กรุงเทพฯ 4 เม.ย.- “Meta” เข้มมาตรการปกป้องการเลือกตั้ง พร้อมจัดการเนื้อหาอันตราย ความรุนแรง – แสดงความเกลียดชัง พร้อมเสริมความโปร่งใส เผยแพร่โฆษณาและดูแลเพจ เตรียมพร้อมเลือกตั้งทั่วไปของไทยปี 2566
นางสาว แคลร์ อมาร์ดอร์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำประเทศไทยและฟิลิปปินส์ Meta เปิดเผยถึงการดำเนินงานเพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่ชุมชนในประเทศไทย พร้อมแนวทางการปกป้องการแทรกแซง และส่งเสริมความโปร่งใสในการนำเสนอข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้
โดยระบุว่า Meta เตรียมการดำเนินงานเชิงรุก 5 แนวทาง ประกอบด้วย การจัดตั้งทีมงานเชิงปฏิบัติการด้านการเลือกตั้ง เพื่อสนับสนุน โดยรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา รวมถึงทีมงานที่มีประสบการณ์เตรียมความพร้อมช่วงการเลือกตั้ง การต่อสู้ข้อมูลเท็จ ความปลอดภัย สิทธิมนุษยชน และโลกไซเบอร์ ที่จะคอยสอดส่องและรับมือต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแบบเรียลไทม์
แนวทางการจัดการเนื้อหาที่อันตราย โดย Meta มีนโยบายและข้อกำหนดว่าชุมชนจะต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพซึ่งกันและกันและจะลบเนื้อหาใดๆที่ฝ่าฝืนมาตรฐานชุมชน เช่นคำพูดที่แสดงความเกลียดชัง, ความรุนแรงและการยุยง ,การกลั่นแกล้งและการคุกคาม หรือการให้ข้อมูลเช็คบางประเภททันทีที่ได้รับรายงาน ซึ่งนโยบายด้านข้อมูลเท็จจะไม่อนุญาตให้มีการแทรกแซงหรือหยุดยั้งการลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง รวมถึงไม่อนุญาตให้มีการให้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวันเวลาสถานที่หรือวิธีการเลือกตั้ง การยั่วยุให้เกิดการใช้ความรุนแรงและการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการลงคะแนนด้วยวิธีการที่ผิดกฎหมาย
แนวทางเพิ่มความโปร่งใสในการเผยแพร่โฆษณาและการดูแลเพจ Meta ได้จะทำมาตรการเพิ่มเติมในการสร้างความโปร่งใสในการเผยแพร่โฆษณาและดูแลเพจต่างๆ โดยผู้ลงโฆษณาจะต้องผ่านกระบวนการยืนยันข้อมูลตัวตนผ่านบัตรประชาชน และระบุข้อความ “ได้รับสปอนเซอร์” คนโฆษณา ขณะเดียวกันยังมีการเพิ่มบริบทของบัญชีและเพศต่างๆ โดยอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถดูประเทศของผู้ดูแลเพจและเปิดตัวเกี่ยวกับบัญชีนี้ทาง instagram ซึ่งจะช่วยให้สามารถประเมินความน่าเชื่อถือของบัญชีนั้นได้
แนวทางยับยั้งเครือข่ายที่แทรกแซงความโปร่งใส ที่เป็นความปลอดภัยทางไซเบอร์ ของ Meta จะสอดส่องและรับมือกับเครือข่ายออนไลน์ที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยเช่นร่วมกันสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวตนบนโลกออนไลน์
และแนวทางสุดท้ายคือความร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการเลือกตั้ง และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของพลเมือง โดยก่อนการเลือกตั้ง Meta จะจัดทำโครงการร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ เช่น การสร้างเสริมขีดความสามารถ ซึ่งช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาได้มีการจัดอบรมให้กับหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานเฝ้าระวังการเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งเกี่ยวกับนโยบายการบริการเครื่องมือและระบบการรายงาน นอกจากนี้ยังมีแคมเปญ social ด้วยใจ ซึ่งเป็นสื่อรณรงค์ในรูปแบบของอนิเมชั่น ที่ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,มูลนิธิดิจิทัลเพื่อสันติภาพ และมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย เพื่อส่งเสริมให้คนไทยสามารถระบุข้อมูลปิดเตือนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงบวกและมีความรับผิดชอบในช่วงของการเลือกตั้ง.-สำนักข่าวไทย