ไทย-มองโกเลียตั้งเป้าทำการค้าเพิ่มลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น

มองโกเลีย 6 ก.ย.- รัฐมนตรีพาณิชย์เผยผลนำคณะเยือนมองโกเลียได้ผลเกินคาดตั้งเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันในอีก 5 ปีข้างหน้า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐและลงทุนเกินกว่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ย้ำไทยมีความพร้อมเป็นแหล่งผลิตหรือส่งออกอาหารให้กับมองโกเลีย เพื่อความมั่นคงทางอาหารเต็มที


นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ไทย-มองโกเลีย ครั้งที่ 1 กับนางบัตต์เซตเสก บัตมุนห์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมองโกเลีย( Mrs. Battsetseg Batmunkh, Minister of Foreign Affairs of Mongolia) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารของกระทรวงพาณิชย์ในช่วงนำคณะเยือนมองโกเลียอย่างเป็นทางการว่า การประชุม JTC เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและมองโกเลีย โดยปีนี้เป็นปีแรกที่มองโกเลียเป็นเจ้าภาพได้ข้อสรุป 5 ข้อหลัก คือ 1.ทั้งสองฝ่าย ตั้งเป้าหมายทางการค้าและการลงทุนร่วมกันในปี 2027 ในอีก 5 ปีข้างหน้า เป้าหมายทางการค้า จะทำตัวเลขการค้าใน 5 ปี ให้ได้ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐและเป้าหมายการลงทุน ตั้งเป้า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้ตัวเลขการลงทุนอยู่ที่ 1,034 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

2.เพื่อให้บรรลุเป้าหมายถือโอกาสเชิญมองโกเลียประสานกับผู้นำเข้า นักธุรกิจ นักลงทุนมองโกเลีย เดินทางร่วมงานแสดงสินค้าสำคัญในประเทศไทย 3 งาน 1)งาน STYLE Bangkok วันที่ 22-26 มี.ค.66 2)งาน THAIFEX – Anuga Asia วันที่ 23-27 พ.ค. 66 และ 3) งาน Bangkok Gems & Jewelry Fair จะจัดขึ้นในเดือน ก.ย.66 และกระทรวงพาณิชย์จะช่วยประสานงานจัดให้มีการพบปะเจรจาระหว่างหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของมองโกเลียกับนักลงทุนจากประเทศไทย


3.ประเทศไทยจะเป็นแหล่งผลิตหรือส่งออกอาหารให้กับมองโกเลีย เพื่อความมั่นคงทางอาหาร โดยสินค้าที่ไทยจะส่งออกไปมองโกเลียสำคัญประกอบด้วย ไก่แช่เย็น-แช่แข็ง อาหารทะเลแช่เย็น-แช่แข็งและแปรรูป ผลไม้ น้ำผลไม้ ผลไม้สด ผลไม้กระป๋อง อาหารสำเร็จรูปและขนมขบเคี้ยว เป็นต้นและมองโกเลียจะเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบสำคัญให้กับประเทศไทย เช่น สินแร่รวมทั้งหนังสัตว์ ผ้าแคชเมียร์ เป็นต้น

4.ทั้งสองฝ่ายจะจัดให้มีความร่วมมือในสาขาที่สนใจร่วมกันต่อไปไม่ว่าจะเป็นการเกษตร อาหาร การท่องเที่ยวรวมถึงโลจิสติกส์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อำนวยความสะดวกมองโกเลียต่อไป 5.การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว ทั้งสองฝ่ายตกลง 1.จะทำความตกลงและคุ้มครองการลงทุนของทั้งสองฝ่ายโดยฝ่ายไทยกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเจ้าภาพ 2.เดินหน้าทำอนุสัญญายกเว้นการเก็บภาษีซ้อนช่วยส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกันได้เป็นอย่างดี และประการสุดท้ายมองโกเลียสนใจเปิดเที่ยวบินตรงอูลานบาตอร์เมืองหลวงของมองโกเลียไปภูเก็ต เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวกับนักท่องเที่ยวชาวมองโกเลียในช่วงฤดูหนาว ซึ่งขณะนี้สายการบิน Mongolian Airlines แจ้งความจำนงไปประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์ประสานงานกับสถาบันการบินพลเรือนจะเร่งพิจารณาคำขอนี้ให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์คาดว่า Mongolian Airlines จะพานักท่องเที่ยวบินตรงไปภูเก็ตได้ต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้นำคณะเอกชนไทยพบปะภาคธุรกิจของมองโกเลียด้วย โดย 6 บริษัทเป็นบริษัทที่ลงทุนด้านพลังงาน 3 บริษัทและด้านสุขภาพ 1 บริษัท และบริษัทที่สนใจมาเปิดตลาดสินค้าที่นี่ 2 บริษัท มูลค่าการค้าการลงทุนไทย-มองโกเลีย ยังถือว่าไม่มากแต่หลังจากที่ได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-มองโกเลีย ครั้งที่ 1 ได้เป้าหมายร่วมกันสำหรับการค้าและการลงทุน ซึ่งเรื่องการลงทุนผู้ประกอบการไทยมาลงทุนที่นี่อย่างน้อย 4 บริษัทขนาดใหญ่ ถือเป็นเงินก้อนใหญ่ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีบริษัทบ้านปู  บริษัท เสริมสร้าง (Sermsang Power Corporation Plc.)  บริษัท เอ็นเสิร์ฟ( Enserv UB llc.) และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มูลค่าการลงทุนประมาณ 36,000 ล้านบาทและอนาคตคิดว่าคนไทยสามารถมาขยายการลงทุนที่นี่ได้ โดยเฉพาะด้านพลังงานสะอาด ซึ่งจำนวนหนึ่งมาลงทุนสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ขายให้กับรัฐบาลมองโกเลีย และตนทราบว่าโซล่าเซลล์ถ้าอากาศเย็นและแดดแรงจะเพิ่มผลผลิตไฟฟ้าได้ถึง 30% ซึ่งที่นี่ตรงสเป็คเพราะแดดแรงมากและอากาศเย็น จะเป็นการลงทุนที่มีอนาคต รวมถึงด้านอื่นด้วย


ทั้งนี้ นักลงทุนของไทยมาแสดงให้เห็นว่ามีศักยภาพในการลงทุนที่ประเทศมองโกเลียและต่อไปไทยและมองโกเลีย จะจัดกิจกรรมพิเศษให้หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของมองโกเลียพบกับผู้สนใจลงทุนชาวไทย และ BOI (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) ของเราจะได้พบกับนักลงทุนชาวมองโกเลีย เพื่อดึงนักลงทุนไปลงทุนในไทยด้วย ซึ่งวิน-วินทั้งคู่ต่อไปในอนาคต ซึ่งเมื่อมีกำไรก็จะนำกลับประเทศสุดท้ายรายได้ก็จะกลับไปยังประเทศไทย และไทยยังสามารถใช้มองโกเลียเป็นประตูการค้าสู่รัสเซียหรือกลุ่มประเทศที่แตกตัวจากรัสเซียได้ ขณะเดียวกันมองโกเลียก็สามารถใช้ไทยเป็นประตูการค้าสู่อาเซียนได้ ปัจจุบันมูลค่าการค้าไทย-มองโกเลีย ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (2560-2564) เฉลี่ยปีละ 55.64 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2564 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 53.94 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 147% จากปีก่อนหน้า สินค้าส่งออกศักยภาพของไทย ได้แก่ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ สิ่งปรุงรสอาหารและผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากมองโกเลีย ได้แก่ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ เป็นต้น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Satellite images show wake of destruction of wildfires burning across California

เปิดปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าแอลเอไหม้ลามหนัก

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าในเทศมณฑลลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ (LA) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐไหม้ลามเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นวิกฤตไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูงฝั่งปอยเปต พบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูง 18 ชั้น ฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เบื้องต้นพบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา และอาคารดังกล่าวถูกระบุเป็นฐานบัญชาการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีคนไทยถูกหลอกไปทำงานที่นี่จำนวนมาก

Palisades Fire

สหรัฐสั่งอพยพกว่าแสนคนหนีไฟป่า 6 จุดในแคลิฟอร์เนีย

ลอสแอนเจลิส 9 ม.ค.- สหรัฐสั่งอพยพประชาชนมากกว่า 100,000 คน เนื่องจากจำนวนไฟป่าที่โหมไหม้ในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 6 จุดแล้ว เพราะกระแสลมแรงเทียบเท่าเฮอริเคนและสภาพอากาศแล้ง เจ้าหน้าที่เผยว่า ในจำนวนไฟป่าทั้ง 6 จุด มีอยู่ 4 จุดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้เลย ไฟป่าจุดแรก คือ พาลิเซดส์ไฟร์ (Palisades Fire) เกิดขึ้นช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคมตามเวลาท้องถิ่นใกล้แปซิฟิก พาลิเซดส์ ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑล ต้นเพลิงมาจากไฟไหม้พุ่มไม้ที่โหมไหม้จนเกินควบคุมเพราะกระแสลมแรง ต้องอพยพคนอย่างน้อย 30,000 คน ไฟป่าจุดที่ 2 คือ อีตันไฟร์ (Eton Fire) เกิดขึ้นในเย็นวันเดียวกันที่หุบเขาอีตันแคนยอน เผาไหม้พื้นที่ขยายวงกว้างมากพอ ๆ กับไฟป่าจุดแรก ไฟป่าจุดที่ 3 คือ เฮิร์ตส์ไฟร์ (Hurst Fire) เกิดขึ้นกลางดึกวันเดียวกันในย่านซิลมาร์ของนครลอสแอนเจลิส จากนั้นในเช้าวันที่ 8 มกราคมเกิดไฟป่าจุดที่ 4 คือ วูดลีไฟร์ […]

ข่าวแนะนำ

จับนายอำเภอเหนือคลอง เรียกรับเงินผู้รับเหมา แลกจบงาน

ตำรวจแถลงผลปฏิบัติการ “ไม่จ่าย ไม่จบ” จับนายอำเภอเหนือคลอง จ.กระบี่ พร้อมเจ้าหน้าที่ปกครอง เรียกรับเงินใต้โต๊ะบริษัทรับเหมา 50,000 บาท แลกจบงาน

นายกฯ เผยไม่มีคนไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุไฟป่าแอลเอ

นายกฯ เผย ไม่มีคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จากเหตุไฟป่าที่แอลเอ มีเพียงร้านอาหารไทยที่ได้รับความเสียหาย สั่ง กงสุลเปิดศูนย์ช่วยเหลือคนไทย