รมว.กต. ย้ำไทยตอบรับหุ้นส่วน BRICS รักษาผลประโยชน์ประเทศ

รัฐสภา 10 มี.ค.-รมว.กต. ย้ำไทยตอบรับหุ้นส่วน BRICS รักษาผลประโยชน์ประเทศ เพิ่มความสามารถการแข่งขัน กระชับความร่วมมือประเทศต่างๆ ไม่เลือกข้าง เดินหน้าเจรจา FTA ไทย-EU

นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตอบกระทู้ถามของสมาชิกวุฒิสภา ที่ตั้งถามถึงการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว หรือ BRICS ทั้งผลดี และผลเสีย จากการที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน BRICS โดยย้ำว่า การเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน BRICS เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการทูตเศรษฐกิจของไทย เพื่อรักษาผลประโยชน์ประเทศ ทั้งการเพิ่มความสามารถการแข่งขัน การเพิ่มบทบาทประเทศไทยให้อยู่ในสายตาประเทศต่าง ๆ ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพ สามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้ และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีบนเวทีระหว่างประเทศ เพราะ BRICS เป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ มีบทบาทสำคัญ เสริมสร้างประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประเทศไทยก็เป็นส่วนหนึ่ง และพยายามร่วมกันขับเคลื่อนประเทศกำลังพัฒนา จากความท้าทายภูมิรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ประเทศมหาอำนาจ การพัฒนาเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ทั้งปัญญาประดิษฐ์ ความมั่นคงไซเบอร์ ความมั่นคงพลังงาน สังคมสูงอายุ ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้รัฐบาล และกระทรวงฯ ต้องรับฟังความเห็นทุกภาคส่วนในการตัดสินใจ และเตรียมความพร้อมรับมือบริบทใหม่ ๆ ทำให้ประเทศไทย กระชับความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ไม่เลือกข้าง ทั้งทวิภาคี และพหุภาคี โดยหาความร่วมมือผ่านกรอบความร่วมมือที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้ประเทศ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่นานาชาติเห็นพ้องว่า มีความสำคัญ


นายมาริษ ยืนยันว่า การเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน BRICS จึงมีความเหมาะสม และหุ้นส่วน BRICS เป็นการร่วมกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เป็นตลาดใหญ่ มีศักยภาพสูง สามารถสร้างพลวัตรให้ประเทศกำลังพัฒนาได้ และประเทศไทย ก็มีเป้าหมายร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในการผลักดันให้ระบบพหุภาคีโลก เน้นน้ำหนักที่ประเทศกำลังพัฒนามาขึ้น ซึ่งเป็นผลประโยชน์สำคัญของไทย จะต้องถ่วงดุลระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา ให้สอดคล้องกับการพัฒนาโลก เพื่อให้ผลประโยชน์มีความสมดุล

นายมาริษ กล่าวว่า การตอบรับเข้าร่วมการประชุมหุ้นส่วนกลุ่ม BRICS จากรัสเซียนนั้น กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือกับคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมกันแล้ว ซึ่งมีความเห็นตรงกันว่า การตอบรับดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนารมย์ฝ่ายเดียวของประเทศไทย ไม่ได้มีผลบังคับ ดังนั้น หนังสือตอบรับดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นสนธิสัญญา และไม่เข้าเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 ไม่ต้องขอมติจากรัฐสภา


นอกจาก กลุ่ม BRICS แล้ว นายมาริษ ยังย้ำว่า ประเทศไทยยังมีบทบาทในกรอบความร่วมมืออื่น ๆ อีกมาก และมีกลุ่มความร่วมมือที่สหรัฐอเมริกา เป็นการแกนนำ เช่น กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก หรือ Indo-Pacific Economic Framework: IPEF (ไอ-เพ็ฟ) ซึ่งประเทศไทย ก็มีบทบาทที่โดดเด่น และสหรัฐอเมริกาชื่นชม โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศ IPEF และความร่วมมือการพัฒนาทุกด้าน ๆ รวมถึงกรอบความร่วมมือองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ: The Organization for Economic Cooperation and Development หรือ OECD ซึ่งเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ มีประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ และประเทศยุโรป เอเชีย เป็นสมาชิก รวมถึงกรอบความร่วมมืออื่น ๆ ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ทั้ง APEC และโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: Greater Mekong Subregion หรือ GMS เป็นต้น

นายมาริษ กล่าวว่า การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ประเทศไทยได้แสดงบทบาทชัดเจน เพื่อการพัฒนา ไม่ได้สร้างให้เป็นอุปสรรค และไทยยังได้กระชับความร่วมมือด้านการค้ากับทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป ผ่านกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย: EU-Thailand Partnership and Cooperation Agreement หรือ PCA ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของประเทศไทย ที่ต้องการร่วมมือกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยไม่ได้มุ่งหวังนำกรอบความร่วมมือมาเกี่ยวข้องกับภูมิรัฐศาสตร์โลก แต่เป็นท่าทีที่ไทยมองกรอบความร่วมมือ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทั้งสิ้น

นายมาริษ ระบุว่า ความร่วมมือกับยุโรป นอกจาก PCA แล้ว ขณะนี้ ยังอยู่ในช่วงการเจรจา เพื่อดำเนินการ FTA ร่วมกับสหภาพยุโรป หรือ EU ซึ่งล่าสุด เพิ่งมีการลงนาข้อตกลงการค้าเสรี ระหว่างประเทศไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป: European Free Trade Association หรือ EFTA ซึ่งเป็นการค้าระหว่างประเทศไทย กับประเทศสมาชิกในภูมิภาคยุโรป จึงจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยรักษาสมดุลอำนาจ โดยคำนึงผลประโยชน์ประเทศเป็นที่ตั้ง ไม่ได้เลือกข้าง หรือเปลี่ยนการจับขั้ว แต่เป็นการรักษาสมดุลในความสัมพันธ์ และความร่วมมือนานาชาติที่หลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับการรักษาผลประโยชน์ไทย


นายมาริษ กล่าวว่า ตนเองได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้นำหลายประเทศ รวมถึงผู้นำสหรัฐอเมริกา โดยได้ย้ำจุดยืนสถานะในความร่วมมือเดิมระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และยินดีที่จะกระชับความสัมพันธ์รูปแบบพิเศษมาโดยตลอด.-315.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รถทัวร์โดยสารชนท้ายเทรลเลอร์ เสียชีวิต-บาดเจ็บจำนวนมาก

รถทัวร์โดยสารชนท้ายรถบรรทุกเทรลเลอร์ บนถนนสาย 304 จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ไฟลุกไหม้รถทัวร์โดยสาร เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก

ชาวบ้านยอมรับค่าเยียวยาหลังละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดิน

ชาวบ้านยอมรับการเยียวยา บ้านละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดินใน จ.ระยอง หลังถมที่สูงมิดหลังคาของเพื่อนบ้าน และรับปากจะเร่งแก้ไขให้ทันหน้าฝนที่จะถึงนี้ แต่ชาวบ้านยังหวั่นใจ หากแก้ไขไม่ทันก็ยังจะเดือดร้อน น้ำจะไหลลงมาบ้านที่อยู่ต่ำกว่า

“พีช” หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายแล้ว

“นายกเบี้ยว” พร้อมลูกชาย หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายก่อนแล้ว จึงฝากจดหมายขอโทษไว้ ด้าน “กัน จอมพลัง” ยอมถอย ให้สองฝ่ายพูดคุย แต่ต้องเป็นรูปธรรม

ข่าวแนะนำ

โป๊ปฟรังซิส สิ้นพระชนม์แล้ว ขณะพระชนมายุ 88 พรรษา

สำนักวาติกัน แถลงผ่านทางโทรทัศน์ของสำนักวาติกันว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกันสิ้นพระชนม์แล้วในวันนี้

นายกฯ ปัดตอบ ผลสำรวจอยากให้ปรับ ครม.

“นายกฯ อิ๊งค์” ไม่ตอบคำถามผลสำรวจอยากให้ปรับ ครม. บอกพรุ่งนี้ตอบทีเดียว ก่อนแซว “ประเสริฐ” ปรับให้แล้ว เหตุพูดตำแหน่ง “จุลพันธ์” ผิด จาก รมช.คลัง เป็น รมช.มหาดไทย

Pope inaugurated the Holy Year on Christmas Eve on December 24, 2024

เปิดพระประวัติโป๊ปฟรังซิส

วาติกัน 21 เม.ย.- เว็บไซต์ข่าวโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี (CNBC) ของสหรัฐ เปิดพระประวัติที่น่าสนใจ 10 ประการของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ที่สิ้นพระชนม์วันนี้ (21 เม.ย.68) ขณะมีพระชนมายุ 88 พรรษา ประการที่ 1 ทรงเป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันและเยสุอิตคนแรก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีพระนามเดิมว่า ฮอร์เก มาริโอ เบร์โกกลิโอ ประสูติวันที่ 17 ธันวาคม 2479 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา เป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันคนแรกของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก แตกต่างจากผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาเกือบ 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิตาลี ทรงมาจากนอกทวีปยุโรปในฐานะพระสันตะปาปาพระองค์ที่ 266 และเป็นนักบวชคณะเยสุอิตคนแรกที่ขึ้นดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา ประการที่ 2  ทรงมีพื้นเพมาจากอิตาลี แม้ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสประสูติในอาร์เจนตินา แต่ท่านมีมรดกทางชาติพันธุ์จากอิตาลี จากการที่บิดามารดาเป็นผู้อพยพชาวอิตาลี บิดาทำงานเป็นนักบัญชีในทางรถไฟ ขณะที่มารดาอุทิศตนให้กับการเลี้ยงลูกทั้ง 5 คน ประการที่ 3 ทรงศึกษาด้านเคมีและปรัชญา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสศึกษาปรัชญาและมีปริญญาโทในด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส ทรงศึกษาในโรงเรียนเทคนิคและได้ฝึกอบรมเป็นช่างเทคนิคเคมี ก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนาแห่งอัครสังฆมณฑลบิญญา เดโวโต […]