นำสูตรชาไทยไม่ใส่นมเจาะตลาดผู้บริโภครักสุขภาพในอินเดีย

นนทบุรี 11 เม.ย.-กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ชี้เป้าส่งออก “ชาไทยไม่ใส่นม”.เจาะตลาดอินเดีย หลังทูตพาณิชย์นำ “ชาใบหม่อน” แจกทดลองตลาดได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เผยสามารถเจาะตลาดกลุ่มรักสุขภาพควบคุมน้ำหนัก และมังสวิรัติแนะช่องทางเพิ่มการรู้จักด้วยการขายเป็นของฝาก ขายผ่านตู้กด สอดแทรกเป็นเมนูในร้านอาหารมั่นใจเวิร์กแน่  


นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า จากการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยในประเทศต่างๆอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับข้อมูลจากนางสาวสุพัตรา แสวงศรี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ เมืองมุมไบ อินเดีย ถึงโอกาสในการส่งออกชาไทยไม่ใส่นมเจาะตลาดอินเดีย เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคชา ที่รักสุขภาพ ต้องการควบคุมน้ำหนัก และบริโภคอาหารมังสวิรัติ ที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ทูตพาณิชย์ได้รายงานว่า ปัจจุบันชาวอินเดีย นิยมดื่มชาโดยต้องมีการต้มนมสดก่อนใส่ชาลงไปผสมซึ่งตรงนี้เองกลายเป็นจุดที่น่าสนใจว่าชาไทยที่มีกลิ่นหอมหวานจะเข้าไปเติมเต็มความต้องการของชาวอินเดียที่ต้องการลดการบริโภคนมได้หรือไม่ ซึ่งจากการแจกชิมชาใบหม่อนจากไทยให้ผู้บริโภคชาวอินเดียได้ทดลองดื่ม พบว่าได้รับการตอบรับที่ดี โดยคนอินเดียมองว่าเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้สูงอายุรวมถึงผู้ที่ทานอาหารมังสวิรัติแบบศาสนาเจน (Jain vegetarianism) ที่มีจำนวนประมาณ 4 ล้านคนในอินเดีย เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าชาใบหม่อนมีกลิ่นที่หอมหวานคล้ายขนมหวาน แต่ไม่มีส่วนผสมของนมทำให้สามารถดื่มได้บ่อยครั้งและไม่ยุ่งยากในการเตรียมเท่าการชงชาใส่นมหรือ Chai


นอกจากนี้ คนอินเดียยังให้ความสนใจกับสรรพคุณของชาใบหม่อนและชาอื่น ๆ ที่ส่งผลในการบำรุงรักษาสุขภาพด้วย อาทิ การมีสารต้านอนุมูลอิสระมีไฟเบอร์สูงช่วยในการระบาย และมีคาเฟอีนในปริมาณน้อย รวมถึงชาที่ผสมเครื่องเทศและผลไม้แห้ง เช่น ขิง และเปลือกมะนาว เป็นต้น ดังนั้น ช่องทางการแนะนำชาไทยให้คนอินเดียได้รู้จัก ทูตพาณิชย์ให้ข้อมูลว่า เบื้องต้นสามารถทำได้โดยการจำหน่ายเป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยวอินเดียที่เดินทางมาประเทศไทย รวมถึงการจำหน่ายผ่านตู้ขายชาแบบอัตโนมัติ (Vending Machine) ที่มีชาร้อนและเย็นทั้งแบบอินเดียและแบบไทยให้บริการตามแหล่งท่องเที่ยวหรือสนามบิน และอาจสอดแทรกเมนูชาไทยเข้าไปในร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่มในอินเดีย ซึ่งปัจจุบันคนอินเดียเริ่มรู้จักเครื่องดื่มชาเย็นจากไทยบ้างแล้ว อาทิ ชาไทยใส่ไข่มุก และชาไทยหมัก เป็นต้น

ทัังนี้ ในปัจจุบันการดื่มชาเป็นวัฒนธรรมของชาวอินเดียมาแต่โบราณ เกือบ 1 ใน 5 ของผลผลิตชาดำจากทั่วโลกจึงถูกบริโภคโดยชาวอินเดีย ในขณะเดียวกัน อินเดียเป็นผู้ผลิตชารายใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจีน ด้วยกำลังการผลิตกว่า 1.35 ล้านตันต่อปี และยังส่งออกได้เป็นอันดับที่ 4 ของโลก รวมทั้งอินเดียยังได้มุ่งพัฒนาพื้นที่ปลูกชาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และผลักดันสินค้าชาเจาะตลาดต่างประเทศ ทั้งสหรัฐฯ ยุโรปตะวันออกกลาง และเอเชีย โดยเฉพาะชาที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เช่น ชาจากรัฐอัสสัม .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ “ธัญพร มุ่งเจริญพร” เข้าป้าย

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ ลุ้นกันจนนาทีสุดท้าย “ธัญพร มุ่งเจริญพร” พลิกชนะ “พรชัย มุ่งเจริญพร” แชมป์เก่าแบบขาดลอย คว้าเก้าอี้มาครอง นั่งนายก อบจ.หญิงคนแรกของจังหวัด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าคึกคัก

ภาพรวมการใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าค่อนข้างคึกคัก มีประชาชนทยอยใช้สิทธิต่อเนื่อง ยังไม่มีรายงานการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ปชช.ตื่นตัวใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ท่ามกลางสายฝน

ชาวนครศรีธรรมราช ตื่นตัวออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ท่ามกลางสายฝน กกต.เผยภาพรวมครึ่งวันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่มีรายงานการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ช้างป่ายกโขลงประชิดหมู่บ้าน ไล่ระทึกทั้งคืน

ไล่ระทึกกันทั้งคืน ช้างป่ายกโขลงบุกประชิดหมู่บ้านตลิ่งชัน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ออกหากินผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้าน