คมนาคม เปิดโครงการ IMO

กรุงเทพฯ 20 ก.พ.-รมว.คมนาคม เป็นประธานเปิดพิธีการตรวจประเมินประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับ (IMO Member State Audit Scheme : IMSAS)ระหว่างวันที่ 20 – 27 กุมภาพันธ์นี้  ร่วมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศ


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดการตรวจประเมินประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับ (IMO Member State Audit Scheme : IMSAS) ร่วมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศ โดยมี นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า ผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมเจ้าท่า(จท.) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศร.ชล.) กองทัพเรือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยคณะผู้ตรวจประเมินจากประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับ ได้แก่ นายโมลเอน อาซอฟ (Mr. Moain Al Zoubi) หัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมินฯ กัปตันอานิช โจเซฟ (Capt. Anish Joseph) และนายอาจิ วาสุเดวัน(Mr. Aji Vasudevan) คณะผู้ตรวจประเมินฯ เข้าร่วมพิธีฯ ในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมวิสูตรสาครดิษฐ์ กรมเจ้าท่า

ทั้งนี้ ในนามของราชอาณาจักรไทย กระทรวงคมนาคมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการต้อนรับผู้เข้าร่วมพิธีเปิดการตรวจประเมินประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับทุกคน โดยเฉพาะคณะผู้ตรวจประเมินฯ ที่เข้าร่วมโครงการ Member State Audit Scheme (IMSAS) ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 20 – 27 กุมภาพันธ์ 2566 การขนส่งทางทะเลเป็นเส้นทางอำนวยความสะดวกที่สำคัญของการค้าในยุคโลกาภิวัฒน์และระบบห่วงโซ่อุปทานเนื่องจากเป็นเส้นทางที่สามารถรับประกันการขนส่งระหว่างประเทศที่เชื่อถือได้และประหยัดต้นทุน สำหรับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) เป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและประสานมาตรฐานสำหรับความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ รวมทั้งการป้องกันมลพิษทางทะเลโดยเรือ ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก IMO ตั้งแต่ปี2516 


และได้ปรับปรุงมาตรฐานการเดินเรือ เพื่อความปลอดภัยและการป้องกันสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนากระบวนการเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานทางทะเลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจถึงการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ตราสาร IMO การปรับปรุงขีดความสามารถของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนระดับชาติ และความปลอดภัยในชีวิตทางทะเลในระดับภูมิภาค เพื่อป้องกันมลพิษทางเรือผ่านยุทธศาสตร์การเดินเรือโดยรวมของประเทศไทย และเนื่องจากในปีนี้เป็นปีครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับ IMO จึงขอใช้โอกาสนี้ เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่มีต่ออาณัติของ IMO ในการพัฒนาการขนส่งทางทะเลอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเครื่องมือและประสบการณ์ระหว่างประเทศ พร้อมร่วมแผนการปฏิบัติระหว่างรัฐสมาชิกในการบรรลุเป้าหมายร่วมกัน เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 เห็นชอบอนุมัติการลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและ IMO เกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการ IMSAS โดยมอบให้อธิบดีกรมเจ้าท่าหรือรองอธิบดีกรมเจ้าท่าที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้แทนฝ่ายไทยสำหรับการลงนามดังกล่าว และอนุมัติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 16 หน่วยงานเข้าร่วมโครงการฯได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ศร.ชล. กองทัพเรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัยกรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุตุนิยมวิทยา กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ 

โดยมีพันธกรณีที่ต้องรับการตรวจประเมินจาก IMO ในอนุสัญญาที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี 6 ฉบับ ประกอบด้วยอนุสัญญา SOLAS อนุสัญญา MARPOL (เฉพาะภาคผนวกที่ 1 และ 2) อนุสัญญา LOADLINE อนุสัญญา TONNAGE อนุสัญญา CORLEG และอนุสัญญา STCW ให้เป็นไปตามประมวลข้อบังคับว่าด้วยการอนุวัติการตรวจตราสารขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO Instruments Implementation Code : III Code) ประกอบด้วย ประเด็นโดยรวม (Common Area) รัฐเจ้าของธง (Flag State Implementation) รัฐชายฝั่ง (Coastal State Implementation) และรัฐเจ้าของท่าเรือ (Port State Implementation 


สำหรับประเด็นการตรวจประเมินฯ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย การจัดทำกลยุทธ์ระดับประเทศในการขับเคลื่อนการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนและเป้าหมายที่กำหนด การกำกับดูแลการดำเนินการโดยคณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อประสานงานกับ IMO การลงนามบันทึกความร่วมมือแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา การฝึกอบรมให้กับเรือไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเก็บข้อมูลตรวจอากาศทางทะเล การขยายสถานี Navtex เพื่อให้บริการข่าวสารด้านการเดินเรือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลอั่วไทยและอันดามัน  การฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย การตั้งสำนักงานสืบสวนอุบัติเหตุทางน้ำ เพื่อให้การสอบสวนอุบัติเหตุทางน้ำเป็นอิสระและการตั้งกลุ่มมาตรฐานความปลอดภัยสินค้าและสินค้าอันตราย เพื่อกำหนดการกำกับ ดูแลความปลอดภัยระหว่างการขนส่งสินค้าทางเรือ

ส่วนกระบวนการตรวจประเมิน IMSAS เป็นมาตรการเชิงสร้างสรรค์ (Positive Measure) ของ IMO ในการยกระดับการดำเนินการตามพันธกรณีของอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยและการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งเป็นการรวบรวมผลการปฏิบัติจากประเทศสมาชิกต่าง ๆ 

เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำโครงการช่วยเหลือทางวิชาการ ให้ประเทศสมาชิกได้ยกระดับความสามารถในการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาได้โดยไม่ทิ้งประเทศใดไว้ข้างหลัง ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติจากการประชุมคณะมนตรีสมัยวิสามัญ ครั้งที่ 32 (COUNCIL 32nd  extraordinary session) 

ที่มีมติรับรองแผนการปรับปรุงกำหนดการตรวจประเมินประเทศสมาชิกภาคบังคับ (IMSAS) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยให้เลื่อนการตรวจประเมินในปี 2564 ออกไปเป็นปี 2565 และผลการประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 125 (125th Council : C125) ที่มีมติรับรองให้ใช้การตรวจประเมินทางไกล(Remote Audit) เป็นมาตรการชั่วคราวในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทั้งนี้ IMO ได้มีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564 แจ้งประเทศสมาชิกถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ไม่สามารถตรวจประเมินประเทศต่าง ๆ ได้ตามแผนที่วางไว้ และปรับวิธีการตรวจประเมินทางไกล (Remote audit) แทนการตรวจประเมินแบบปกติ จึงจำเป็นต้องเลื่อนกำหนดการตรวจประเมินในปี 2565 ออกไปเป็นปี 2566 รวมถึงกำหนดการตรวจประเมินของประเทศไทยที่ถูกเลื่อนจากเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ด้วยเช่นกัน 

IMO เป็นทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อกำหนดกรอบมาตรฐานด้านความปลอดภัยและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ สำหรับให้ประเทศสมาชิกยอมรับและนำไปปฏิบัติในรูปของตราสารต่าง ๆ ได้แก่ อนุสัญญา พิธีสาร กฎ และข้อบังคับ ปัจจุบันมีสมาชิก 174 ประเทศ และสมาชิกสมทบ (เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และหมู่เกาะแฟโร) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาและพิธีสารของ IMO 14 ฉบับ จากอนุสัญญาและพิธีสารทั้งหมด 59 ฉบับ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร