KKP ชี้มาตรการแจกเงิน หนุนเศรษฐกิจไทยฟื้นชั่วคราว

กรุงเทพฯ 16 ต.ค. – KKP ปรับประมาณการ GDP ปี 67 เป็น 2.8% และปี 68 เป็น 3.0% ชี้มาตรการแจกเงิน-ส่งออกกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวดีขึ้น หนุนเศรษฐกิจไทยฟื้นชั่วคราว คาด กนง.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้งในปีนี้


แม้ว่าเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความท้าทายจากปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาว KKP Research ปรับประมาณการเศรษฐกิจสำหรับปี 2567 ขึ้นจาก 2.6% เป็น 2.8% และปี 2568 ขึ้นจาก 2.8% เป็น 3.0% เพื่อสะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้น จากสองปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ 1) การแจกเงินให้กลุ่มเปราะบางของภาครัฐในช่วงไตรมาส 4 ปี 2567 และงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมที่ตั้งรอไว้สำหรับปี 2568 2) การปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นการฟื้นตัวตามวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลก ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชน ภาคการผลิตบางกลุ่ม และการบริโภคสินค้าคงทนยังคงเป็นปัจจัยฉุดเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังเป็นการปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้นเท่านั้นจากแรงกดดันเชิงโครงสร้างในระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงอายุ ปัญหาความสามารถในการแข่งขันระยะยาวในภาคการผลิต และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยประเมินว่าการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตได้ต่ำกว่า 2.5% หากไม่มีการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ชัดเจน

KKP Research ปรับประมาณการการส่งออก (ที่แท้จริง) ในปี 2567 ขึ้นจาก 1.3% เป็น 2.3% จากการส่งออกในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวได้ดีกว่าที่ประเมินไว้ โดยการขยายตัวของการส่งออกปรับตัวดีขึ้นในหลายกลุ่ม อย่างไรก็ตามข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ ผลทางบวกต่อเศรษฐกิจจากการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกอาจมีไม่มากเท่ากับในอดีต จากหลายสาเหตุ คือ 1) การส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นในบางสินค้ามีแนวโน้มเกิดจากการ “Rerouting” หรือเป็นการเปลี่ยนเส้นทางการค้าจากจีนไปสหรัฐฯ โดยตรงเป็นการส่งสินค้าจากจีนผ่านไทยไปยังสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการกีดกันทางภาษี ซึ่งอาจจะมีมูลค่าเพิ่มภายในประเทศค่อนข้างน้อย 2) การส่งออกที่เป็นตัวเงินปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่การส่งออกที่แท้จริงอาจปรับตัวสูงขึ้นน้อยกว่า 3) การผลิตสินค้าบางกลุ่มยังไม่ปรับตัวดีขึ้นตามการส่งออก เนื่องจากสินค้าคงคลังที่ยังอยู่ในระดับสูง เช่น กลุ่ม ICs และ Electronics เป็นต้น จากมูลค่าเพิ่มในประเทศที่มีแนวโน้มลดลง KKP Research ประเมินว่าการเพิ่มขึ้นของการส่งออก 1% จะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจลดลงจากประมาณ 0.3ppt เหลือประมาณ 0.1ppt ถึง 0.2ppt เท่านั้น


เศรษฐกิจไทยน่าจะได้รับผลบวกระยะสั้นจากนโยบายแจกเงินของรัฐบาลในไตรมาส 4 ปีนี้ โดยมีการแจกเงินจำนวน 142,000 ล้านบาทให้กับกลุ่มเปราะบางหรือคิดเป็นประมาณ 0.7% ของ GDP KKP Research ประเมินว่าผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมจะมีค่า Multiplier ที่ประมาณ 0.3 โดยประเมินว่าการแจกเงินในรอบแรกส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจประมาณ 0.2-0.3 ppt และมีแนวโน้มส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปีนี้เติบโตได้เกิน 4% อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2567/6825 ยังมีการอนุมัติงบประมาณอีก 150,000 – 180,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 0.8% – 0.9% ของ GDP ซึ่ง KKP Research ประเมินว่าการแจกเงินก้อนที่สองจะมีการใช้งานได้ในช่วงไตรมาส 2 ถึง ไตรมาส 3 ปี 2568 และน่าจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยโตขึ้นได้ประมาณ 3% ในปี 2568

นอกจากนี้ ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลประกาศนโยบายเศรษฐกิจใหม่และแนวโน้มสถานการณ์การเมืองไทยที่มั่นคงขึ้นในระยะสั้น KKP Research ประเมินว่านโยบายที่สำคัญ คือ 1) การปรับโครงสร้างหนี้ 2) การส่งเสริมและปกป้องผู้ประกอบการรายเล็กถึงกลางจากการแข่งขันจากต่างประเทศ 3) การให้ความช่วยเหลือด้านราคาพลังงานและสาธารณูปโภค 4) การดึงเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่เศรษฐกิจในระบบ และ 5) นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม KKP Research ยังมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายของภาครัฐ จากหลายนโยบายที่ยังไม่มีแผนการดำเนินการที่ชัดเจน และข้อจำกัดด้านหนี้สาธารณะของภาครัฐ โดยในสถานการณ์ปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อ GDP ของภาครัฐกำลังปรับตัวเพิ่มขึ้นเข้าสู่ระดับ 70% ของ GDP ในขณะที่ รายได้ภาษีต่อ GDP มีแนวโน้มลดลง

อย่างไรก็ตาม KKP Research ยังคงมุมมองระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทยโดยประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มโตได้ต่ำกว่า 2.5% หากไทยยังขาดนโยบายปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่ชัดเจนโดยประเมินว่าในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจยังคงเผชิญกับสี่แรงกดดันเชิงโครงสร้างที่สำคัญ คือ


  1. โครงสร้างประชากร โครงสร้างประชากรไทยในปัจจุบันกำลังเป็นปัจจัยลบต่อศักยภาพเศรษฐกิจไทยในระยะยาว จากจำนวนคนวัยทำงานที่ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2558
  2. ความสามารถในการแข่งขัน ภาคการผลิตไทยเผชิญกับปัญหาควาสามารถในการแข่งขันในหลายอุตสาหกรรมทั้งยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี โดยการผลิตมีทิศทางที่หดตัวลงต่อเนื่องจากทั้งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ
  3. ภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนไทยหดตัวลงรุนแรงถึง 5.7% ในไตรมาส 2 ของปีสูงกว่าที่คาดไว้ โดยการหดตัวเกิดขึ้นหลังจากภาคการผลิตไทยหดตัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในขณะที่การลงทุนในกลุ่มการก่อสร้างหดตัวลงเช่นกันตามตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแอ
  4. สถานะทางการเงินของครัวเรือนที่อ่อนแอ โดยหนี้ครัวเรือนในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 80% ซึ่งเป็นระดับที่เริ่มฉุดศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ประกอบกับหนี้เสียในภาคธนาคารเริ่มปรับตัวสูงขึ้นชัดเจนในช่วงที่ผ่านมาสอดคล้องกับยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ของธนาคารพาณิชย์ที่ยังมีแนวโน้มหดตัวลง

ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วและเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่แข็งขึ้นเร็วมากที่สุดในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม KKP Research ประเมินว่าการแข็งค่าของเงินบาทยังมีแนวโน้มเกิดจากปัจจัยระยะสั้นซึ่งเกิดจากการอ่อนค่าลงเร็วของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จากการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และบรรยากาศการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้นจากสถานการณ์การเมืองที่มีทิศทางชัดเจนขึ้น และการปรับตัวสูงขึ้นของราคาทองคำ

อย่างไรก็ตามในระยะต่อไป KKP Research ประเมินว่าว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระยะยาวไม่สอดคล้องกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในระยะสั้น และยังคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยยังมีแนวโน้มต่ำกว่าในช่วงที่ผ่านมา แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับไปใกล้เคียงกับระดับก่อนโควิดแล้วก็ตาม โดยการเกินดุลในระยะต่อไปจะอยู่ในระดับประมาณ 1% – 3% ของ GDP เมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนโควิดที่ระดับ 7% – 8% ของ GDP ซึ่งเป็นผลมาจากหลายองค์ประกอบ จากทั้งดุลการค้าที่เกินดุลน้อยลงตามราคาน้ำมันและความสามารถในการแข่งขัน รายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง และค่าขนส่งที่ยังสูงกว่าช่วงก่อนโควิด

แม้ว่า KKP Research จะปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจในปี 2567 และ 2568 ขึ้นแต่ยังคงประเมินว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้งในปีนี้ และจะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องอีก 2 ครั้งในไตรมาส 1 และ 2 ปีหน้าสู่ระดับ 1.75% จากระดับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับค่อนข้างสูงแล้วเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ระดับอัตราดอกเบี้ยในอดีต และระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่หนี้ครัวเรือนที่อยูในระดับสูงเริ่มมีสัญญาณปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา.-516-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร