รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ EEC

กรุงเทพฯ 17 ต.ค.- “ทิพานัน” โชว์แผนรัฐบาลเดินหน้าพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ EEC กว่า 475,688 ตำแหน่ง มุ่งสร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพให้นักศึกษาจบใหม่-ประชาชนมั่นคงมีรายได้สูง พร้อมผลักดันความร่วมมือ 941 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศพัฒนาหลักสูตรรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย


น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มีการผลักดันโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อย่างจริงจัง ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ  บนฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และนวัตกรรม  ทั้งนี้ได้มีการเตรียมกำลังคนเพื่อทำงานในพื้นที่ EEC โดยสถาบันการศึกษาผลิตคน เน้นที่ศักยภาพตามความต้องการของสถานประกอบการ (Demand Driven) เพื่อให้เยาวชนและประชาชนมีงานทำ มีรายได้สูงด้วยความสามารถ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561

น.ส.ทิพานัน  กล่าวว่า รัฐบาลโดย พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้วางแนวทางเรื่องการพัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการไว้แล้ว โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ 1. EEC Model Type A  ให้สถานศึกษาจัดการศึกษาหลักสูตร ที่ได้รับปริญญา (Degree) หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) เน้นการดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ เพื่อให้ตรงความต้องการและได้อัตราค่าจ้างที่สูงกว่าปกติ  2. EEC Model Type B เป็นการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น ไม่มีปริญญา (Non-Degree)  เพื่อพัฒนาบุคลากรแบบเร่งด่วน  โดยสถาบันการศึกษาและสถานประกอบร่วมกันออกแบบหลักสูตร โดยมุ่งเน้น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมหรือชั้นปีสุดท้ายของการศึกษาในระบบ  หรือประชาชนทั่วไปให้มีความรู้และทักษะที่สามารถทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ทันที


น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ  กล่าวว่า EEC ได้คาดการณ์เรื่องความต้องการบุคลากรไว้ว่า เมื่อโครงการสำเร็จลุ่ล่วง จะมีสถานประกอบการที่ต้องการแรงงาน ในระดับอาชีวศึกษา 377 แห่ง และระดับอุดมศึกษา 277 แห่ง  รัฐบาลจึงเดินหน้าผลักดันสำรวจความร่วมมือจากสถานศึกษา-สถาบันการศึกษา ให้เข้าร่วมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมกว่า 941 แห่ง   โดยแบ่งเป็นทั้งในพื้นที่ EECและนอกพื้นที่ EEC โดยในพื้นที่ EEC  ตั้งแต่ระดับโรงเรียน 847 แห่ง อาชีวศึกษา 17 แห่ง มหาวิทยาลัย 7 แห่ง  ส่วนเครือข่ายสถาบันศึกษานอกพื้นที่ EEC ได้แก่อาชีวศึกษา 61 แห่ง มหาวิทยาลัย 9 แห่ง  หน่วยงานภาครัฐ 14 แห่ง ที่จะสามารถรองรับและส่งเสริมหลักสูตรในอนาคตได้  นอกจากเรื่องสถาบันการศึกษายังมีในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่น ใน 3 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง ได้แก่ เทศบาล 111 แห่งและองค์การบริหารส่วนตำบล 161 แห่ง ที่จะสามารถเข้าร่วมในการพัฒนาบุคลากรด้วย

ในเบื้องต้นประมาณการความต้องการบุคลากรในพื้นที่ EEC อยู่ที่ 475,688 อัตรา   อาทิ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 16,920  ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 37,526 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมดิจิทัล 116,222 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 58,228 ตำแหน่ง,อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 11,538 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี 14,630 ตำแหน่ง,อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 53,738 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 166,992 ตำแหน่ง  โดยแบ่งเป็น ระดับอาชีวศึกษา 253,114 ตำแหน่ง ระดับปริญญาตรี 214,070 ตำแหน่ง และระดับปริญญาโทร-เอก 8,610 ตำแหน่ง

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ตัวเลขการพัฒนาบุคลากร 4.7 แสนตำแหน่งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ รวมถึงการเปลี่ยนระบบและโครงสร้างการศึกษาให้ทันสมัย ทันต่อความต้องการของธุรกิจในอนาคต ซึ่งบางส่วนได้พัฒนาไปบ้างแล้วและเริ่มมีการเรียนตามหลักสูตรทั้ง Type A และ B ในระยะทดลองซึ่งสำเร็จไปด้วยดี รวม 16,007 คน  รัฐบาลจึงได้เร่งบูรณการความร่วมมือให้สำเร็จเพิ่มขึ้น  โดยมี กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม  ผนึกกับภาคเอกชน ในการพัฒนาบุคลากร ตามแผนการผลิตคนเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว  เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการว่างงานในภาพรวม  ในอนาคตเชื่อว่าเมื่อมีการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ก็จะมีการขยายความต้องการบุมากขึ้นอย่างยั่งยืน  และจะทำให้ประเทศไทยพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว


“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มุ่งมั่นที่จะวางรากฐานในการสร้างคน  สร้างงาน และสร้างอนาคตให้คนไทย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนา แต่ทั้งหมดก็เพื่อพี่น้องประชาชนและนักศึกษาจบใหม่ ได้มีงานทำ มีอนาคตที่สดใส  มีรายได้สูงและมั่นคง” น.ส.ทิพานัน กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร