19 ก.ย.- 1 ใน 17 เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ตามข้อกำหนดองค์การสหประชาชาติ คือให้ประชากรโลกมีน้ำใช้ ด้วยการจัดการและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน ปตท.ได้พัฒนานวัตกรรมบำบัดน้ำเพื่อเป็นส่วนร่วมในเป้าหมายดังกล่าว ติดตามจากรายงาน
นักวิจัย สถาบันนวัตกรรม ปตท.ใช้เวลา 2 ปี พัฒนา ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อหวังนำน้ำที่บำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิลให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกนี้ให้คุ้มค่าที่สุด โดยออกแบบใช้เยื่อเมมเบรนมาแยกกรองของเสียที่เป็นตะกอน ผสมผสานกับการใช้จุลินทรีย์ กำจัดของเสียที่ละลายน้ำสร้างประสิทธิภาพการบำบัดที่ขึ้น
ทดสอบสอบกับระบบทั่วไป พบว่าบำบัดน้ำเสียได้ดีกว่า ได้รวดเร็วกว่า ในขนาดพื้นที่เล็กกว่าเดิม แต่ต้นทุนแพงกว่า 2 เท่า มีการทดสอบจริง ในสถานประกอบการ ปั๊มน้ำมันพีทีทีสเตชั่น พบว่าระบบทำงานได้ดี น้ำรีไซเคิล ต้นทุนต่ำกว่าน้ำประปาถึง 5 บาทต่อหน่วย ทางปั๊มน้ำมันใช้น้ำรีไซเคิล ทดแทนน้ำประปาที่ใช้ รดน้ำตันไม้ ลดต้นทุนลงได้อีก
นักวิจัย ปตท. ยังได้ร่วมกันพัฒนา แพลทฟอร์มแจ้งเตือนคุณภาพน้ำทิ้ง ในส่วนนี้ใช้กับติดตามการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียทั่วไป ตั้งเตือนผ่าน Smart Phone เมื่อ ค่าบีโอดี ค่าสารแขวน ลอย และอื่นๆ เป็นไปตามมาตรฐานที่รัฐกำหนด ก็จะโชว์สีเขียวๆ แต่หากเป็นสีเหลือง เตือนว่าค่าต่างๆไม่ปกติ ผู้ควบคุม ต้องมาปรับระบบเพื่อให้น้ำเสียอยู่ในค่ามาตรฐาน
นวัตกรรมทั้ง 2 ระบบ อยู่ในระหว่างการพัฒนาเชิงพาณิชย์ซึ่งสามารถออกแบบให้ใช้ได้ทั้งน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน อาคาร สถานประกอบการต่างๆ นับเป็นธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพ ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ของ ปตท. และร่วมตอบโจทย์ สังคมโลก ลดปัญหาขาดแคลนน้ำ จากภัยแล้ง เทคโนโลยี รีไซเคิลน้ำ นับเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามหลัก CIRCULAR ECONOMY .-สำนักข่าวไทย