ตลาดที่อยู่อาศัยหลังปลดล็อกมาตรการ LTV เริ่มดีขึ้น

กรุงเทพฯ 17 พ.ย.-ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ เผยตลาดที่อยู่อาศัย ไตรมาส 3 ถึงจุดต่ำสุดแล้ว หลัง ธปท. คลายล็อก LTV และมาตรการลดค่าโอน ครบกำหนดสิ้นปี มีแนวโน้มดีขึ้นไตรมาส 4 ขณะที่ยอดรวมทั้งปี 64 ยังหดตัว ยอมรับภาคอสังหาฯ จะฟื้นตัวเป็นปกติปลายปี 66 


ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เผยว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 64 ตลาดที่อยู่อาศัยถึงจุดต่ำสุดแล้ว พบว่า การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่  ลดลงอย่างมากในไตรมาส 3 ปี  หน่วยได้รับใบอนุญาตจัดสรรทั่วประเทศ มีเพียง 16,804 ลดลงร้อยละ  -28.2   และ ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในกรุงเทพฯและปริมณฑล   14,601 หน่วย ลดลงร้อยละ -55.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน 

หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  ผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เพื่อกระตุ้นแรงซื้อภาคอสังหาฯ  หลังจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ยืดเยื้อมาถึงเกือบ 2 ปี   เมื่อรัฐบาลได้มีนโยบายในการเปิดประเทศโดยคาดว่าจะส่งผลเชิงบวกต่อการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์  เพราะไม่ต้องใช้เงินดาวน์ สามารถกู้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์  ขณะที่การปฏิเสธสินเชื่อร้อยละ 20-30 สำหรับบ้านราคาเกิน 3 ล้านบาท นับว่าเป็นสัญญาณที่ดี 


ศูนย์ข้อมูลฯจึงคาดการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในไตรมาส 4 ปี มีแนวโน้มดีขึ้น เห็นจากการเปิดตัวโครงการใหม่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล  20,050 หน่วย หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.4  เทียบกับ ปี 63 และในไตรมาส 4  คาดมีการโอนกรรมสิทธิ์   95,221 หน่วย มูลค่า 262,931 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2   และคาดการณ์ทั้งปี 2564   ที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ มีทั้งสิ้น 43,051 หน่วย  จำนวนเหลือขาย   278,236 หน่วย  มูลค่า  1.19 ล้านล้านบาท โดยธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเตรียมรับมือยอด NPL มุ่งเจรจาประนอมหนี้ 

แม้จะมีการเปิดขายโครงการใหม่เพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยกลยุทธ์การกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้ประกอบการผนวกกับการผ่อนคลายมาตรการ LTV และการปรับตัวลดลงของอุปทานที่อยู่อาศัยเข้าใหม่ดังกล่าวมาข้างต้นได้ส่งผลต่อภาพรวมหน่วยเหลือขายใน 27 จังหวัดลดลงตามไปด้วย  จึงคาดการณ์ ปี 2564  มีหน่วยเหลือขาย  264,412 หน่วย มูลค่ารวม 1.1 ล้านล้านบาท  ส่วนการแจกโปรโมชั่น ลดแลก แจกแถม อาจน้อยลงในปีนี้ เเพราะต้นทุนเอกชนยังสูง และช่วงนี้เป็นโอกาสของผู้ซื้อในการจัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย 

สำหรับแนวโน้มปี 2565  จากนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ  การกระจายการฉีดวัคซีนโควิด-19   จะทำให้ความต้องการบ้านเพิ่มขึ้นได้   นโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล และมาตรการต่างๆที่นำมากระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้กำลังซื้อภายในประเทศเริ่มฟื้นตัว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ  คาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะปกติเร็วขึ้น  ศูนย์ข้อมูลฯ มองว่าเครื่องชี้ทั้งด้านอุปสงค์ และอุปทานของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะกลับมาเป็นปกติภายในปลายปี 2566.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

เตือนภาคใต้ฝนเพิ่มขึ้น ส่วนไทยตอนบน อุณหภูมิลดลง

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ฝนเพิ่มขึ้น ตกหนักบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนไทยตอนบน อุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง อีสานอุณหภูมิลด 2-4 องศาฯ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน อุณหภูมิลดลง 1-3 องศาฯ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น

หมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาฉลองปีใหม่

บรรยากาศการเดินทางหมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ ด้าน รฟท. คาดผู้โดยสารเดินทางขาออกวันนี้ 1 แสนคน

รถเริ่มแน่น! สายเหนือ-อีสาน การจราจรชะลอตัว

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หยุดยาวปีใหม่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสายอีสาน รถแน่น ส่วนถนนสายเอเชีย ขึ้นเหนือ รถเคลื่อนตัวได้ช้า