กรมชลประทาน 1 ส.ค.-กรมชลประทานสรุปสถานการณ์น้ำท่วมในภาคอีสานหลายจังหวัดยังรอการแก้ไข
แม้จะมีการเร่งผลักดันน้ำแล้ว ชี้แจงเขื่อนลำปาวในจังหวัดกาฬสินธุ์ต้องปล่อยน้ำเพิ่มขึ้นทำให้
5 อำเภอได้รับผลกระทบ
ขณะที่จังหวัดเร่งเตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนแล้ว
ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำท่วมทั่วประเทศ
ว่า จังหวัดพะเยา น้ำท่วมขังที่ลุ่มต่ำนอกเขตชลประทาน ประมาณ 2,500 ไร่ บริเวณ ตำบลป่าซาง ตำบลห้วยลาน อำเภอดอกค่าใต้ และตำบลห้วยแก้ว
ตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว สำนักงานชลประทานที่ 2
ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือจำนวน 1 เครื่อง
จังหวัดสกลนคร น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานนิวาส อำเภอพรรณนานิคม
อำเภอวาริชภูมิ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 14 เครื่อง
และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำแล้ว 26 เครื่อง จังหวัดชัยภูมิ
พื้นที่น้ำท่วมลุ่มต่ำทางการเกษตรในเขตชลประทาน บริเวณอำเภอบำเหน็จณรงค์ ประมาณ 5,000 ไร่ อำเภอจัตุรัส น้ำท่วมสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร
สำนักงานชลประทานที่ 6 ติดตั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 2 เครื่อง
จังหวัดกาฬสินธุ์ พื้นที่น้ำท่วมในเขตชลประทาน โครงการฯ ลำปาว
ในอำเภอเมือง ยางตลาด กมลาไสย ฆ้องชัย และร่องคำ ประมาณ 59,900 ไร่
จังหวัดร้อยเอ็ด
น้ำท่วมขังนาข้าวนอกเขตชลประทานในพื้นที่ลุ่มต่ำที่ติดริมน้ำยัง 2,000 ไร่ นอกเขตชลประทาน 30,000
ไร่ บริเวณเขต อำเสลภูมิ จังหวัดขอนแก่น
น้ำท่วมพื้นที่ในเขตชลประทานในเขตอำเภอเมือง ประมาณ 6,965
ไร่ สำนักงานชลประทานที่ 6 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 16 เครื่อง จังหวัดมหาสารคาม น้ำท่วมในเขตชลประทานเมือง ในเขตอำเภอบรบือ
อำนาเชือก อำเมือง ประมาณ 34,515 ไร่
จังหวัดมุกดาหาร ท่วมขังพื้นที่นอกเขตชลประทาน
ริมอ่างเก็บน้ำห้วยไร่ ตำบลหนองแคน
อำเภอดงหลวง ได้รับผลเสียหายประมาณ 100 ไร่
น้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรบริเวณบ้านนาดี
อำเภอหว้านใหญ่ สูงประมาณ 0.25 เมตร
และอ่างเก็บน้ำห้วยห้วยขี้เหล็ก อำเภอนิคมคำสร้อยระโครงการชลประทานมุกดาหารอยู่ระหว่างตรวจสอบพื้นที่ได้รับผลกระทบ
และได้นำเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 5 เครื่อง ช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่ จังหวัดนครพนม
พื้นที่น้ำท่วมขังบริเวณ อำเภอกิ่ง พื้นที่ประมาณ 500
ไร่ นาแก
พื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ และอำเภอโคกศรีสุพรรณ
พื้นที่ประมาณ 1,100 ไร่
จังหวัดนครพนมได้มีติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 14
เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขง
จังหวัดยโสธร พื้นที่ท่วมเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ในเขตอำเภอป่าติ้ว
ประมาณ 5,500 ไร่
และได้ไหลเข้าท่วมจุดดำเนินการก่อสร้างฝาย
บ้านโพธิ์ศรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริแล้วจนไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ จังหวัดอำนาจเจริญ
พื้นที่น้ำท่วม บริเวณ ต.หัวสะพาน อ.หัวสะพาน พนังกั้นน้ำลำเซบายบ้านดอนว่านขาด
ในช่วงกม.ที่ 21+100 ยาวประมาณ 20 เมตร
ทำให้น้ำไหลท่วมพื้นที่การเกษตรประมาณ 9,500 ไร่
ยังไม่สามารถซ่อมแซมพนังที่ขาดได้
โครงการชลประทานอำนาจเจริญดำเนินการเสริมลูกรังตามแนวทางกั้นน้ำ
และเสริมกระสอบทรายในจุดที่มีรอยรั่วตามจุดอื่นของพนัง
จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่น้ำท่วมขัง อ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ต.หัวเรือ
อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โครงการชลประทาน
อุบลราชธานีได้นำเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ช่วยระบายน้ำออก ขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลง
อ่างเก็บน้ำห้วยพลาญเสือตอนล่าง อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี มีน้ำล้น Spillway โครงการชลประทานอุบลราชธานีดำเนินการทำกาลักน้ำช่วยระบายน้ำออกจากอ่างฯ
พื้นที่น้ำท่วมขังนาของเกษตรกร อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 2,982 ไร่ จังหวัดนครราชสีมา สถานการณ์น้ำหลากท่วม ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ ตั้งแต่ อำเภอบัวใหญ่ อำเภอสีดา อำเภอประทายและ อำเภอโนนแดง
มีพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมเสียหายประมาณ 10,000 ไร่ จังหวัดศรีสะเกษ
พื้นที่น้ำท่วม 6 อำเภอได้แก่ อำเภอไพรบึง อำเภอพยุห์
อำเภอศรีรัตนะ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอเบญจลักษณ์ และอำเภอโนนคูณ มีพื้นที่น้ำท่วม
ประมาณ 14,427 ไร่
สำหรับสภาพน้ำในลุ่มน้ำชี ปริมาณน้ำสูงสุดได้เคลื่อนตัวผ่านลำน้ำยัง
ที่สถานีวัดน้ำ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดแล้วจะเข้าสู่แม่น้ำชี ที่สถานีวัดน้ำ
อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ปัจจุบันระดับน้ำล้นตลิ่ง 0.40 เมตร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ก่อนไหลเข้าสู่เขื่อนยโสธร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพื้นที่เกษตร
รวมถึงลำน้ำสาขาของแม่น้ำชี ได้แก่ ลำน้ำพอง มีระดับสูงเกือบจะล้นตลิ่งเช่นกัน
และลำน้ำลำปาว ลำน้ำยัง ลำน้ำห้วยหลวง ลำน้ำสงคราม
ลำน้ำเลยมีระดับน้ำล้นตลิ่งบางแห่ง ทั้งนี้ได้ประสานสำนักงานชลประทานที่ 6 ติดตามเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำชีอย่างใกล้ชิด
เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้ทันเหตุการณ์ และประสานงานกับสำนักงานชลประทานที่ 7 ในการระบายน้ำลงแม่น้ำมูลต่อไป
ขณะที่สภาพน้ำในลุ่มน้ำมูล
มีน้ำล้นตลิ่งที่ลำเซบายลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลก่อนถึงสถานีวัดน้ำ M.7
โดยปัจจุบันแม่น้ำมูลที่สถานีวัดน้ำ M.7 มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,330 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
(ความจุลำน้ำ 2,300 ลูกบาศก์เมตร/วินาที)
ระดับสูงกว่าตลิ่ง 0.05 เมตร แนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงลำเซบก
ลำโดมใหญ่ ที่อยู่ท้ายสถานี M.7 มีระดับน้ำล้นตลิ่งบางแห่ง
ทั้งนี้ได้ประสานสำนักงานชลประทานที่ 6 และ 7 ติดตามเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลอย่างใกล้ชิด
เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้ทันเหตุการณ์
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมน้ำสูงสุด
11 แห่ง คือ
อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา , แควน้อยบำรุงแดน , น้ำอูน , น้ำพุง , อุบลรัตน์ ,
สิรินธร , ป่าสักชลสิทธิ์ , ทับเสลา , กระเสียว , หนองปลาไหล
และประแสร์ โดยอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ระหว่างร้อยละ 80
– 100 จำนวน 114 แห่ง
และอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากกว่า 100% จำนวน 105 แห่ง
เนื่องจากมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนลำปาว จำนวนมาก จนทำให้เขื่อนลำปาวจำเป็นต้องขอปล่อยน้ำเพิ่มเพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำหรับรองรับปริมาณน้ำที่จะไหลลงเขื่อนในระยะต่อไป
โดยไม่ให้เกิดปัญหาน้ำเต็มเขื่อน จากการประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์
พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายอำเภอ, กำนัน
และผู้ใหญ่บ้าน
ได้ลงความเห็นว่าควรให้เขื่อนลำปาวเพิ่มระบายน้ำผ่านอาคารระบายน้ำล้นปัจจุบันเขื่อนลำปาว
ระบายน้ำ 33.68 ล้านลูกบาศก์เมตร
ผลจากการระบายน้ำเพิ่มของเขื่อนลำปาวจะทำให้พื้นที่ด้านท้ายเขื่อนใน 5 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมือง ยางตลาด กมลาไสย ฆ้องชัย และร่องคำ
ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้น
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเตรียมพร้อมให้การช่วยเหลือประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำ
ทั้งนี้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว สำนักงานชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน ได้ชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบถึงสถานการณ์และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นและได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด
24 ชั่วโมงและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชนให้น้อยที่สุด-สำนักข่าวไทย