โฟมพิษลอยเต็มแม่น้ำยมุนาในอินเดีย

แม่น้ำยมุนาในอินเดียถูกปกคลุมไปด้วยฟองพิษหนาลอยเต็มผิวน้ำ ทำให้เกิดความกังวลมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางน้ำที่เข้าสู่ภาวะวิกฤติรุนแรง

เตือน 7 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ

แจ้งเตือน 7 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี อยุธยา และลพบุรี เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ เนื่องจากปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามีแนวโน้มสูงขึ้น

ไอเออีเอให้ความมั่นใจชาวฟุกุชิมะเรื่องน้ำโรงงานนิวเคลียร์

ฟุกุชิมะ 5 ก.ค.- ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานปรมาณูหรือไอเออีเอ (IAEA) ให้ความมั่นใจแก่ผู้อาศัยอยู่ในจังหวัดฟุกุชิมะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นและกลุ่มตัวแทนในวันนี้ เรื่องแผนการของญี่ปุ่นที่จะปล่อยน้ำผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นายราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการไอเออีเอกล่าวในการประชุมหารือกับชาวบ้านและกลุ่มตัวแทนที่เมืองอิวากิว่า เขายอมรับว่าหลายฝ่ายยังคงมีความกังวล เพราะข้อมูลจากกราฟและสถิติซับซ้อนมากมาย แต่ความเป็นจริง ทั้งในแง่ผู้คน เศรษฐกิจ อารมณ์และมุมมองของคนในสังคมอาจต่างออกไป ไอเออีเอไม่ได้เข้ามาเพื่อปกปิดหรือตกแต่งสิ่งไม่ดี การปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งนี้ไม่ใช่ข้อยกเว้นหรือแผนการประหลาดที่ออกแบบมาใช้กับฟุกุชิมะเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ได้รับการรับรองจากไอเออีเอ เป็นการปฏิบัติทั่วไปที่ได้รับความเห็นชอบและสังเกตการณ์จากหลายพื้นที่ทั่วโลก นายกรอสซีกล่าวว่า เขาไม่มีไม้กายสิทธิที่จะปัดเป่าความกังวลให้หมดสิ้นไป แต่ไอเออีเอจะตั้งสำนักงานถาวรที่ญี่ปุ่นเพื่อดูแลการปล่อยน้ำตลอดหลายทศวรรษข้างหน้า จนกว่าน้ำหยดสุดท้ายจะถูกปล่อยลงทะเลอย่างปลอดภัย ด้านนายเท็ตสึ โนซากิ ประธานสหพันธ์สมาคมสหกรณ์ประมงจังหวัดฟุกุชิมะแย้งว่า รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังตีความความรู้สึกของคนในพื้นที่ผิดพลาด ขอให้ไอเออีเอตระหนักถึงความจริงว่า โครงการปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะกำลังเดินหน้าไปท่ามกลางกระแสคัดค้าน ไอเออีเอให้ความเห็นชอบแผนการของญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ เรื่องปล่อยน้ำสะสมในโรงฟ้านิวเคลียร์ปริมาณ 1.33 ล้านลูกบาศก์เมตรลงสู่ทะเลในช่วงหลายทศวรรษว่า เป็นไปตามมาตรฐานสากล น้ำเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำใต้ดิน น้ำฝน และน้ำหล่อเย็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ถูกคลื่นสึนามิซัดเสียหาย หลังจากเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในปี 2554 บริษัทไฟฟ้าโตเกียวหรือเทปโก (TEPCO) ผู้บริหารโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะได้บำบัดน้ำเหล่านี้ด้วยการขจัดกัมมันตรังสีเกือบทั้งหมด ยกเว้นทริเทียม และเตรียมปล่อยลงสู่ทะเล ทำให้มีเสียงประณามจากจีน และเสียงคัดค้านจากชุมชนชาวประมงในฟุกุชิมะที่กลัวว่าจะไม่มีคนซื้อสัตว์น้ำที่พวกเขาจับได้.-สำนักข่าวไทย

ผอ.ไอเออีเอถึงญี่ปุ่นแล้ว ก่อนญี่ปุ่นปล่อยน้ำฟุกุชิมะ

โตเกียว 4 ก.ค.- ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานประมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอ (IAEA) เดินทางถึงญี่ปุ่นแล้วในวันนี้ เพื่อนำเสนอรายงานทบทวนแผนการของญี่ปุ่นที่จะปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่ทะเล นายราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการไอเออีเอจะพบกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นที่กรุงโตเกียวในวันนี้ จากนั้นจึงจะเดินทางไปยังจังหวัดฟุกุชิมะ ในภูมิภาคโตโฮคุหรือตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นในวันพุธ เพื่อตรวจเยี่ยมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เครื่องปฏิกรณ์หลายเครื่องหลอมละลาย เนื่องจากระบบหล่อเย็นถูกคลื่นสึนามิซัดเสียหาย หลังจากเกิดแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2544 ขณะนี้พื้นที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีในโรงไฟฟ้าได้เปิดให้คนเข้าถึงแล้ว หลังจากใช้เวลาทำความสะอาดนานกว่า 10 ปี ส่วนน้ำที่สะสมอยู่ในโรงไฟฟ้าปริมาณมากกว่า 1.33 ล้านลูกบาศก์เมตร ประกอบด้วยน้ำใต้ดิน น้ำฝนและน้ำหล่อเย็น บริษัทไฟฟ้าโตเกียวหรือเทปโก (TEPCO) ผู้บริหารโรงไฟฟ้าแจ้งว่า ได้ผ่านกระบวนการบำบัดนิวไคลด์กัมมันตรังสีหรือไอโซโทปกัมมันตรังสีออกไปเกือบทุกอย่างแล้ว ยกเว้นทริเทียม ซึ่งเป็นไอโซโทปที่มักพบในน้ำเสียที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกปล่อยลงสู่ทะเล ญี่ปุ่นมีแผนจะปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดลงสู่ทะเลเป็นเวลา 10 ปี ผ่านท่อที่อยู่ห่างออกไป 1 กิโลเมตรจากฝั่งตะวันออกของประเทศ ไอเออีเอได้เห็นชอบแผนนี้ แต่รัฐบาลญี่ปุ่นยืนยันว่า จะเริ่มปล่อยน้ำต่อเมื่อผู้อำนวยการไอเออีเอเสนอรายงานทบทวนในวันนี้ เนื่องจากไอเออีเอมีความน่าเชื่อถือด้านการจัดการและการใช้มาตรฐานความปลอดภัยนิวเคลียร์ จึงมีความจำเป็นต่อการที่ญี่ปุ่นจะได้รับความเข้าใจจากนานาชาติ.-สำนักข่าวไทย

ผลตรวจอาหาร-น้ำจากอาศรม “พระบิดา” พบเชื้ออีโคไล-โคลิฟอร์ม-เชื้อรา

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลตรวจอาหาร น้ำ และเครื่องดื่มจากอาศรมฤาษีพระบิดาที่ จ.ชัยภูมิ พบหลายรายการไม่ได้มาตรฐาน ตรวจพบเชื้ออีโคไล โคลิฟอร์ม และเชื้อรา แนะเลี่ยงบริโภค เพราะอาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพและก่อให้เกิดโรคได้

ฮาวทูเซฟน้ำ สุดประหยัด

ฮาวทูเซฟน้ำอย่างไรให้ประหยัดสุด ๆ จากสถานการณ์ภัยแล้งที่ทวีความรุนแรง และขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะฝนตก แต่ไม่ตกลงในเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำ จึงทำให้มีปริมาณน้ำใช้การได้มีน้อย เราจะมาบอกวิธีการใช้น้ำให้ประหยัดสุดๆ มาบอกกันค่ะ

ปตท. รักษ์โลก พัฒนานวัตกรรมระบบ รีไซเคิลน้ำทิ้ง

1 ใน 17 เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ตามข้อกำหนดองค์การสหประชาชาติ คือให้ประชากรโลกมีน้ำใช้ ด้วยการจัดการและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน ปตท.ได้พัฒนานวัตกรรมบำบัดน้ำเพื่อเป็นส่วนร่วมในเป้าหมายดังกล่าว

น้ำจากสุโขทัยหลากมาถึงพิษณุโลกแล้ว กรมชลฯ เฝ้าระวัง หวั่นล้นตลิ่ง

น้ำจาก จ.สุโขทัย หลากมาถึง จ.พิษณุโลก ผ่านแม่น้ำยมสายเก่าแล้วกว่า 500 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้น้ำมีปริมาณมาก ทางกรมชลประทานเฝ้าระวัง หวั่นจะล้นตลิ่ง

ชัวร์ก่อนแชร์ : พายุงวงช้างดูดน้ำในทะเลสาบจนแห้ง จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปพายุงวงช้าง บอกว่าพายุงวงช้างดูดน้ำในทะเลสาบจนแห้งได้ ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

...