fbpx

“ปตท.” มุ่งสร้างสมดุลเศรษฐกิจ-สิ่งแวดล้อม

27 พ.ค. – “ปตท.” มุ่งสร้างสมดุลเศรษฐกิจ-สิ่งแวดล้อม เพื่อสร้าง Ecosystem ที่แข็งแรง และเติบโตในระดับโลกไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ชี้รัฐต้องปลดล็อกกฏหมายเพื่อผลักดัน โครงการ CCU ให้สำเร็จ


ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าว ในงานสัมมนา
EARTH JUMP 2024 THE EDGE OF ACTION เจาะลึกครบทุกมิติ ก้าวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ในหัวข้อ NDC Target & A way to win ว่า ปตท. มีมุ่งให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืนในที่นี้ไม่ใช่แค่สิ่งแวดล้อมอย่างเดียว แต่หมายถึงความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ที่สามารถแข่งขันได้ ซึ่ง ปตท.ตั้งเป้าแข็งแรงร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลก ซึ่งความแข็งแรงต้องยั่งยืนในระยะยาวไปด้วยกันทั้งหมด เราหลีกเลี่ยงไม่ได้กับการอยู่ในสังคมที่มีการแข่งขันในระดับโลก ไม่ว่าจะมองว่าเป็นเรื่องช่วยสิ่งแวดล้อม หรือมาตรการกีดกันทางการค้า ซึ่งต้องอยู่ในกติกาที่สามารถแข่งขันได้ และต้องบาลานซ์ ดังนั้น ปตท. ในฐานะองค์กรใหญ่จึงไม่ได้ช่วยเฉพาะตัวเองเท่านั้น มีหน้าที่สร้าง Ecosystem โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้เราร่วมกัน decarbonization ได้ ถ้าดูบริบทของแต่ละธุรกิจไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ SME ธนาคาร ต้องปรับตัวลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ซึ่ง ปตท.กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2050 เร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ ด้วย 3 แนวทาง คือ 1.การปรับพอร์ตธุรกิจให้คาร์บอนไดออกไซด์ต่ำลง เพิ่มสัดส่วนการลงทุนโดยมุ่งธุรกิจพลังงานสะอาด

  1. การเพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ และ 3.การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการให้ได้สูงสุด ผ่านโครงการสำคัญ เช่น การดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage : CCS) ประเทศไทยโชคดีกว่าหลายหลายประเทศเพราะว่ามี หลุมก๊าซธรรมชาติเก่าที่ขุดก๊าซออกมาหมดแล้ว ซึ่งจะสามารถดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปกักเก็บไว้ได้ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องของ ปตท.เพียงคนเดียว เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันทุกภาคส่วน เพราะทุกองค์กรไม่สามารถทำ carbon captuer ด้วยตนเองได้เพราะมีต้นทุนสูงมาก ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่เศรษฐกิจจะรองรับ มีหลายองคาพยบที่ต้องร่วมกัน ทั้งภาครัฐ เอกชน และยังมีเรื่องของกฎหมาย ต้องมีการร่วมมือกันที่จะทำให้โครงสร้างพื้นฐานเกิดขึ้นได้ ปตท.ซึ่งเป็นองค์กรที่จะต้องเก็บคาร์บอนของตัวเองอยู่แล้ว ในฐานะองค์กรที่มีความสามารถ ก็ต้องช่วยสร้าง Ecosystem ที่จะทำให้สามารถจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ไม่ใช่เฉพาะปตท.เท่านั้นอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศไทย ก็สามารถมาใช้กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้เช่นกัน

“แต่เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ ต้องร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน และที่สำคัญต้องปลดล็อกกฏหมายของหลายๆกระทรวงเพราะเป็นเรื่องใหม่ เทคโนโลยีใหม่ ที่ต้นทุนสูงและต้องใช้เวลา แต่ทั้งนี้ก็เป็นสิ่งที่ ปตท.ต้องร่วมกับภาครัฐและเอกชนทำให้สำเร็จ เพราะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การจะใช้พลังงานสะอาดทั้งหมดมีต้นทุนสูง จึงต้องใช้หลาย ๆ อย่างร่วมกัน ทั้งการกักเก็บคาร์บอน การปลูกต้นไม้ ซึ่งที่สำคัญต้องเกิดความสมดุล” นายคงกระพันธ์ กล่าว. -517-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้