เปิดขบวนรถไฟระหว่างประเทศไทย-ลาว เที่ยวปฐมฤกษ์

กรุงเวียงจันทร์ 20 ก.ค – ไทย-ลาว เปิดขบวนรถโดยสารระหว่างประเทศ เที่ยวปฐมฤกษ์ เส้นทางกรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) เชื่อมสองเมืองหลวงด้วยระบบราง


นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายไซสงคราม มะโนทัม รองรัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป ลาว เป็นประธานร่วมเปิดขบวนรถไฟระหว่างประเทศไทย-ลาว รองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับขบวนรถเร็วที่ 133 เที่ยวปฐมฤกษ์เส้นทางกรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันอาสฬหบูชานับเป็นวันพระใหญ่ของ สปป ลาว จึงเป็นฤกษ์ดีในการเปิดเดินรถไฟจากกรุงเทพมหานครถึงสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) อย่างเป็นทางการ ซึ่งก่อนหน้านี้ สปป ลาว มีทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างสถานีหนองคายฝั่งไทยกับสถานีท่านาแล้งฝั่ง สปป.ลาว ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร โดยมีขบวนรถโดยสารวิ่งระหว่างหนองคาย-ท่านาแล้งวันละ 4 ขบวน ต่อมาฝ่ายไทยได้ให้ความช่วยเหลือ สปป.ลาวในการก่อสร้างทางรถไฟขนาดทางกว้าง 1.000 เมตร (meter gauge) ระยะที่ 2 ช่วงท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ ระยะทาง 7.5 กิโลเมตรที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2566 และได้มีการประชุมระหว่างไทย-ลาว เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดเส้นทางเดินรถไฟ พร้อมกับฝึกอบรมพนักงานขับรถไฟให้กับบุคลากรของการรถไฟลาว และเมื่อวันที่ 14 – 20 พฤษภาคม 2567 รฟท. และ LNRE ได้เริ่มทดลองเดินรถไฟจากสถานีท่านาแล้งไปยังสถานีคำสะหวาด เพื่อทดสอบระบบและตรวจสอบด้านเทคนิคพร้อมทั้งได้มีการทดลองการเดินรถเเสมือนจริงเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ผลการทดสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้มีการเปิดให้บริการเดินรถเป็นทางการในวันนี้


นายสุรพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานีคำสะหวาดตั้งอยู่ที่บ้านคำสะหวาด เมืองไซเสดถา นครหลวงเวียงจันทน์ ห่างจากสถานีท่านาแล้งประมาณ 7.5 กิโลเมตร และห่างจากสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ประมาณ 16 กิโลเมตร สถานีนี้มีขนาด 2 ชั้น พร้อมชานชาลา 2 แห่ง โดยชั้นแรกมีพื้นที่ 6,300 ตารางเมตร และชั้นที่สองมีพื้นที่ 3,600 ตารางเมตร ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ภายใต้โครงการก่อสร้างทางรถไฟไทย-ลาว ระยะที่ 2 (สายท่านาแล้ง-เวียงจันทน์) วงเงิน 994 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างระบบรางรถไฟหลักระยะทาง 7.50 กม. งานระบบอาณัติสัญญาณ งานก่อสร้างสถานีเวียงจันทน์ บ้านพักเจ้าหน้าที่ ทางเข้าสถานีเวียงจันทน์ และงานจุดตัดทางรถไฟ โดยนายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศได้เป็นประธานในพิธีเปิดใช้สถานีรถไฟเวียงจันทน์(คำสะหวาด) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา

นายสุรพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดเดินรถในครั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว (Lao National Railway State Enterprise: LNRE) โดยใช้พนักงานขับรถของ LNRE เป็นผู้ควบคุมขบวนรถจากสถานีท่านาแล้ง (สถานีระหว่างประเทศ) ไปยังสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) โดยมีพนักงาน รฟท. เป็นพี่เลี้ยงไปกับรถจักรดีเซลไฟฟ้าด้วย ทั้งนี้ รฟท. ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรการขับรถจักรให้แก่พนักงานขับรถของ LNRE เพื่อให้สามารถควบคุมขบวนรถได้อย่างปลอดภัย โดยสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) ของไทย รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

นายสุรพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดเดินรถไฟเส้นทางกรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ เชื่อมโยงเมืองหลวงของไทยและ สปป ลาว จะทำให้การเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศด้วยระบบรางมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยมีขบวนรถไฟให้บริการวันละ 4 ขบวน ประกอบด้วย ขบวนรถเร็วที่ 133 กรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ขบวนรถเร็วที่ 148 เส้นทางเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-อุดรธานีขบวนรถเร็วที่ 147 อุดรธานี-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)และขบวนรถเร็วที่ 134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-กรุงเทพอภิวัฒน์ โดยผู้โดยสารที่จะมา สปป.ลาวสามารถเดินทางมากับขบวนรถเร็วที่ 133 ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เวลา 20.25 น. ถึงสถานีหนองคายเวลา 07.55 น. ระยะทางประมาณ 621 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง 30นาที จากนั้นลงจากขบวนรถพร้อมกระเป๋าเดินทางและหนังสือเดินทาง (passsport) ที่มีอายุเหลืออย่างน้อย 6 เดือน หรือทำบัตรผ่านแดน เพื่อเดินไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองที่สถานีหนองคาย ซึ่งมีให้บริการ 3 ตู้ ตู้ละ 2 ช่อง และเดินผ่านด่านศุลกากร ในขณะที่ขบวนรถไฟจะตัดขบวน 4 ตู้หน้าเลื่อนไปรอด้านทิศเหนือของสถานีหนองคาย เมื่อผู้โดยสารผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรแล้ว สามารถเดินขึ้นขบวนรถไฟได้เลย โดยใช้เวลาช่วงนี้ประมาณ 40 นาที ก่อนที่ขบวนรถไฟจะออกจากสถานีหนองคายเวลา 08.35 น. ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ผ่านสถานีท่านาแล้งไปยังสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยขบวนรถไฟจะมาถึงสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ในเวลา 09.05 น. เมื่อเดินทางมาถึงสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) แล้ว ผู้โดยสารลงจากขบวนรถไฟจะถูกทางบังคับให้เดินเข้าด่านตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งมีทั้งหมด 3 ตู้ (ตู้ละ 2 ช่อง) ประกอบด้วย
ตู้ที่ 1 (ซ้ายสุด) สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางราชการ
ตู้ที่ 2 (ตรงกลาง) สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทั่วไป และบัตรผ่านแดน
ตู้ที่ 3 สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางประเทศอาเซียน (ASEAN Passport)


ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไม่ได้รับฟรีวีซ่าจาก สปป ลาว จะมีจุดทำ Visa on Arrival (VOA) อยู่ด้านขวามือสุดของตู้สำหรับผู้หนังสือเดินทางประเทศอาเซียน และเมื่อออกจากอาคารสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) แล้วจะพบเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วรถโดยสารด้านขวามือ มีรถโดยสารที่เข้าตัวเมืองเวียงจันทน์ จะมีออกแค่ 4 รอบ ช่วงเช้า 9.30 น. กับ 9.40 น. (รับผู้โดยสาร ขบวน133 กับส่งผู้โดยสารขบวน 148) และช่วงเย็น 18.30 น. กับ 18.45 น. (รับผู้โดยสารขบวน 147 กับส่งผู้โดยสาร 134) ค่าโดยสารผู้ใหญ่ ราคา 20,000 กีบ และเด็ก ราคา 10,000 กีบ นอกจากนี้ยังมีรถแท็กซี่และรถตู้ที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ในนครหลวงเวียงจันทน์ และเมืองใกล้เคียง รวมถึงสถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์ (ลาว-จีน) ที่ห่างจากสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ประมาณ 16 กิโลเมตร นอกจากนี้ ที่สถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ยังมีช่องสำหรับจองตั๋วรถไฟลาว-จีน (LCR) ซึ่งมีเคาน์เตอร์ขายโดยเฉพาะด้วยด้านซ้ายมือสุดของช่องจำหน่ายตั๋วรถไฟไทย-ลาว สามารถที่จะซื้อตั๋วรถไฟได้เช่นกัน

นายสุรพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขบวนรถเร็วที่ 133 เส้นทางกรุงเทพอภิวัฒน์- เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) และขบวนรถเร็วที่ 134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-กรุงเทพภิวัฒน์ ค่าตั๋วรถไฟนั่งชั้นสามพัดลม ราคา 281 บาท (152 ที่นั่ง), รถนั่งชั้นสองปรับอากาศราคา 574 บาท (64 ที่นั่ง), รถนั่งและนอนชั้นสองปรับอากาศ (30 ที่นั่ง) เตียงบนราคา 784 บาท และเตียงล่างราคา 874 บาท ส่วนขบวนรถเร็วที่ 148 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-หนองคาย-อุดรธานี และขบวนรถเร็วที่ 147 อุดรธานี-หนองคาย-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) คิดอัตราพิเศษ แบ่งเป็นระยะ ดังนี้

  • อุดรธานี – เวียงจันทน์ : รถพัดลม 100 บาท / รถแอร์ 200 บาท
  • อุดรธานี – หนองคาย : รถพัดลม 30 บาท / รถแอร์ 80 บาท
  • หนองคาย – เวียงจันทน์ : รถพัดลม 70 บาท / รถแอร์ 120 บาท

นายสุรพงษ์ กล่าวปิดท้ายว่า “การเปิดให้บริการรถไฟระหว่างประเทศในครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองประเทศในการพัฒนารถไฟที่มีประสิทธิภาพ สะดวกสบาย และปลอดภัย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเดินทางและการขนส่งระหว่างกัน รวมถึงกระตุ้นการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น” ทั้งนี้ การเปิดให้บริการรถไฟสายนี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของความร่วมมือระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว (Lao National Railway State Enterprise: LNRE) ที่ได้ร่วมกันผลักดันโครงการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟเชื่อมโยงระหว่างสองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการยกระดับการคมนาคมขนส่งทางรางในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป.-513-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ปะทะแล้ว บริเวณปราสาทตาเมือน หลังฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากยิง

สุรินทร์ 24 ก.ค.-ทบ.รายงานเหตุการณ์ปะทะบริเวณพื้นที่ปราสาทตาเมือน อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ หลังฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากยิง เมื่อเช้าวันที่ 24 กรกฎาคม 2568 วันที่ 24 กรกฎาคม 2568 เวลา 07.35 น. หน่วยเฉพาะกิจที่ดูแลพื้นที่ปราสาทตาเมือนรายงานว่า ได้ยินเสียงอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ของฝ่ายกัมพูชาบินวนอยู่บริเวณหน้าปราสาทตาเมือนธม แม้ไม่สามารถตรวจพบตัวอากาศยานได้ด้วยสายตา แต่สามารถได้ยินเสียงอย่างชัดเจน ต่อมาฝ่ายกัมพูชาได้นำอาวุธเข้าสู่ที่ตั้งบริเวณด้านหน้าแนวลวดหนาม และพบกำลังพลกัมพูชาจำนวน 6 นาย พร้อมอาวุธครบมือรวมทั้ง RPG เดินเข้ามาใกล้แนวลวดหนามบริเวณด้านหน้าฐานปฏิบัติการของไทย ฝ่ายไทยได้ใช้การตะโกนเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและยกระดับสถานการณ์ โดยฝ่ายไทยเฝ้าระวังตลอดแนวชายแดนเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาประมาณ 08.20 น. ฝ่ายกัมพูชาได้เปิดฉากยิงเข้ามาบริเวณตรงข้ามฐานปฏิบัติการทางทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือน ในระยะประมาณ 200 เมตร ขณะนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกองทัพบกกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะรายงานความคืบหน้าให้ทราบต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ปะทะทหารไทย-เขมร ลาม 6 พื้นที่ กำลังพลเจ็บ 2 นาย

กทม. 24 ก.ค.-ด่วน! เหตุปะทะทหารไทย-เขมร ลาม 6 พื้นที่ ทบ. เผยทหารกัมพูชา เปิดแนวรบเพิ่มที่ ผามออีแดง เขาพระวิหาร ส่วนทหารไทยงัดปืนใหญ่ตอบโต้ กำลังพลเจ็บ 2 นาย เมื่อวันที่ 24 ก.ค.68 ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.ริชฌา สุขสุวานนท์ รองโฆษกกองทัพบก ระบุเพิ่มเติมว่า เวลา 0920 น. กองทัพบกพบการปะทะเพิ่มเติมตลอดแนวพื้นที่ผามออีแดง ปราสาทเขาพระวิหาร พบฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากใช้อาวุธทุกชนิดและ BM21 ส่วนฝ่ายไทยเข้าปะทะตามแผนพร้อมตอบโต้ปืนใหญ่สนาม 09.20 น. เจ้าหน้าที่ทหารบาดเจ็บ 2 นาย จากอาวุธยิงสนับสนุน ในพื้นที่บริเวณกลุ่มปราสาทตาเมือน จ.สุรินทร์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพื้นที่ที่มีการปะทะจำนวน 6 พื้นที่ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาควาย ช่องบก เขาพระวิหาร(ห้วยตามาเรีย/ภูมะเขือ) ช่องอ่านม้า ช่องจอม.-313.-สำนักข่าวไทย

ผบ.ทบ.นำคณะลงช่องอานม้า พรุ่งนี้ จ่อใช้แผนจักรพงษ์ภูวนาถ

23 ก.ค.- “ผบ.ทบ.” สั่ง ทภ.2-ทภ.1 เตรียมพร้อม “แผนจักรพงษ์ภูวนาถ” รับมือชายแดนไทย-กัมพูชา พร้อมยกคณะลงพื้นที่บัญชาการ วันที่ 23 ก.ค.68 พล.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผข.ทบ.) ได้สั่งการไปยังกองทัพภาคที่ 2 และกองทัพภาคที่1 รับผิดชอบพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา เตรียมใช้แผนจักรพงษ์ภูวนาถ แก้ไขปัญหาพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชาหลัง กำลังพลของกองทัพบกไทยจากชุดลาดตระเวน พัน.ร.14 ประสบเหตุเหยียบกับระเบิดบริเวณห้วยบอน ช่องอานม้า อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พิกัด VA 950911 ซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการตามแนวชายแดน โดยส่งผลให้ จ่าสิบเอกพิชิตชัย บุญโคราช ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการสูญเสียขาขวา และอยู่ระหว่างการส่งตัวรักษาต่อ ณ โรงพยาบาลน้ำยืน โดยให้พร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันที เมื่อสั่งการ ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (24 ก.ค.) พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก พลโท ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ รองเสธ ทบ. พลโทบุญสินพาดกลาง มทภ.2 […]

“บิ๊กต่าย” อยากเคลียร์ใจครอบครัว “น้องเมย” ปมคู่กรณีได้เป็น ตร.

ตร. 23 ก.ค. – ผบ.ตร. อยากเคลียร์ใจครอบครัว “น้องเมย” ปมคู่กรณีได้เป็นตำรวจใต้บังคับบัญชาหลังเกิดเหตุ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 12 จังหวัดปราจีนบุรี อ่านคำพิพากษากรณีที่ ภคพงศ์ ตัญกาญจน์ หรือ น้องเมย นักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 เสียชีวิตปริศนา หลังจากถูกธำรงวินัยโดยรุ่นพี่ทหาร 2 นาย ภายในโรงเรียนเตรียมทหาร เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2560 ซึ่งหนึ่งในรุ่นพี่ที่เป็นจำเลย ปัจจุบันรับราชการตำรวจในภาคอีสาน พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ระบุว่า ตนได้รับรายงานเรื่องนี้แล้ว สิ่งที่อยากจะสื่อสารในประเด็นที่ 1 ตนอยากพบพ่อและแม่ของน้องเมยเป็นการส่วนตัว เพื่อจะได้พูดคุยให้เข้าใจในการปฏิบัติของตำรวจ ซึ่งเป็นประเด็นที่ 2 กรณีที่คู่กรณีเป็นตำรวจ เราต้องมองย้อนไปในขณะที่เกิดเหตุ มองถอยหลังกลับไป คู่กรณีรายดังกล่าวไม่ได้อยู่ในสถานะตำรวจ ฉะนั้นแล้วตามกฎหมาย พ.ร.บ.ตำรวจ ปี 2565 การดำเนินการทางวินัยจะดำเนินได้เฉพาะกับผู้ที่อยู่ในสถานะตำรวจ ซึ่งขณะนั้นคู่กรณีถือว่าอยู่ภายใต้กองบัญชาการกองทัพไทย ส่วนการพิจารณาทางวินัยตำรวจของคู่กรณี ตนได้สั่งให้จเรตำรวจแห่งชาติ นำไปประกอบการพิจารณา เนื่องจากวินัยและอาญาจะสามารถเชื่อมกันได้ในข้อเท็จจริงบางส่วน […]

ข่าวแนะนำ

เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวรองรับประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยชายแดน

ศรีสะเกษ 24 ก.ค. – บรรยากาศคืนแรกที่ศูนย์อพยพฯ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ประชาชนต้องละทิ้งบ้านเรือนมาพักอาศัยชั่วคราว จากเหตุปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นี่เป็นบรรยากาศค่ำคืนแรกที่ประชาชนในเขต อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ต้องออกมาพักอาศัยนอกบ้านเรือน ตั้งแต่เกิดเหตุกัมพูชายิงจรวดเข้าใส่เขตพักอาศัยของพลเรือน ซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้ตลอดทั้งวัน อ.กันทรลักษ์ มีการอพยพประชาชนแล้วมากกว่า 41,000 คน กระจายไปตามจุดต่างๆ โดยจุดนี้เป็นจุดที่น่าจะมีผู้อพยพมากที่สุด เพราะใกล้แนวชายแดนที่อยู่ในระยะปลอดภัยมากที่สุด คือ ประมาณ 40 กิโลเมตร จากแนวชายแดน มีประชาชนเข้ามาพักอาศัย 4,865 คน และยังมีจุดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกระจายกันไป ผลจากสถานการณ์ตึงเครียดและพลเรือนตกเป็นเป้าของการโจมตี ทำให้หลายคนอยู่ในอาการเครียดและกังวล เจ้าหน้าที่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้กำลังใจเป็นระยะ รวมทั้งให้บริการยาและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นเบื้องต้น พร้อมกันนี้ได้ย้ำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้ฝากแจ้งประชาชนที่ยังลังเลไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากเป็นห่วงทรัพย์สินหรือสัตว์เลี้ยง ว่า ขณะนี้มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน ดูแลพื้นที่อย่างใกล้ชิดทุกหมู่บ้าน จึงขอให้ทุกคนให้ความร่วมมือ และออกมาจากพื้นที่เสี่ยงตามจุดนัดหมาย เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว. – สำนักข่าวไทย

น้ำท่วมน่านหนักสุดเป็นประวัติการณ์

น่าน 24 ก.ค. – ยังน่าห่วง น้ำท่วมเขตเศรษฐกิจและตัวเมืองน่าน หนักสุดเป็นประวัติการณ์ บางจุดท่วมสูงถึงชั้น 2 ของบ้าน ประชาชนติดอยู่ในบ้านกลางน้ำ ยิ่งค่ำยิ่งลำบาก .-สำนักข่าวไทย

ไทม์ไลน์เหตุปะทะเดือด “ไทย-กัมพูชา”

24 ก.ค. – ไล่เรียงไทม์ไลน์เหตุปะทะเดือดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ที่เกิดขึ้นในวันนี้ (24 ก.ค.) มีที่มาที่ไปอย่างไร พลันที่ชุดลาดตระเวน กองพันทหารราบที่ 14 เหยียบกับระเบิดที่ช่องอานม้า จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเย็นวานนี้ (23 ก.ค.) ทำให้ทหาร 1 นาย บาดเจ็บสาหัสขาขาด อีก 4 นาย บาดเจ็บ ซ้ำรอยเหตุทหารไทยเหยียบกับระเบิดจนขาขาดในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ ทำให้สถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ตึงเครียดถึงขีดสุด พล.ท.บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 ยกระดับมาตรการตอบโต้สั่งปิดด่าน 4 แห่ง คือ ช่องอานม้า, ช่องสะงำ, ช่องจอม และช่องสายตะกู พร้อมปิดสถานที่ท่องเที่ยว 2 แห่ง คือ ปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควายทันที 07.35 น. วันนี้ (24 ก.ค.) ความรุนแรงเริ่มชัดเจนขึ้น เมื่อทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ดูแลพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม รายงานว่าได้ยินเสียงอากาศยานไร้คนขับ […]

ไม่พลาดเป้า! เอฟ-16 ทิ้งบอมบ์รอบ 2 กลับฐานปลอดภัย

24 ก.ค.- ทอ.เปิดปฏิบัติการ ส่งเอฟ-16 ทิ้งบอมบ์ฝั่งกัมพูชาไม่พลาดเป้า กลับฐานแล้วอย่างปลอดภัย เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 24 ก.ค.68 กองทัพอากาศ เปิดปฏิบัติการ ส่ง F-16 รอบ 2 ของวันนี้ 4 เครื่อง ในการโจมตีทางอากาศตอบโต้กองทัพกัมพูชา ในจุดสำคัญ ทางทิศใต้ของปราสาทตาเมือนธม ไม่พลาดเป้า โดยล่าสุด 17.00 น. F-16 ทั้ง 4 เครื่อง กลับฐานบิน ปลอดภัย หลังสนับสนุน เปิดปฏิบัติการ “ยุทธบดินทร์” -สำนักข่าวไทย