สัมมนา “THAILAND ENERGY EXECUTIVE FORUM” เดินหน้าพลังงานสะอาด

กรุงเทพฯ 14 ก.พ.-เวทีสัมมนา “THAILAND ENERGY EXECUTIVE FORUM” ปลัดพลังงานย้ำเดินหน้าแหล่งผลิตพลังงานในประเทศ ส่งเสริมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ด้าน ส.อ.ท.ชี้แม้เป้าหมาย Net Zero ไทยช้ากว่าทั่วโลก แต่ต้องทำได้จริง ขณะที่ ปตท. ประเมินราคาน้ำมันปีนี้ 75-80 เหรียญ/บาร์เรล ก๊าซธรรมชาติ 7-12 เหรียญ/ล้านบีทียู

สมาคมวิทยาการพลังงาน ร่วมกับสถาบันวิทยาการพลังงาน จัดงานสัมมนาด้านพลังงานประจำปี ระดับประเทศ “THAILAND ENERGY EXECUTIVE FORUM” โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ขึ้นเป็นประธานในการเปิดงาน และกล่าวปาฐกถากิตติมศักดิ์ในหัวข้อ “จุดเปลี่ยนพลังงานไทยสู่ความยั่งยืน” จากนั้นเป็นการเสวนาแนวทางบริหารจัดการพลังงานของประเทศ


นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานมีภารกิจในการจัดหาพลังงานพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยในปี 2567 กระทรวงพลังงานมุ่งเน้นการผลิตแหล่งพลังงานในประเทศที่สามารถควบคุมและกำกับการผลิตตามแผนได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง G1/61 ที่ต้องการเร่งการผลิตให้กลับมาในระดับ 800 MMscfd ภายในวันที่ 1 เม.ย.2567 เปิดให้ยื่นขอสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับการสำรวจบนบกครั้งที่ 25 รวมถึงแสวงหาก๊าซฯ เพิ่มจากแหล่งความร่วมมือระหว่างประเทศ และมุ่งเน้นให้มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับที่นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาว่าทั่วโลกกำลังถามหาพลังงานงานสะอาด กระทรวงพลังงานยังมีการขับเคลื่อนของเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่วนใหญ่หรือมากกว่า 70% มาจากการผลิตไฟฟ้าและการขนส่งเป็นหลัก

ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำ แผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) โดยยึดหลักสำคัญคือสร้างประโยชน์ให้กับประชาชน เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ และขับเคลื่อนภาคพลังงานไทย ให้มีทิศทางสอดคล้องกับทิศทางโลก โดยมีจุดประสงค์ดังนี้
1.สนับสนุนประเทศไทยร่วมสู่การใช้และการผลิตพลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประหยัดพลังงาน เพื่อให้คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050
2.สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มศักยภาพการลงทุนของ ผู้ประกอบการไทยให้สามารถปรับตัวเข้าสู่การลงทุนในประเทศที่มีคาร์บอนต่ำตามทิศทางโลก
3.ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศในระยะยาว (LT-LEDS)


ด้านคุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการเตรียมพร้อมของบริษัทพลังงานภายใต้การเปลี่ยนพลังงานอย่างยั่งยืน โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลังงานในช่สวงที่ผ่านมา ได้แก่ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภาพวะเงินเฟ้อ และสภาพภูมิอากาศแปรปรวน สิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูดที่น่าสนใจคือการประชุม World Economic Forum ที่ดาวอส ที่มีผู้นำภาครัฐบาลและเศรษฐกิจ ซึ่งมีการสำรวจความคิดเห็นถึงการจัดอันดับความเสี่ยงในระยะสั้นและระยะยาวที่ทั่วโลกต้องเผชิญ โดยปัจจัยความเสี่ยงในระยะสั้น ภายใน 2 ปี ผู้นำส่วนใหญ่กังวล 3 อันดับแรก คือ เรื่องการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร สิ่งแวดล้อม และภูมิรัฐศาสตร์ ส่วนปัจจัยความเสี่ยงระยะยาว 10 ปี กังวลเรื่อง สภาวะภูมิอากาศ ระบบสิ่งแวดล้อมของโลก และอีโคซิสเต็ม จะเห็นว่าในระยาว ส่วนใหญ่กังวลเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น

สำหรับแนวโน้มการใช้พลังงาน พบว่าราคาก๊าซธรรมชาติเหลวในตลาดโลกมีความผันผวนมากขึ้น เช่นเดียวกับราคาน้ำมันโลก ผันผวนเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับ 80 เหรียญ โดยปี 2567 ประเมินราคาน้ำมันอยู๋ที่ 75-80 เหรียญ /บาร์เรล ความต้องการใช้ 103 ล้าน บาร์เรล/วัน โดยแหล่งผลิตไม่ขาดแคลน ส่วนก๊าซธรรมชาติประเมิน 7-12 เหรียญ /ล้านบีทียู ถือเป็นข่าวดีสำหรับภาคธุรกิจและภาคประชาชน แต่ยังต้องติดตามว่าจะมีปัจจัยมากระทบหรือไม่ อาทิ เศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนผ่านพลังงาน ภัยธรรมชาติ เป็นต้น

ขณะที่ในไทย ยังมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และยังต้องนำเข้าพลังงานทุกรูปแบบ ซึ่ง ปตท. เอง ได้มีการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทยมาโดยตลอด พร้อมวางเครืข่ายและระบบโลจิสติกส์ เพื่อจัดส่งครอบคลุมทั่วประเทศ


ทั้งนี้มองว่าประเทศไทยต้องเร่งสร้างอุตสาหกรรมใหม่ให้เกิดเป็นรูปธรรม อุตสาหกรรม New S-curve 12 อุตสาหกรรมที่ภาคอุตสาหกรรมต้องขับเคลื่อน และรัฐบาลเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน รวมไปถึง ปตท ด้วยเช่นกัน ที่มีการปรับวิสัยทัศน์ใหม่ ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต มุ่งสู่ธุรกิจพลังงานสะอาด ระบบกักเก็บพลังงาน และยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร รุกธุรกิจใหม่ ที่ไกลกว่าพลังงาน ผลักดันอุตสาหกรรมใหม่และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย ส่วนโลจิสติกส์ถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เช่นกัน ส่วนเรื่องสิ่งแวดล้อมย ปตท กำหนดเห้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050 เร็วกว่าเป้าหมายประเทศไทยที่ประกาศในปี 2065

ขณะที่นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมของภาคเอกชนเพื่อรองรับทิศทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมภายใต้การเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน ท่ามกลางความท้าทายของโลกที่เรากำลังเผชิญ มองว่าปีนี้เป็นเกมของสิ่งแวดล้อม ขณะที่เศรษฐกิจโลกทยอยฟื้นตัวภายใต้ความผันผวน โดย เวิร์ล์แบงก์ คาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจโลก ปี 2567 ปรับลดเหลือ 2.4% จะทยอยกลับมาขยายตัวเพิ่มที่ 2.7% ในปี 2568 เศราฐกิจประเทศหลักอาจชะลอลง จากนโยบายการเงินที่ตึงตัว การค้าและการลงทุนยังคงมีความไม่แน่นอน และความเสี่ยงทางภูมัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความขัดแย้งมที่อาจลุกลามจนส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานโลก ส่วน WTO ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตการค้าทั่วโลกในปี 2566 เหลือ 0.8๔ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 1.7% ตามภาคการผลิตโลกที่ชะลอตัว หวั่นปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และปัญหาการกีดกันทางการค้า ที่เพิ่มขึ้น สวนทางกับไอเอ็มเอฟ ที่มองเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพิ่มจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจคาดการณ์เติบโต 4.4% จากคาดการณ์เดิม 3.2% ถือเป็นข่าวดี โดยมีปัจจัยจากมาตรการกระตุ้นทางการคลังเป็นหลัก

สำหรับเป้าหมาย Net Zero ของไทย มองว่าอาจจะเป็นเป้าหมายที่อาจถึงช้ากว่า แต่ต้องทำได้จริง ส่วนใหญ่หลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจ เป้าหมาย Net Zero ในปี2050 ยกเว้น จีนและอินโดนีเซีย เป้าหมาย Net Zero อยู่ที่ปี 2060 ส่วนของไทย เป้าหมาย Net Zero ปลายทางสุด ในปี 2065

สำหรับการเตรียมความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมเพื่อรับมือ Climate Change ทุกภาคส่วนเน้นเรื่องความยั่งยืน(Sustainability) พลังงานสะอาด (Green Energy) และ Net Zero
โดยในปี 2022 ที่ไทยจัดงาน APEC โดยใช้ธีม BCG และพูดถึง Sustainability มาตั้งแต่ตอนนั้น

ไทยยังเป็นประเทศที่พึ่งหาการส่งออก มากถึง 60% ประเทศส่งออกหลักคือ สหรัฐอเมริกา อียู จึงจำเป้นต้องเร่งปรับตัวเรื่องพลังงานสะอาด ทั้งนี้ ส.อ.ท.มีแนวทางการเตรียมตัวกับผู้ประกอบการของไทย ดังนี้
1.ฉลากคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ ของผลิตภัณฑ์ (CFP)
2.ฉลาดลดคาร์บอนฟุตพรินท์ (carbon footprint reduction)
3.โครงการนำร่องระบบซื้อขายสิทธิ์ในการปล่อยคาร์บอนด้วยความสมัครใจ (volunteer carbon market)

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าค่าไฟฟ้าของไทยสูงกว่าคู่แข่งในภูมิภาค ดังนั้น จึงต้องมีการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักร/อุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการประหยัดพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานพลังงาน, การนำ renewable energy มาใช้มากขึ้น เช่น การติดตั้งโซลาร์เซลล์ ไบโอแมส และไบโอแก๊ส, ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม การอบรมให้ความรู้และการเข้าถึงเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงาน, การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มาใช้ และส่งเสริมการจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านพลังงาน (Energy Database)

นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินโครงการส่งเสริมด้านอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม (energy point3) ที่จัดขึ้นเป็นรุ่นที่สามแล้ว และยังคงมีการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงโครงการสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและต้นทุนในอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี.-516.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทักษิณเหยียดผิว

“อังคณา” จี้ “ทักษิณ” ขอโทษ หลังปราศรัยเหยียดสีผิว-เชื้อชาติชาวแอฟริกัน

“อังคณา” จี้ “ทักษิณ” ขอโทษ หลังปราศรัยเหยียดสีผิว-เชื้อชาติชาวแอฟริกัน ชี้เสี่ยงทำประเทศไทยถูกนานาชาติตั้งคำถาม ขัดหลักการสิทธิมนุษยชน

ข่าวแนะนำ

พระราชพิธีสมมงคล

นายกฯ เชิญชวนประชาชนร่วมงาน “พระราชพิธีสมมงคล” 14 ม.ค.นี้

นายกฯ เชิญชวนประชาชนร่วมงาน “พระราชพิธีสมมงคล” 14 ม.ค.นี้ ทั่วประเทศ พร้อมเลื่อนประชุม ครม. สัปดาห์หน้า เป็นวันจันทร์ที่ 13 ม.ค. แทน

ซิงซิงดาราจีน

นายกฯ เผยเจอ “ซิงซิง” แล้ว ตำรวจภูธร​ภาค 6 รอรับอยู่ที่แม่สอด

นายกฯ เผยเจอ “ซิงซิง” นักแสดงจีนแล้ว ตำรวจภูธร​ภาค 6 รอรับอยู่ที่แม่สอด สั่ง “ดีอี” ดูข่าวลือ ไม่ให้กระทบภาพลักษณ์ไทย หลังโซเชียล​โหมกระแสเมืองไทยน่ากลัว พร้อมประสานทูตจีนเข้มข้น หลังคนจีนเข้ามาใช้พื้นที่ไทยก่อเหตุ รับฟังข้อเสนอฝ่ายค้านจัดโซนนิ่งฟรีวีซ่าจีน