ซีไอเอ็มบี ไทย ปรับคาดการณ์ GDP ปี 2566 เหลือ 3.0%

กรุงเทพฯ 5 ก.ย. – ซีไอเอ็มบี ไทย ปรับคาดการณ์ GDP ปี 2566 เหลือ 3.0% และ ปี 2567 เหลือ 3.5% ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน 


ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า จากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อการส่งออก สำนักวิจัย ปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยปีนี้ ชะลอตัวกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรกที่ 3.3% โดยคาดว่า GDP ปี 2566 จะอยู่ที่ 3.0% และ ปี 2567 อยู่ที่ 3.5% จากเดิมคาดที่ 3.7% ปัจจัยหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ที่ภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และการใช้จ่ายของกลุ่มผู้มีรายได้ระดับกลางถึงสูงซึ่งมีกำลังซื้อที่แข็งแกร่ง ท่ามกลางการรอคอยการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่คาดว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมในไตรมาส 2/2567

สำนักวิจัย มีความเป็นห่วงเศรษฐกิจไทยขยายตัวไม่ทั่วถึง กำลังซื้อระดับล่างยังอ่อนแอ และถูกช้ำเติมด้วยปัญหาภัยแล้งและหนี้ครัวเรือนสูง มีเพียงเครื่องยนต์ด้านท่องเที่ยวที่ยังแข็งแกร่ง แต่การท่องเที่ยวไทยยังกระจุกตัวเพียงเมืองท่องเที่ยวหลัก


สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 ต้องจับตาเศรษฐกิจโลกและนโยบายภาครัฐ ซึ่งจะมีผลต่อองค์ประกอบของการคาดการณ์ GDP เช่น การส่งออก การท่องเที่ยว การบริโภค การลงทุนของภาครัฐและเอกชน  โดยสำนักวิจัย ธนาคาร   ซีไอเอ็มบี ไทย มี 3 สมมุติฐาน กรณีดี กรณีแย่ และกรณีเลวร้าย 

กรณีดี สหรัฐฯ สามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์ Soft Landing ได้ ในขณะที่จีนอัดฉีดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อขับเคลื่อนการเติบโต และไม่เกิดปัญหาหนี้ในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ และปัญหาฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์

การส่งออกของไทยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสสี่ส่งผลให้ทั้งปีการส่งออกหดตัวน้อยกว่าคาดที่ -2.1% ปีนี้และขยายตัวมากกว่า 0.6% ปีหน้า จำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตสูงเกินคาดหรือมากกว่า 28.4 ล้านคนปีนี้ และ 34 ล้านคนปีหน้า


นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ก่อนสิ้นปี 2566 โดยมีเป้าหมายเพื่ออัดฉีดเงินให้ภาคครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและกระตุ้นการบริโภค อีกทั้งมีเสถียรภาพทางการเมืองสร้างความเชื่อมั่นดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และความเชื่อมั่นของนักลงทุนให้สูงขึ้น

กรณีแย่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นกินเวลานาน ส่วนจีนเผชิญการชะลอตัวยิ่งขึ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทและฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์

การส่งออกของไทยเติบโตเล็กน้อยท่ามกลางอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอ ส่วนการท่องเที่ยวยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจ

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเริ่มดำเนินการได้ในไตรมาส 2 ปี 2567 หลังจากได้รับอนุมัติงบประมาณ กระตุ้นการบริโภคและการลงทุน และอาจมี FDI ย้ายฐานการลงทุนมาไทยบ้าง

กรณีเลวร้าย เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ชะลอตัวเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ขณะที่จีนเผชิญภาวะชะลอตัวที่รุนแรงยิ่งขึ้น แต่ยังคงเติบโตเหนือ 4% ในปี 2567 

การส่งออกชะลอท่ามกลางปัญหาอุปสงค์และห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่อ่อนแอขณะที่รายได้จากการท่องเที่ยวเติบโตช้ากว่าคาด นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลล่าช้าไปเป็นครึ่งปีหลังของปี 2567 ส่งผลกระทบซ้ำให้การบริโภคภาคครัวเรือนของผู้มีรายได้น้อย ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรง

สำหรับทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย อาจสิ้นสุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยรอบนี้ที่ 2.25% เพื่อหยุดยั้งการคาดหวังอัตราเงินเฟ้อสูงในอนาคต จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ในขณะที่เงินบาทคาดว่าจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ สืบเนื่องจากการคาดการณ์ว่าสหรัฐฯ จะเริ่มหั่นดอกเบี้ยในปี 2567 และเงินบาทน่าจะแข็งค่าขึ้นรายได้จากการท่องเที่ยวไทยที่แข็งแกร่งขึ้น คาดเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 34.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปลายปี 2566 และระดับ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปลายปี 2567  

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ

1.       Decoupling เศรษฐกิจสหรัฐและจีนแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิงทั้งปัญหาสงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี กระทบห่วงโซ่อุปทานและภาคการส่งออกของไทยและภูมิภาคอาเซียน

2.       De-dollarization ลดการพึ่งพิงเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ดอลลาร์สหรัฐยังเป็นสกุลหลักในการใช้จ่ายและชำระหนี้ต่างประเทศ แต่จะมีสกุลเงินอื่นโดยเฉพาะเงินหยวน (ใช่ในกลุ่ม BRICS) เข้ามาใช้ในระบบการเงินโลกมากขึ้น ถึงจะยังไม่สามารถทดแทนดอลลาร์สหรัฐฯได้ แต่ก็อาจส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนได้

3.       Dis-inflation เงินเฟ้อต่ำ โดยเฉพาะจากจีนที่เผชิญปัญหาเงินฝืดช่วงเศรษฐกิจขยายตัวต่ำลง ราคาสินค้ามีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะกระทบนโยบายการเงินในภูมิภาคเอเชียให้ยิ่งแตกต่างกับสหรัฐฯที่ยังเผชิญปัญหาเงินเฟ้อและจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง

4.       Digitization เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งมาตรการรัฐในอนาคตจะออกมาในรูปแบบนี้มากขึ้น มีส่วนช่วยให้เกิดการตรวจสอบแหล่งที่มาของเงินด้วยเทคโนโลยี Blockchain แต่ SMEs และธุรกิจเล็กๆในต่างจังหวัดอาจไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยีได้ทันรายใหญ่และอาจสร้างความเหลื่อมล้ำมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลใหม่น่าจะหาทางช่วยให้ SMEs เข้าถึงโครงการใหม่นี้ด้วย

5.       Democracy Movement เป็นการแสดงออกทางการเมืองในประเทศ มีการเรียกร้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ซึ่งอาจมีความเปราะบางทางการเมืองหรือเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นอีกก็เป็นได้จนกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

อดีตครูจำใจสร้างห้องขังในบ้าน เตรียมคุมลูกติดยา

สลด! อดีตครูวัย 64 ปี จำใจจ้างช่างทำห้องคล้ายกรงขังในบ้าน เตรียมคุมลูกติดยา-พนันออนไลน์ หลังส่งตัวบำบัดกว่า 10 ครั้ง แต่ออกมาก็เหมือนเดิม

หนุ่มใหญ่ควบเก๋งเผลอเหยียบผิดพุ่งทะลุกำแพงอาคารจอดรถดิ่งตกจากชั้น 2

หนุ่มใหญ่ควบเก๋งเผลอเหยียบผิดพุ่งทะลุกำแพงอาคารจอดรถดิ่งตกจากชั้น 2 โชคดีบาดเจ็บเล็กน้อย เจ้าหน้าที่ส่งรักษาตัวที่ รพ.เจ้าพระยา

อาม่าแจ้งความ “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง” หลอกทำพิธีสูญ 60 ล้าน

อาม่าวัย 77 ปี โร่แจ้งความเอาผิด “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง” หลอกทำพิธี-แนะซื้อวัตถุมงคลแล้วไม่ได้รับของ สูญเงินกว่า 60 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยไทยตอนบนอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ

กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรงในภาคอีสาน ส่วนบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

เรือใบอิตาลีที่สวยงามที่สุดในโลกเดินทางถึงภูเก็ตแล้ว

ภูเก็ตคึกคัก เรือใบอิตาลีที่ขึ้นชื่อว่างดงามที่สุดลำหนึ่งของโลก ออกเดินทางมาแล้วรอบโลก ได้เข้าจอดเทียบท่าจังหวัดภูเก็ต โดยมีทัพเรือภาคที่ 3 ให้การต้อนรับทหารเรืออิตาลีกว่า 150 นาย อย่างอบอุ่นพร้อมเปิดให้ประชาชนขึ้นชมเรือฟรีได้ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (6 พ.ย.)

พระเปย์สีกา ช่องโหว่ผลประโยชน์ในดงขมิ้น

รองเจ้าอาวาสวัดชื่อดังแห่งหนึ่งในมหาสารคาม ขอลาสิกขากลางดึก หลังถูกแฉ เป็นพระปลัดใจป๋า เปย์สีกาไม่อั้น ขณะที่รอง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สั่งตรวจสอบว่า เป็นเงินส่วนตัว หรือ เงินวัด เพราะจะมีความผิดแตกต่างกัน