ความเชื่อมั่นผู้บริโภค เม.ย.67 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

กรุงเทพฯ 15 พ.ค.-ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภค เม.ย.67 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สะท้อนถึงความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมที่ยังคงฟื้นตัวช้าประกอบกับค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง และกังวลใจค่าแรงปรับขึ้น 400 บาททั่วประเทศอาจทำให้ราคาสินค้าปรับขึ้นตาม 


นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจเปิดเผยว่าศูนย์พยากรณ์ฯได้เผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) ประจำเดือนเมษายน 2567 อยู่ที่ระดับ 62.1 จาก 63.0 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากผู้บริโภค เริ่มกลับมากังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวช้า ประกอบกับราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันเบนซิน และกระแสข่าวการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อค่าครองชีพ รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยและทั่วโลก ตลอดจนสงครามรัสเซียยูเครน กับ อิสราเอลและฮามาส ที่ยังส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบ ต่อกำลังซื้อ ต่อการท่องเที่ยว การส่งออก และการจ้างงานในอนาคต 

ขณะที่ ความคิดเห็นของภาคธุรกิจ จากสมาชิกหอการค้าไทยทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ในเดือนเมษายน 2567 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 อยู่ที่ระดับ 55.3 แต่เป็นการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยจากระดับ 55.2 ในเดือนมีนาคม โดยความเชื่อมั่นถือว่า ดีขึ้นเกินกว่าค่ากลางระดับ 50 ในทุกภูมิภาค รวมทั้งตัวชี้วัดทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจโดยรวม การบริโภค การลงทุน ภาคท่องเที่ยว ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม  ภาคการค้า การค้าชายแดน และภาคบริการ รวมถึงการจ้างงาน ปรับตัวดีขึ้น แต่เป็นการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพียง 0.1-0.3% 


ทั้งนี้ ถือความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ยังคงทรงตัว เนื่องจากยังมีปัจจัยลบที่สำคัญจากต้นทุนทางการเงิน และต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความกังวลปริมาณน้ำในเขื่อน เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค ที่อาจจะไม่เพียงพอ ขณะที่ในภาคเหนือ ที่เจอผลกระทบ จากฝุ่น PM 2.5 และที่สำคัญ ผู้ประกอบการทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในภาคใต้ มีความกังวลถึงเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนภาคบริการที่สูงแล้วให้สูงขึ้นอีก รวมถึงต้นทุนการผลิตสินค้าด้วย

โดยผู้ประกอบการ มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ให้เร่งบริหารจัดการน้ำให้มีใช้เพียงพอกับภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และภาคครัวเรือนรวมทั้งหาแนวทางการแก้ไขปัญหา หรือ มาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ หากมีการค่าแรงขั้นต่ำตามที่รัฐบาลประกาศจริง และต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจคู่ขนานกันไปด้วย ไปจนถึงการดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทให้เหมาะสมกับการค้าการลงทุน โดยภาคเอกชน มองปีนี้ เศรษฐกิจกลับมาฟื้นจากสถานการณ์โควิดที่เคยติดลบถึง 6.1% แต่น่าจะฟื้นตัวได้แบบอ่อนๆ และเริ่มมีความลังเล จากภาวะต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งค่าไฟ ราคาพลังงาน และที่สำคัญ คือ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ  ที่เอกชน ออกมาเสนอให้ขึ้นตามความเหมาะสมของแต่ละจังหวัด และรายอุตสาหกรรม ตามหลักการสากล ซึ่งหากภาครัฐ มีการปรับขึ้นค่าแรงตามที่ประกาศไว้จริง ก็ต้องมีมาตรการเยียวยาที่ชัดเจน เพราะเงินที่ใช้ในส่วนนี้เป็นของเอกชน 100% เต็ม

ขณะที่ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งมีสัญญาณของการปรับตัวไม่โดดเด่น ปัจจัยหลักจะมาจากราคาพลังงาน มีผลต่อเนื่องกับค่าครองชีพรวมทั้งยังมีข่าวการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทมาเป็นปัจจัยบั่นทอนเพิ่มเติม และเสถียรภาพทางการเมืองที่ยังไม่นิ่ง หลังมีการทยอยลาออกของรัฐมนตรี ที่สำคัญคือเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้น แต่ยังเชื่อว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคหลังจากนี้ จะดีขึ้นได้ จากนโยบายการคลังของรัฐบาล ทั้งงบลงทุน การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ดังนั้นหากเม็ดเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจได้ ภายในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม อย่างน้อยเดือนละ 50,000 ล้านบาท เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ 


อย่างไรก็ตาม โดยทางศูนย์ฯคาดว่า เศรษฐกิจจะมีสัญญาณดีขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จากเม็ดเงินภาครัฐ ทั้งการจัดซื้อจัดจ้าง ภาคการเกษตรดีขึ้น จากฝนที่เริ่มตก บรรเทาสถานการณ์ภัยแล้ง คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะโต 2.6%  ซึ่งต้องรอนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต ที่จะมีผลให้เศรษฐกิจไทยกระเตื้องขึ้น เพราะยังต้องรอความชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการใช้เงิน รวมถึงความชัดเจนของการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศตั้งแต่เดือนตุลาคมด้วย เพราะจะมีผลให้ผู้ประกอบการ จะขึ้นราคาสินค้าและบริการ

นอกจากนี้ จากการคำนวณมีกลุ่มแรงงานที่ได้รับประโยชน์จากขึ้นค่าแรง 400 บาทประมาณ 7 ล้านคน และเฉลี่ยค่าแรงขั้นต่ำขณะนี้อยู่ที่ 360 บาท จะมีเงินเพิ่มเฉลี่ยเดือนละ 3,600 ล้านบาท รวมในไตรมาสสุดท้าย จะมีเงินเพิ่มประมาณ 10,000 ล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ได้ 0.3-0.4% แต่ส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจของทั้งปีเพียง 0.05% เท่านั้น แต่ในทางกลับกันหากผู้ประกอบการผลักภาระไปยังราคาสินค้า จากการประเมินคาดว่า ราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้น 10-15% กระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะกำลังแรงงานทั่วประเทศที่ 38 ล้านคน ซึ่งไม่ได้รับประโยชน์ตรงนี้ทุกคน กระทบต่อการบริโภคหดตัวลง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก คาดว่าจะฉุดเศรษฐกิจปีนี้ ให้หดตัวจากที่ควรจะเป็น ประมาณ 0.1-0.2% เป็นต้น .-514-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF อวดผ้าไทยสู่สายตาโลก

นายกฯ สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ จากภาคใต้ ร่วมประชุม WEF อวดผ้าไทยสู่สายตาโลก หารือผู้นำและภาคเอกชนชั้นนำของโลก

กทม.จำกัดพื้นที่ชั้นใน ห้ามรถบรรทุกวิ่ง เริ่มคืนนี้!

ผู้ว่าฯ กทม. ติดตามสถานการณ์ฝุ่น กทม. คาดสุดสัปดาห์ระบายอากาศดีขึ้น พร้อมจำกัดพื้นที่ชั้นใน ห้ามวิ่งรถบรรทุก เริ่มคืนนี้! ย้ำประชาชนช่วยสอดส่องการลอบเผา ต้นเหตุฝุ่น PM 2.5

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อ ขอให้ติดคุกจริง

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่น

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่นคนอายุ 60+ ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ว

“จิรายุ” ย้ำเงินหมื่นเฟส 2 มอบคนอายุ 60+ รัฐบาลพร้อมโอนไม่มีเปลี่ยนแปลงแล้ว วันจันทร์ที่ 27 ม.ค.นี้ แน่นอน สามารถตรวจสอบสิทธิ์ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ววันนี้ ส่วนคนไม่มีสมาร์ทโฟน ฝากลูกหลานช่วยด้วย