สำนักวิจัย CIMB Thai ห่วง อย่าให้สงครามค่าเงินเป็นคำตอบ

กรุงเทพฯ 21 ก.พ.-สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยระบุอย่าให้สงครามค่าเงินเป็นคำตอบ โดยดอกเบี้ยไม่ใช่ยารักษาทุกโรค หากหวังพึ่งพาดอกเบี้ยนโยบาย การลดดอกเบี้ยเพียง 0.25 หรือ 0.50% ไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องลดลงถึง 1.25% จึงจะมากพอ ควรหามาตรการอื่นๆเสริมให้เศรษฐกิจกลับมาดีขึ้นด้วย


ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า นับเป็นประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจที่น่าติดตาม ระหว่างรัฐบาลที่คาดหวังการลดดอกเบี้ยเพื่อพยุงเศรษฐกิจกับแบงก์ชาติที่ยังตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ความขัดแย้งด้านทิศทางดอกเบี้ยมีส่วนกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ โดยในช่วงสัปดาห์การประชุมกนง. เงินบาทอ่อนค่าที่สุดในภูมิภาค และโดยเฉพาะหลังตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2566 ขยายตัวต่ำจากปีก่อนหน้า และหดตัวเทียบไตรมาสก่อนหน้า โดยแรงกดดันในการลดดอกเบี้ยในวันที่ 10 เมษายนนี้ มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ดอกเบี้ยไม่ใช่ยารักษาทุกโรค หากหวังพึ่งพาดอกเบี้ยนโยบาย การลดดอกเบี้ยเพียง 0.25 หรือ 0.50% ไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องลดลงถึง 1.25% จึงจะมากพอ ซึ่งเป็นการปรับลดในระดับวิกฤติการเงิน และเป็นระดับเดียวกับก่อนเกิดวิกฤติโควิด ผลข้างเคียงของการลดดอกเบี้ยเช่นนี้ จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า และอาจเป็นการประกาศสงครามค่าเงินกับเพื่อนบ้าน เพราะบาทที่อ่อนจะแย่งชิงความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง และอาจลามเป็นการอ่อนค่าของค่าเงินในภูมิภาคได้ในภายหลัง


“ผมมองว่า หนทางแก้เกมที่ดีที่สุด คือ ประสานนโยบายการเงินและการคลัง ตอนนี้เหมือนเรากำลังดูทีมฟุตบอลที่กองหน้าเขี่ยบอลให้กองหลังวิ่งขึ้นมาทำประตู อาจเพราะมีผู้เล่นบาดเจ็บ (งบประมาณยังไม่ออกจนเดือนพฤษภาคม) แต่กองหลังก็ไม่ขยับมาเล่นกองกลาง ยังเตะบอลให้กองหน้า เพราะห่วงรักษาประตู (เน้นดูแลเสถียรภาพของตลาดเงินและเศรษฐกิจ) คนดูก็เชียร์กันไปคนละข้าง เศรษฐกิจไทยก็ยากที่จะเดินหน้าได้ คงต้องหาทางแก้เกมกันว่าจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อประสานผู้เล่นในทีมนี้” ดร. อมรเทพ กล่าว

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถ้อยแถลงและการสื่อสารของคณะกรรมการนโยบายการเงิน จะพบหลากหลายปัจจัยที่บ่งบอกว่าทำไมยังไม่ถึงเวลาลดอัตราดอกเบี้ย ผมลองตีความได้สามปัจจัยดังนี้ คือ 1. เศรษฐกิจไทยเติบโตช้า มาจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่ได้มาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป ปัญหาเชิงโครงสร้างมาจากการขาดความเชื่อมโยงของภาคการผลิตไทยในห่วงโซ่อุปทานโลก การส่งออกขยายตัวต่ำแม้อุปสงค์ตลาดโลกกำลังฟื้นตัวได้ดี การขาดความสามารถในการแข่งขันหรือขาดสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก ยกตัวอย่าง ไทยเป็นแหล่งผลิต Hard Disk Drive (HDD) แต่โลกกำลังเปลี่ยนไปใช้ Solid State Drive (SSD) หรือ การนำเข้าสินค้าจากจีนทำให้ SME ไทยต้องทยอยปิดกิจการไป ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐก็น้อยและล่าช้า กระทบเศรษฐกิจไทยช่วงที่ผ่านมา

2. อัตราเงินเฟ้อต่ำ ไม่ได้มาจากอุปสงค์ที่อ่อนแอ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการภาครัฐ ที่ส่งผลต่อราคาพลังงานในประเทศปรับลดลง แต่เป็นการบรรเทาปัญหาชั่วคราว และไม่ได้มาจากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ (อันนี้ผมเห็นต่าง ผมว่ามีส่วนบ้างที่อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอทำให้การปรับราคาขึ้นทำได้ยาก) ทางแบงก์ชาติยังย้ำว่าระดับราคาสินค้าและบริการที่ปรับลดลงมาแต่ยังสูงเมื่อเทียบช่วงก่อนโควิด และมองว่าหากอุปสงค์ในประเทศยังดี การใช้นโยบายการเงินมากระตุ้นก็อาจไม่ตรงจุด น่าไปแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างภาคการผลิตและการส่งออกมากกว่า


3. ผลข้างเคียงจากการลดดอกเบี้ยที่เร็วเกินไป การลดดอกเบี้ยช่วงที่อุปสงค์ในประเทศยังแข็งแรง การบริโภคยังเติบโตได้ อาจส่งผลข้างเคียงให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวขึ้นมารวดเร็วช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ปรับเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ส่งผลเสียต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว การคงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน เพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย หรือเก็บ policy space ไว้ใช้ยามจำเป็น 

อย่างไรก็ตาม ดังนั้น ดอกเบี้ยไม่ใช่ยารักษาทุกโรคต่อให้ลดดอกเบี้ยลง ก็ทำได้เพียงพยุงเศรษฐกิจ ไม่ได้กระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเหนือ 4% และการลดดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.25-0.50% ก็ไม่ช่วยลดรายจ่ายด้านดอกเบี้ยลงอย่างมีนัยะสำคัญ อาจพอลดความตึงเครียดได้บ้าง สร้างแรงจูงใจให้คนมาใช้จ่ายและลงทุนได้มากขึ้น แต่การส่งผ่านของการลดอัตราดอกเบี้ยต่อเศรษฐกิจจริงอาจใช้เวลาถึง 6 เดือน โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่อ่อนแอและปราศจากมาตรการทางการคลังในการสนับสนุนเช่นนี้ คงต้องอาศัยการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสร้างความเชื่อมั่น เสริมสภาพคล่อง และกดดันเงินบาทให้อ่อนค่า แต่ก็หวังว่า แบงก์ชาติยังมีหนทางอื่นในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการทางการเงินอื่นๆ มาเสริมได้อีก เช่น การลดข้อจำกัดในการปล่อยสินเชื่อ ลดวงเงิน LTV และยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้สำหรับลูกหนี้ที่มีปัญหา อย่างไรก็ดี มาตรการเหล่านี้ก็ทำได้เพียงประคองเศรษฐกิจให้มีความหวังว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้เหนือระดับ 2% แต่จะกระตุ้นให้ถึง 3% ได้หรือไม่ก็คงต้องรอดูมาตรการต่างๆ จากรัฐบาลอีกที.-511-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ได้เบาะแสเพิ่ม โจร 30 วิ ล็อกเป้าชิงทอง 1.6 ล้าน

เหตุคนร้ายสวมชุดไรเดอร์ควงปืนปลอม ชิงทองมูลค่า 1.6 ล้าน กลางห้างอุดรฯ ชุดสืบยังเร่งแกะรอยล่า ยืนยันได้วงจรปิดเส้นทางมาชิงทองและเส้นทางหนีแล้ว มั่นใจคนร้ายล็อกเป้ามาชิงทองร้านนี้ร้านเดียว

สส.ปชน.โต้ “ทักษิณ” ปราศรัยหยาบคาย-ดูถูก

สส.เหนือ พรรคประชาชน โต้ “ทักษิณ” หลังซัด “เท้ง” สึ่งตึง “พุธิตา” ย้อน ตลกดี เป็นถึงผู้หลักผู้ใหญ่ ปราศรัยหยาบคาย-ดูถูก ลั่นดิสเครดิตแบบนี้ไม่ได้อะไร ไล่ไปทำหน้าที่รัฐบาลให้ดี เห็นมากี่ทีขอ สส.คืน

“ชัยธวัช” น้อมรับ ปชน.พ่ายเลือกตั้งซ่อมนครศรีฯ เขต 8

“ชัยธวัช” น้อมรับ ปชน.พ่ายเลือกตั้งซ่อม สส.นครศรีฯ เขต 8 หลัง “กล้าธรรม” ชิงประกาศชัยชนะ ผิดหวังภาคใต้ซื้อเสียงโจ๋งครึ่ม หวังประชาชนยังเทใจให้ชนะเลือกตั้งทั่วไป

ข่าวแนะนำ

รื้อซากตึกสตง.

รื้อซาก สตง.ถึงชั้นใต้ดินแล้วบางส่วน-พบผู้สูญหายอีก 1 ร่าง

เจ้าหน้าที่ลดความสูงซากตึก สตง. ถึงชั้น 1 แล้ว และลงไปถึงชั้นใต้ดินได้บางส่วน โดยวันนี้จะเสริมรถหัวเจาะกระแทกเข้ามาเพิ่ม ขณะที่เมื่อคืนพบร่างผู้สูญหายอีก 1 ร่าง ยืนยันจะทำงานให้เร็วที่สุด เพื่อคืนร่างผู้สูญหายทั้งหมดให้ญาติ

นายกฯ ขันนอตกระทรวง-หน่วยงาน เร่งเดินโครงการบริหารจัดการน้ำ

นายกฯ ขันน็อตกระทรวง-หน่วยงาน เร่งเดินโครงการบริหารจัดการน้ำ ตั้งคำถามเบิกงบฯ แก้น้ำท่วมตั้งแต่ปี 63 สร้างคืบแค่ 5% บอกน้อยมาก พร้อมแจ้ง ครม.รับทราบแผนถก JCR ไทย-กัมพูชา ก.ค.นี้ หวังสางปมคอลเซ็นเตอร์-ยาเสพติด เล็งจับมืออาเซียนดึงจุดแข็งแต่ละประเทศ เจรจากำแพงภาษีสหรัฐ

เรียกสอบวิศวกรตึกถล่ม

เริ่มแล้ว! ดีเอสไอ เรียกสอบชุดแรก 10 วิศวกร ตัวแทนอิตาเลียนไทย

เริ่มแล้ว! พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ เรียก 10 วิศวกร และตัวแทนจาก บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เข้าให้ปากคำชุดแรก คดีตึก สตง.หลังใหม่ถล่ม

people at Saint Peter's Square

ประชุมลับเลือกโป๊ปองค์ใหม่ 7 พ.ค.

สำนักวาติกัน 29 เม.ย.- ที่ประชุมพระคาร์ดินัลกำหนดให้วันที่ 7 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มต้นการประชุมลับในการเลือกสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ใหม่ หรือที่เรียกว่า คอนเคลฟ (conclave) เมื่อวานนี้ พระคาร์ดินัลจากทั่วโลกประชุมกันที่โบสถ์น้อยซิสทีน ในพระราชวังพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่สมัยคริสต์ทศวรรษที่ 16 ภายในนครรัฐวาติกัน โดยปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชม เป็นการประชุมครั้งแรกหลังพิธีฝังพระศพสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส เพื่อหารือเรื่องกำหนดวันประชุมลับในการเลือกสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ใหม่ หรือที่เรียกว่า คอนเคลฟ (conclave) ที่ประชุมตกลงให้วันที่ 7 พฤษภาคมเป็นวันเริ่มต้นการประชุมลับเพื่อเลือกโป๊ปองค์ต่อไป ตามปกติแล้ว คอนเคลฟจะเกิดขึ้นหลังจากผ่านพ้นวันสิ้นพระชนม์ 15-20 วัน จึงจะไม่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 6 พ.ค. สำหรับคอนเคลฟ 2 ครั้งที่ผ่านมา คือ ปี 2548 และ 2556 กินเวลา 2 วัน ส่วนค่าเฉลี่ยของคอนเคลฟ 10 ครั้งหลังสุดคือ 3 วัน โดยในคอนเคลฟครั้งนี้ จะมีในพระคาร์ดินัล 135 รูปที่มีอายุต่ำกว่า 80 ปี จะได้ร่วมประชุมลับและลงคะแนน […]