fbpx

อานิสงส์โควิด ลุ้นส่งออกอุตฯอาหารไทยโตสวนกระแส

กรุงเทพฯ 29 ต.ค. – โควิด-19 ดันยอดขายอาหารทะเลแปรรูป ทั้งปลาทูน่ากระป๋อง อาหารพร้อมรับประทาน รวมถึงซอสและเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ขยายตัวในระดับสูง


นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยสำนักข่าวไทยว่า โควิด-19 ที่ระบาดหนักในต่างประเทศขณะนี้ ทำให้ไทยได้รับอานิสงส์ส่งออกอาหารหลายรายการ โดยปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง อาหารพร้อมรับประทาน (RTE) ซอสและเครื่องปรุงรส ขยายตัวเพิ่มขึ้น 13.2% 6.7% และ 12.4% ตามลำดับ สอดรับกับการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในช่วงโควิด-19

สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารส่งออกไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2563 หดตัว 2.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา มูลค่ารวม 753,000 ล้านบาท  โดยมี 2 ปัจจัยที่เป็นต้นเหตุ คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศคู่ค้าสำคัญหดตัว โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และจัดเลี้ยง หรือ HORECA ที่เป็นช่องทางการจำหน่ายสำคัญ เช่น กุ้งขาว ยอดขายยังคงตกลง แม้ยอดซื้อกลับไปปรุงอาหารเองที่บ้านจะเพิ่มขึ้นก็ตาม อีกปัจจัยสำคัญ คือ โรงงานแปรรูปประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในหลายอุตสาหกรรมจากภัยแล้งในช่วงปีการผลิตก่อนหน้า ทั้งน้ำตาล และสับปะรด เป็นต้น ทำให้สินค้าส่งออกหลักทั้ง 2 รายการมีมูลค่าลดลงอย่างเห็นได้ชัด


อาเซียนเป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับ 1 ของไทย สัดส่วนส่งออกมากถึง 24.5% รองลงมา ได้แก่ จีน 18.9% ญี่ปุ่น 12.2% สหรัฐฯ 12.0% สหภาพยุโรป 7.8% แอฟริกา 5.9% โอเชียเนีย 3.4% และตะวันออกกลาง 3.3% ตามลำดับ โดยจีน สหรัฐ โอเชียเนีย และตะวันออกกลาง เป็น 4 ประเทศคู่ค้าหลักที่ไทยส่งออกอาหารเพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดหลักอื่นหดตัว ตลาดส่งออกที่ขยายตัวโดดเด่น คือ จีน เติบโตสูงถึง 20.3% โดยมีสินค้าส่งออกหลักที่ขยายตัวสูง เช่น ผลไม้สด มะพร้าว (กะทิ) และไก่แช่แข็ง ส่วนตลาดสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 11.4% มีสินค้าส่งออกสำคัญขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง และอาหารพร้อมรับประทาน เป็นต้น

ส่วนแนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารไทยไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ลุ้นส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีมูลค่า 272,000 ล้านบาท โตไม่ต่ำกว่า 10% และภาพรวมปี 2563 คาดว่าการส่งออกจะมีมูลค่า 1,025,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.8% โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ได้แก่ ความต้องการอาหารมีแนวโน้มฟื้นตัวหลังกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับมาดำเนินงานมากขึ้น ช่องทางค้าปลีกและช่องทางออนไลน์ขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตลาดหลักในสหรัฐและสหภาพยุโรป จะช่วยชดเชยการลดลงของการจำหน่ายในช่องทาง HORECA ได้ระดับหนึ่ง แรงกดดันจากภาวะขาดแคลนวัตถุดิบมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากภัยแล้งเริ่มคลี่คลายจากปริมาณฝนที่ตกเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง และสุดท้าย คือ ราคาสินค้าเกษตรอาหารโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้เกิดความแห้งแล้งในทวีปอเมริกาที่เป็นแหล่งผลิตพืชผลการเกษตรที่สำคัญของโลก อาทิ ถั่วเหลือง ข้าวโพด อ้อย และธัญพืชต่าง ๆ โดยเดือนกันยายนที่ผ่านมา ราคาอาหารโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.0% เป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ซึ่งภาวการณ์ดังกล่าวจะส่งผลดีทำให้ไทยมีรายได้จากการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น

ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด-19 และเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว ส่งผลให้รูปแบบสินค้าอาหารมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนไปตามช่องทางจำหน่าย โดยเฉพาะช่องทางค้าปลีกและ Take-Away ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ท่ามกลางธุรกิจ HORECA ที่ยังอยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนแอจากพฤติกรรม Social distancing ทำให้ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การซื้อแบบออนไลน์มากขึ้น โดยเดือนสิงหาคม  ที่ผ่านมาสัดส่วนจำหน่ายอาหารในช่องทางค้าปลีกและออนไลน์ของสหรัฐเพิ่มขึ้นเป็น  57% จาก 50% ในช่วงที่ผ่านมา และพฤติกรรมดังกล่าวอาจเป็นรูปแบบการซื้อถาวรสำหรับการบริโภคอาหารที่บ้านในอนาคต ในไทยพฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปในทิศทางที่ไม่ต่างกันมากนัก คนไทยนิยมสั่งซื้ออาหารไปรับประทานหรือปรุงเองที่บ้านมากขึ้น.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ขอบคุณทุกหน่วยงานระดมช่วยผู้ประสบภัย

“นายกฯ แพทองธาร” ขอบคุณทุกหน่วยงานระดมช่วยผู้ประสบอุทกภัย หวัง ศปช.รับมือ-ช่วยเหลือรวดเร็วทันท่วงที รวมถึงการเยียวยาหลังจากนี้

ฟื้นฟูชายแดนแม่สาย-เร่งกู้ตลาดสายลมจอย

เจ้าหน้าที่เร่งฟื้นฟูชุมชนชายแดนแม่สายที่ถูกน้ำท่วมและจมโคลนมานาน 10 วัน รวมทั้งเร่งกู้ตลาดสายลมจอยแหล่งจำหน่ายสินค้าชายแดนที่เสียหายอย่างหนัก

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553