างผลิตผลิตผลหรือบริการ ทางการเกษตรอย่างหนึ่งอย่างใด โดยเกษตรกร ตกลงที่จะผลิต จำหน่าย หรือรับจ้างผลิตผลิตผลทางการเกษตรตามจ านวน คุณภาพ ราคา หรือ ระยะเวลาที่กำหนดไว้ และผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรตกลงที่จะซื้อผลิตผลดังกล่าวหรือ จ่ายค่าตอบแทนตามที่ก าหนดไว้ ตามสัญญา โดยผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรเข้าไปมีส่วนในกระบวนการผลิต เช่น เป็นผู้กำหนดวิธีการผลิต จัดหาพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หรือปัจจัยการผลิต ให้แก่เกษตรกร.-สำนักข่าวไทย