MEA ครบรอบ 62 ปี ร่วมยกระดับเมืองอัจฉริยะ

กรุงเทพฯ 31 ก.ค. – MEA ครบรอบ 62 ปี ขับเคลื่อน Change to New Normal  พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร ล่าสุดสร้างสถานีไฟฟ้าต้นทางบางซื่อ เพื่อรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด 1,200 เอ็มวีเอ (MVA) เทียบเท่าประมาณ 5 เท่าของการจ่ายไฟนิคมฯ บางปู


นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA เปิดเผยว่า ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาการไฟฟ้านครหลวง ครบ 62 ปี ในวันที่ 1 สิงหาคม 2563 MEA มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนพลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พร้อมพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อประชาชนภายใต้แนวทาง “62 Year MEA CHANGE to NEW NORMAL”

ทั้งนี้ ข้อมูลเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 สถิติการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ MEA มีหน่วยจำหน่ายไฟฟ้าสะสมเท่ากับ 50,840.09 ล้านหน่วย และปี 2563 MEA ได้ดำเนินการตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 100 มีสถิติความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (Maximum Demand) ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563 จำนวน 7,998.83 เมกะวัตต์ และพัฒนาระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเสริมความมั่นคงและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ส่งผลให้มีจำนวนครั้งที่ไฟฟ้าขัดข้องเฉลี่ย (SAIFI) เท่ากับ 0.469 ครั้ง/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/เดือน และระยะเวลาที่ไฟฟ้าขัดข้องเฉลี่ย (SAIDI) เท่ากับ 15.412 นาที/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/6 เดือน (ข้อมูลสะสมถึงเดือน มิถุนายน 2563)


ด้านการพัฒนาบริการต่าง ๆ MEA ยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าออนไลน์ด้วยรูปแบบดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น MEA Smart Life Application, -Internet Banking ระบบบริการออนไลน์ MEASY (https://eservice.mea.or.th/measy) เป็นช่องทางหนึ่งที่เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าด้านต่าง ๆ รวมถึงการขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ COVID-19 และช่องทางดังกล่าวยังอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถรับบริการขอติดตั้งไฟฟ้าใหม่ ขอติดตั้งไฟฟ้าชั่วคราว ขอเพิ่ม-ลดขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ตลอดจนการของดการใช้ไฟฟ้าชั่วคราวก็สามารถรับบริการได้ง่ายยิ่งขึ้น

นอกจากนี้  MEA ตอบรับนโยบายรัฐบาลมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพการดำเนินงานเป็นตัวแทนประเทศไทยที่เข้ารับการประเมินความยาก-ง่าย ในการประกอบธุรกิจ หรือ The Ease of Doing Business ด้านความสะดวกในการขอใช้ไฟฟ้า (Getting Electricity) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งการจัดอันดับของธนาคารโลก (Doing Business 2020) ประจำปี 2563 MEA มีคะแนนเป็นอันดับที่ 6 ของโลก

สำหรับบริการที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างยานยนต์ไฟฟ้า (EV) MEA ได้จัดทำ MEA EV Application ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่น เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการตรวจสอบสถานีอัดประจุไฟฟ้า การจองหัวชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า และข้อมูลการชาร์จของผู้ใช้งาน  ส่งเสริมร่วมกับเอกชนหลายค่าย พัฒนาให้เกิดการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการจ่ายไฟฟ้าให้กับสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทให้มีความเพียงพอ มั่นคง ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ  และปัจจุบัน MEA ยังมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้ารวม 14 สถานี โดยล่าสุดได้ให้บริการออกแบบและติดตั้งเครื่องชาร์จไฟยานยนต์ไฟฟ้าภายในที่อยู่อาศัยของลูกค้า


ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้า MEA ยังคงเดินหน้าโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจตามแผนงาน พร้อมเป็นผู้นำประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดระเบียบสายสื่อสาร ในพื้นที่ให้บริการ โดยปัจจุบัน กฟน.ดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเสร็จรวมทั้งสิ้น 48.6 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างดำเนินการ 167 กิโลเมตร ซึ่งโครงการที่จะเริ่มดำเนินการปี 2563 ได้แก่  ถนนวิทยุ ช่วงแยกเพลินจิต ถึง ถนนพระราม 4 และโครงการรอบพระตำหนักจิตรลดา รวมถึงโครงการขยายการก่อสร้างอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้าใจกลางเมืองซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ประกอบด้วย ถนนชิดลม ถึง ถนนสารสิน (ตลอดแนวถนน) และถนนเพลินจิต (จากสี่แยกชิดลม ถึงสี่แยกเพลินจิต) โดยมีลักษณะเป็นอุโมงค์ยักษ์ขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.6 เมตร อยู่ลึกประมาณ 40 เมตร มีความยาวของอุโมงค์โดยประมาณ 1,800 เมตร ซึ่งจะถือเป็นอุโมงค์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

การพัฒนาระบบไฟฟ้าไปสู่การเป็น มหานครอัจฉริยะ Smart Metro Grid ในปัจจุบัน MEA ยังได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการดำเนินโครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ (CHULA Smart City) ตลอดจนการเตรียมพร้อมรองรับระบบไฟฟ้าของรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ และสถานีกลางบางซื่อ ซึ่ง MEA ได้ดำเนินการสร้างสถานีไฟฟ้าต้นทางบางซื่อ เพื่อรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้สูงสุด 1,200 เอ็มวีเอ (MVA) เทียบเท่าประมาณ 5 เท่าของศักยภาพระบบจ่ายไฟฟ้าให้กับนิคมอุตสาหกรรมบางปู โดยจะดำเนินการเสร็จภายในปี 2563 ในปี 2563 MEA จึงได้ติดตั้ง smart meter จำนวน 33,265 ชุด  และการใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลและสถานะของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบได้แบบสองทาง (two-way communication) มีคุณสมบัติในการ monitor และแสดงผลได้ทันที (real time) ช่วยให้ทราบถึงพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า และเก็บข้อมูลพร้อมบันทึกการใช้พลังงานไฟฟ้าจาก smart meter ทั้งปัจจุบันและย้อนหลังเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ สามารถหาสาเหตุของปัญหาเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าแก้ไขได้อย่างตรงจุดและรวดเร็วมากขึ้น ขณะที่ด้านเทคโนโลยีการควบคุมระบบไฟฟ้า MEA ยังมีแผนดำเนินการปรับปรุงศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA) เพื่อทำหน้าที่ควบคุมจัดการระบบไฟฟ้า ตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลสั่งการที่ทันสมัย ช่วยในเรื่องการบริหารจัดการควบคุมแรงดัน รวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย พร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้สามารถตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที และเพื่อการวางระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะแห่งอนาคตสำหรับเมืองมหานครให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

New Zealanders march towards Wellington to protest Indigenous treaty bill

ชาวเมารีเต้นฮากาประท้วงร่าง กม.นิวซีแลนด์

เวลลิงตัน 15 พ.ย.- ผู้คนในหลายเมืองทั่วนิวซีแลนด์เข้าร่วมการเดินขบวนมุ่งหน้าไปยังกรุงเวลลิงตัน เพื่อประท้วงร่างกฎหมายลิดรอนสิทธิของชนพื้นเมือง โดยมีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารีในระหว่างการประท้วงด้วย รัฐสภานิวซีแลนด์ผ่านความเห็นชอบในเบื้องต้นเมื่อวานนี้ เรื่องการตีความใหม่สนธิสัญญาอายุ 184 ปี ที่มกุฎราชกุมารอังกฤษกับหัวหน้าชาวเมารีมากกว่า 500 คนลงนามในปี พ.ศ.2383 กำหนดเรื่องการปกครองนิวซีแลนด์ร่วมกัน ซึ่งเป็นแนวทางในการออกกฎหมายและนโยบายของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงตามเมืองต่าง ๆ ทั่วนิวซีแลนด์ โดยมีการจัดเดินขบวนเป็นเวลา 9 วันมุ่งไปยังกรุงเวลลิงตัน คาดว่าขบวนจะถึงเมืองหลวงในวันที่ 19 พฤศจิกายน ตำรวจแถลงวันนี้ว่า มีคนประมาณ 10,000 คน เข้าร่วมการเดินขบวนในเมืองโรโตรัว ห่างจากกรุงเวลลิงตันไปทางเหนือราว 450 กิโลเมตร ผู้ประท้วงแต่งกายในชุดชนพื้นเมือง มีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารี โดยได้รับการต้อนรับจากคนจำนวนมากที่มาโบกธงเมารีและร่วมร้องเพลง.-814.-สำนักข่าวไทย

วัดอรุณฯ เนืองแน่น นักท่องเที่ยวแห่ร่วมงานลอยกระทง

นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติแน่นวัดอรุณฯ ร่วมงานประเพณีลอยกระทง 2567 “ลอยกระทง วิถีไทย ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” มีน้องหมูเด้ง Thai Cuteness นำนักท่องเที่ยวแต่งชุดไทยสืบสานคุณค่าวัฒนธรรม นางสาวไทย(ดินสอสี) ชวนรำวงลอยกระทง 6 ภาษา ผลักดันเทศกาลไทยสู่ World Event หมุดหมายสำคัญของนักท่องเที่ยวทั่วโลก

“เจ๊พัช” ขอโทษรัฐมนตรีน้ำ ยืนยันไม่รู้จักส่วนตัว

“กฤษอนงค์” โพสต์ขออภัยรัฐมนตรีน้ำและคุณพ่อ ปมคลิปเสียงแอบอ้าง พร้อมขอน้อมรับผิดไว้แต่เพียงผู้เดียว แจงเป็นการสนทนาแนวทางส่งเสริมอาชีพเท่านั้น

“จิราพร” มอบทนายนำคลิปเข้าแจ้งจับนักร้องเรียนหญิงอ้างชื่อรีดทรัพย์

ทนายความ “รมต.” นำคลิปเข้าแจ้งจับนักร้องเรียนหญิง อ้างชื่อเรียกรับเงินกลุ่ม “ดิไอคอน” ยืนยันไม่เคยรู้จักกัน

ข่าวแนะนำ

หารือสีจิ้นผิง

นายกฯ หารือ “สี จิ้นผิง” ขยายความร่วมมือการค้า-ลงทุน

นายกรัฐมนตรี หารือ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น พร้อมแลกเปลี่ยนการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนสองประเทศ พร้อมอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วจากปักกิ่งประดิษฐานท้องสนามหลวง

สีฐานเฟสติวัล สุดยอดเทศกาลลอยกระทง จ.ขอนแก่น

บรรยากาศงานลอยกระทง จ.ขอนแก่น โดยเฉพาะภายในบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น คึกคัก มีประชาชนเดินทางมาร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง

“ยี่เป็งเชียงใหม่” คึกคัก นักท่องเที่ยวแน่น

บรรยากาศริมฝั่งลำน้ำปิง บริเวณหน้าเทศบาลนครเชียงใหม่ คึกคักไปด้วยชาวเชียงใหม่ รวมทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ ที่มาลอยกระทงกันอย่างคึกคัก ส่วนใหญ่มาเป็นครอบครัว คู่รัก หรือบางคนฉายเดี่ยว และยังเน้นกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติเป็นหลัก