fbpx

ปรับแผนไฟฟ้า 10 ปีลดโรงไฟฟ้าก๊าซ เพิ่มพลังงานทดแทน

กรุงเทพฯ 24 พ.ย.-กระทรวงพลังงาน ปรับแผนเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า 10 ปี (64-73 ) ลดโรงไฟฟ้าก๊าซ 700 MW เพิ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน 1,000 MW ปรับตาม Cop26 และผลกระทบโควิด-19 ที่ส่งผลยอกใช้พลังงานต่ำกว่าแผน


นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผย ถึงสถานการณ์พลังงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 พบว่า การใช้พลังงานขั้นต้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 จากการใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน/ลิกไนต์ ไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้า เพิ่มขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจในช่วงต้นปี ในขณะที่การใช้น้ำมันลดลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่งภาครัฐมีการประกาศใช้มาตรการต่างๆ อาทิ การทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) การจำกัดการเดินทางข้ามจังหวัด และการประกาศเคอร์ฟิว  สำหรับแนวโน้มการใช้พลังงานทั้งปี 2564 คาดการจากพยากรณ์โดยอ้างอิงสมมุติฐานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 1.2

สำหรับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการที่ไทยประกาศร่วมลดโลกร้อน ด้วยเชื้อเพลิงสะอาดมากขึ้นตามที่รัฐบาลไทยประกาศไว้ในที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ทางกระทรวงพลังงานได้จัดทำแผนงานลดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนเป็นร้อยละ 50ในอนาคต จากปี 2564 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 23 และได้มีการเตรียมปรับแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในระยะ 10ปี (64-73 ) ใหม่  โดยลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลง ในช่วงปลายปี 73 ลดลง 700 เมกะวัตต์ เหลือ รับซื้อรวม 4,850 เมกะวัตต์ จากเดิม 5,550 เมกะวัตต์ และเพิ่มพลังงานทดแทนอีก 1,000 เมกะวัตต์ จากเดิม รับซื้อ 9,193 เมกะวัตต์เป็น 10,193  เมกะวัตต์   ภาพรวม ทั้ง เชื้อเพลิง ทุกประเภท แล้วกำลังผลิตปี 73 จะเพิ่มขึ้น 300 เมกะวัตต์ จาก 15,343  เมกะวัตต์ เป็น 15,643  เมกะวัตต์


โดยส่วนพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้น ได้แก่การรับซื้อพลังน้ำจากต่างประเทศ 1,366 เมกะวัตต์ หรือเพิ่มจากเดิมวางแผนรับซื้อ 1,400 เมกะวัตต์ เป็น 2,766 เมกะวัตต์  เพิ่มการรับซื้อพลังงานแสงอาทิตย์ อีก 1,230 เมกะวัตต์ จากเดิม 270 เมกะวัตต์ เป็น 1,500 เมกะวัตต์ เพิ่มโรงไฟฟ้าขยะอีก 200 เมกะวัตต์ จาก 400 เมะวัตต์ เป็น 600 เมกะวัตต์ โดยส่วนที่เพิ่มเป็นเฉพาะขยะภาคอุตสาหกรรมอีก 156 เมกะวัตต์ จากเดิม 44 เมะวัตต์  ส่วนโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กเพิ่มอีก 26 เมกะวัตต์ จาก 26 เป็น 52 เมกะวัตต์

ส่วนพลังงานทดแทนที่ปรับแผนเข้าระบบลดลงได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ ลดลง 739 เมกะวัตต์  หรือลดเหลือ 4,455 เมกะวัตต์ จากเดิม 5,194 เมกะวัตต์  ชีวมวล ลดลง 635 เมกะวัตต์ เหลือ 485 เมกะวัตต์ จากเดิม 1,120 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพ ลดลง 448 เมกะวัตต์  เหลือ 335 เมกะวัตต์  จากเดิม 783 เมกะวัตต์

นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสนพ.กล่าวว่า ในขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังทำรายละเอียดของการจัดหาพลังงานทดแทนทั้งหมด ซึ่งคาดว่าอัตราสนับสนุน การรับซื้อ เช่น FIT  จะลดลงตามต้นทุนการการผลิตโดยรวมที่ลดลง ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าหากอุดหนุนในราคาสูงก็จะกระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าภาคประชาชน ซึ่งปัจจุบัน ค่าอุดหนุนพลังงานทดแทนก็มีผลต่อค่าไฟฟ้าราว 30 สตางค์/หน่วย


สำหรับสถานการณ์พลังงานรายเชื้อเพลิงในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 การใช้น้ำมันสำเร็จรูป มียอดใช้ 116.7 ล้านลิตร/วัน ลดลงร้อยละ 8.3 โดยการใช้น้ำมันดีเซลลดลงร้อยละ 6.5 อยู่ที่ 61.1 ล้านลิตร/วัน การใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล ลดลงร้อยละ 9.2 อยู่ที่ 28.4 ล้านลิตร/วัน และการใช้น้ำมันเครื่องบิน ลดลงร้อยละ 44.9 อย่ที่ 4.5 ล้านลิตร/วัน ขณะที่การใช้น้ำมันเตา เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7อยู่ทึ่ 5.4 ล้านลิตร/วัน 

การใช้ LPG ภาพรวมลดลง ร้อยละ 2.1 แต่หากแยกเป็นรายกลุ่มพบว่าภาคปิโตรเคมี-อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ตามการส่งออก  ภาคปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม มีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ภาคครัวเรือน มีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ขณะที่ภาคขนส่ง มีการใช้ลดลงร้อยละ 16.9 จากข้อจำกัดในการเดินทางในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และการใช้เอง มีการใช้ลดลงร้อยละ 36.8

การใช้ก๊าซธรรมชาติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 หรือมียอดใช้ 4,482 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน  ทั้งนี้การใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 การใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ (NGV) ลดลงร้อยละ 19.7   โดยารใช้ไฟฟ้า ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในระบบ 3 การไฟฟ้า (System Peak) ของปี 2564    เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 เวลา 14.49 น. อยู่ที่ระดับ 31,023 MW เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน  โดยการใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 อยู่ที่ 143,663 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 

สำหรับแนวโน้มการใช้พลังงานปี 2564 ซึ่ง สนพ. ได้มีการพยากรณ์โดยอ้างอิงสมมุติฐานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 1.2 ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2564 อยู่ที่ 70.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในปี 2564 อยู่ที่ 31.9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เผยแพร่คาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 5.9

ทั้งนี้ สนพ. คาดการณ์ว่าการใช้พลังงานขั้นต้นทั้งปีจะเพิ่มเพียงร้อยละ 0.2 ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มฟื้นตัวจากการเปิดประเทศ  และการเติบโตของเศรษฐกิจโลก  การใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน/ลิกไนต์ คาดว่ามีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และ 8.1 ตามลำดับ ส่วนการใช้ไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้า คาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 ขณะที่การใช้น้ำมัน คาดว่าลดลงร้อยละ 7.8 การใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับปี 2563

อย่างไรก็ตาม สนพ. ยังคงจับตาสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และปัจจัยอื่นๆ ที่จะส่งผลต่อการใช้พลังงานของประเทศอย่างใกล้ชิด อาทิ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก มาตรการในการป้องกัน โควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

“สารวัตรแจ๊ะ” ยื่นฟ้องหมิ่น “ทนายรัชพล” กล่าวหาจับแพะติดคุกฟรีปีกว่า

“สารวัตรแจ๊ะ” พร้อมทนายความ ยื่นฟ้องหมิ่นประมาททนายดัง และฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท ยันไม่ได้นําตัวไปเซฟเฮาส์ ด้านทนายเผยพบหลักฐานทนายคู่กรณีบีบผู้เสียหายกลับคําให้การ แบ่งเงินคนละครึ่ง

ข่าวแนะนำ

สถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา เริ่มมีสัญญาณที่ดี-การสู้รบเงียบสงบ

สถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน อ.แม่สอด จ.ตาก เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลังการสู้รบเงียบสงบเกินกว่า 24 ชั่วโมง คาดมีการเจรจากันของกลุ่มต่อต้านและทางการเมียนมา หยุดยิงชั่วคราวเพื่อลดผลกระทบ

“บิ๊กโจ๊ก” ยื่น ป.ป.ช.อีกรอบ สอบตำรวจทำคดีเว็บพนันออนไลน์

“บิ๊กโจ๊ก” บุกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อีกครั้ง เพื่อยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษหัวหน้าและคณะพนักงานสอบสวนทั้งหมดในคดีเว็บพนันออนไลน์ที่มีการทำคดีโดยมิชอบ

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

อุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน-ใต้ พายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

กรมอุตุฯ เผยภาคเหนือ ภาคอีสาน มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพฯ-ปริมณฑล อากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อย