ไทยควรมีกฎหมายคุม “อินฟลูเอนเซอร์” หรือไม่

5 มี.ค. – สภาพัฒน์ฯ จี้ออกกฎหมายคุม “อินฟลูเอนเซอร์” อวดรวยเร่งคนก่อหนี้ ชวนเล่นพนัน ปล่อยข่าวปลอม วันนี้สำนักข่าวไทยจะพาไปฟังมุมมองของฝั่งอินฟลูเอนเซอร์ และสภาองค์กรของผู้บริโภค ว่ามีความคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร


Influencer เป็นหนึ่งในอาชีพไฝ่ฝันของเด็กรุ่นใหม่ เนื่องจากสร้างรายได้ค่อนข้างสูง ทั้งจากการโฆษณาสินค้า รีวิวสินค้า แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Celebrity กลุ่มนี้มีผู้ติดตามมากที่สุด ตั้งแต่ 100,000-1,000,000 คน Key Opinion Leaders (KOL) คือผู้ที่มีความสนใจหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน Micro Influencer สร้างสรรค์คอนเทนต์ในเรื่องทั่วๆ ไป ไลฟ์สไตล์ กิน เที่ยว รวมไปถึงรีวิวสินค้า และ Nano Influencer มักเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเฉพาะ มีฐานผู้ติดตามเหนียวแน่น สามารถโน้มน้าวใจได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันประเทศไทยมี Influencer กว่า 2 ล้านคน มากเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน การขยายตัวของ Influencer ส่วนหนึ่งมาจากการเป็นช่องทางสร้างรายได้ตั้งแต่หลักร้อย ไปจนถึงหลักแสนต่อโพสต์ จึงมีการแข่งขันผลิต Content และให้ความสำคัญกับ Engagement บางรายสร้าง Content ให้เป็นกระแสโดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้อง ซึ่งอาจสร้างผลกระทบต่อสังคม เช่น การเผยแพร่ข่าวปลอม คอนเทนต์อวดรวย รวมถึงชวนเล่นการพนัน สภาพัฒน์ฯ จึงอยากให้มีกฎหมายควบคุม เช่นเดียวกับในต่างประเทศ เช่น จีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นอร์เวย์ และอังกฤษ

คนในแวดวง Influencer มองว่าการออกกฎหมายควบคุมอาจทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของเหล่า Influencer หล่นหายไป จึงเสนอให้มีการควบคุมกันเอง เช่น ตั้งเป็นสมาคม หรือการมีหน่วยงานในกำกับของรัฐ อย่าง กสทช. เข้ามาดูแล รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยี ทักษะการคิดวิเคราะห์แก่ผู้รับสาร เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในโลกออนไลน์


เช่นเดียวกับสภาองค์กรของผู้บริโภค ที่มองว่ารัฐควรสนับสนุนการกำกับดูแลกันเอง ยกร่างจรรยาบรรณขั้นพื้นฐานแก่ Influencer แต่หากไม่ได้ผลควรมีกฎหมายเข้ามากำกับ พร้อมแนะแพลตฟอร์มขึ้นทะเบียน Influencer เพราะต้องร่วมรับผิดชอบกรณีมีการกระทำไม่เหมาะสม ไม่ใช่สร้างภาระให้ผู้บริโภค

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Influencer เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลกับคนหมู่มากบนโซเชียลมีเดีย ยิ่งมีผู้ติดตามมากยิ่งมีอิทธิพลมาก มีส่วนชี้นำสังคม นับเป็นดาบสองคมซึ่งเห็นชัดในภาวะปัจจุบัน ดังนั้น ไม่ว่าจะมีกฎหมายมาดูแลหรือไม่ แต่การควบคุมจริยธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร