กรุงเทพฯ27ก.ย.-ACEเตรียมพร้อมประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน(RE)ภาครัฐที่เตรียมเปิดรับซื้อต้นปีหน้าทุกรูปแบบ.โดยเฉพาะขยะชุมชน.หลังคว้าชัย18โรงไฟฟ้าชุมชนกำลังผลิตติดตั้ง 59 MW
นายธีรวุฒิ ทรงเมตตา กรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน)หรือACE กล่าวว่าบริษัทเตรียมพร้อมเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้าREของภาครัฐทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นขยะชุมชน, แสงอาทิตย์, โรงไฟฟ้าชุมชนรอบใหม่ทั้งชีวมวล, ชีวภาพ, ไฮโดรเจน, การใช้ระบบกักเก็บพลังงาน(ESS)ในขณะนี้รอเพียงนโยบายของกระทรวงพลังงานว่าจะพร้อมประกาศรับซื้อเมื่อใดจากที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)สั่งศึกษาการรับซื้อที่คาดว่าอาจจะเป็นต้นปีหน้าหรือเร็วสุดปลายปีนี้ซึ่งคาดหวังว่ากระทรวงฯจะควรเปิดรับซื้อให้มีปริมาณมากที่สุด เพราะเป็นไปตามทิศทางโลกที่ลดโลกร้อนเข้าสู่ทิศทางCarbon Neutral ส่วนใหญ่กำหนดการใช้พลังงานทดแทนราวครึ่งหนึ่งของการผลิตไฟฟ้าในอนาคตและยังใช้เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าอีกด้วย
“ACEเตรียมพร้อมทุกREที่จะเข้าร่วมประมูลโดยเฉพาะขยะชุมชนที่ขยะสดทั่วไทยสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ถึง1,200MWพร้อมทั้งเทคโนโลยีและต้นทุนซึ่งจะเห็นได้ว่าโรงไฟฟ้าทั้งที่กระบี่, ขอนแก่น ไม่มีกลิ่นไม่ปล่อยของเสียไม่มีน้ำทิ้งมีประสิทธิภาพสูงเดินเครื่องได้ตลอดเวลา จึงมั่นใจว่าเราจะชนะประมูลในปริมาณสูงสุดอย่างไรก็ตามจากต้นทุนจัดการที่สูงกว่าโรงไฟฟ้าประเภทอื่นก็คาดว่าภาครัฐจะไม่มีการBidราคาค่าไฟFIT”นายธีรวุฒิกล่าว
ล่าสุดACE ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) โครงการฯ จำนวน 18 โครงการจากที่เสนอไป29โครงการ.. คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวม 59.00 เมกะวัตต์ และกำลังการผลิตเสนอขายรวม 50.00 เมกะวัตต์ เป็นโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) ทั้งหมด สำหรับขั้นตอนต่อไปจะเป็นการศึกษาเงื่อนไขการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 120 วัน หลังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.). ประกาศรายชื่อฯเมื่อวันที่23ก.ย.64 โดย กําหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายใน 36 เดือน นับจากวันลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า หรือ ภายในวันที่ 21 มกราคม 2568 โดยในส่วนของโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เสนอแข่งขัน1โครงการไม่ชนะประมูลเพราะBIDราคารุนแรงมากมีการให้ส่วนลดถึง80%ซึ่งเป็นราคาที่ไม่สมเหตุผลที่ACEจะลงทุนใน
ส่วน18 โครงการนี้อยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย กำแพงเพชร บุรีรัมย์ และราชบุรี ต้นทุนก่อสร้างราว80ล้านบาท/MW.รวมแล้วประมาณ5,000ล้านบาท มีผลตอบแทนการลงทุนที่เหมาะสม ทำสัญญากับวิสาหกิจชุมชนทุกโครงการมั่นใจทุกโครงการเกิดได้แน่นอนและช่วยสร้างประโยชน์ให้ชุมชนสูงสุดเรียกได้ว่าสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนแบบ 360 องศา มากกว่าเกณฑ์ที่ กกพ. กำหนดไม่ว่าจะเป็นทุนการศึกษา/สาธารณสุข/อาชีพ/วัฒนธรรมและเทคโนโลยีการเกษตรโดยบริษัทพัฒนา
แอพพลิเคชั่น Crop monitoring systemมาช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่มีการใช้โดรนเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตใช้เครื่องจักรกลในรูปแบบ”แชร์ริ่ง” ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีต้นทุนปลูกพืชพลังงานเช่นหญ้าเนเปียร์ต่ำสุดโดยราคาที่รับซื้อพืชพลังงานอยู่ที่กว่า400บาท/ตัน
อย่างไรก็ตาม หากกระทรวงพลังงานไม่กำหนดBIDค่าไฟฟ้าแข่งขัน ชุมชนก็จะได้ผลตอบแทนสูงกว่านี้เช่นส่วนแบ่งรายได้ค่าไฟฟ้า25สต./หน่วยเป็นต้น จึงหวังว่าการประมูลในรอบถัดไปก.พลังงานจะปรับปรุงวิธีการรับซื้อซึ่งหากใช้เกณฑBIDค่าไฟฟ้าอีก1 และอยากให้ชุมชนได้ผลตอบแทนสูงขึ้นก็ควรเพิ่มกำลังไฟฟ้ารับซื้อแต่ละแห่งให้สูงขึ้น.ต้นทุนบริหารจัดการจะต่ำลงเอกชนก็จะมีศักยภาพดูแลชุมชนเพิ่มขึ้น
“การได้รับคัดเลือกประมูลโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าสำคัญของบริษัทฯ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้นำพลังงานสะอาด ซึ่งจะช่วยเสริมให้เป้าหมายการเพิ่มกำลังผลิตมากกว่า 1,000 เมกะวัตต์ในปี67รุดหน้ามากยิ่งขึ้น ตามแผนจะมีการขยายงานทั้งในและต่างประเทศขณะนี้ศึกษาครอบคลุมอาเซียน,ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, ยุโรปและอเมริกาซึ่งการที่โลกใหความสำคัญREทั้งสร้างใหม่และทดแทนโรงฟอสซิลเดิมก็ถือว่าเป็นโอกาส” นายธีรวุฒิกล่าว
ปัจจุบัน กลุ่มบริษัท ACE มีโครงการโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว 22 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 247.67 เมกะวัตต์ และมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีก 15 โครงการ 201.90 เมกะวัตต์ รวมเป็นกำลังการผลิตติดตั้ง 449.57 เมกะวัตต์ โดยในส่วนนี้ ยังไม่นับรวม 18 โครงการโรงไฟฟ้าชุมชน.-สำนักข่าวไทย