บอร์ดดีอีเห็นชอบหลักการกฎหมายอวกาศ เตรียมชงเข้า ครม.

กรุงเทพฯ 19 ต.ค.- นายกฯ ไฟเขียวบอร์ดดีอีรับร่าง พ.ร.บ.กิจการอวกาศฯ รอเสนอเข้า ครม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ดดีอี) ครั้งที่ 4/2563 ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล โดยได้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. …. และเห็นชอบให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า ดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา และนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยเร็วต่อไป พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำว่า ควบคู่ไปกับการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพื่อให้สู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ของประเทศ อีกประเด็นสำคัญคือ ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ อย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต เพราะดาวเทียมใหม่ๆ ที่จะขึ้นสู่วงโคจรภายหลังมีการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ต้องไม่มีปัญหาอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับสัญญาสัมปทานดาวเทียมก่อนหน้า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานบอร์ดดีอี กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.กิจการอวกาศฯ ฉบับนี้มีความสำคัญ และจะสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติ ตลอดจนช่วยส่งเสริมกิจการอวกาศทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. …. ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ 1.ก่อให้เกิดนโยบายและแผนการบริหารจัดการด้านกิจการอวกาศอย่างเป็นรูปธรรม 2.เป็นการยกระดับกฎหมายเพื่อให้เกิดการกำกับ และส่งเสริมกิจการอวกาศทั้งภาครัฐและเอกชน 3.ทำให้มีกลไกสอดคล้องกับพันธกรณีของไทยภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศด้านอวกาศ และ 4.มีกลไกการขับเคลื่อนนโยบายอวกาศ 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายกิจการอวกาศตามขอบเขตของพระราชบัญญัติ และ (2) สำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติ ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการให้กับคณะกรรมการฯ และกำกับการดำเนินงานตามขอบเขตของนโยบาย ขณะที่นายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศไทยและประชาชนทุกกลุ่มใช้ประโยชน์จากดิจิทัลได้อย่างสูงสุด มีการลงทุนวางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และจัดสร้างแพลตฟอร์มที่จะสนับสนุนเป้าหมายการมุ่งสู่รัฐบาลดิจิทัล เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ รองรับการนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดทำนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาในทุกมิติ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ดังนั้น การบ้านต่อจากนี้ไปของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ต้องรีบเร่ง “การสร้างความรับรู้” ความก้าวหน้าเหล่านี้ กระจายให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายรับทราบในวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่ได้เข้าถึงการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล เพื่อให้เข้ามาร่วมใช้ประโยชน์จากสิ่งที่รัฐจัดทำไว้ให้แล้ว “ผมขอฝากให้ช่วยกันในสถานการณ์ช่วงนี้ด้วยว่า อย่าให้ละเมิดกฎหมาย ถ้าละเมิดเรามีหน้าที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย แต่เราก็ให้ความสำคัญที่จะหลีกเลี่ยงการใช้กำลังโดยไม่จำเป็น เพราะมีกลุ่มเด็กถูกนำเข้ามาร่วมชุมนุมด้วย เราจึงต้องระมัดระวังให้ผู้ชุมนุมปลอดภัยด้วย ขอย้ำว่าเรามุ่งมั่นบริหารประเทศ เดินหน้าประเทศไปข้างหน้าท่ามกลางปัญหาต่างๆ ได้แก่ โควิด และภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ ที่ผ่านมาเราทำงานแก้ปัญหาทุกเรื่อง แต่มีคนเอาไปบิดเบือน” พลเอกประยุทธ์ กล่าว นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ได้รายงานต่อที่ประชุมถึงความคืบหน้าของการควบรวมกิจการ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม โดยตั้งเป้าหมายว่ากระบวนการควบรวมจะแล้วเสร็จสมบูรณ์เป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ (เอ็นที) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 พร้อมรับข้อเสนอแนะของนายกรัฐมนตรี ที่จะให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรของทั้งสององค์กรว่า การควบรวมดังกล่าวจะไม่ทำให้เสียประโยชน์ นอกจากนี้ ยังได้รายงานต่อที่ประชุมฯ เพื่อรับทราบการดำเนินงานที่สำคัญภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561– 2580) ในด้านต่างๆ โดยหนึ่งในนั้นคือยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนากำลังคนดิจิทัล ที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านอากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) ในมิติต่างๆรวมถึงการส่งเสริมการใช้งานโดรน ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้ให้ทุนแก่เกษตรกร ในการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร โดยดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับให้กับเกษตรกรในหลายพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาบริการ เช่น บริการบินโดรนพ่นสารน้ำ และยาบำรุงพืช เป็นต้น ช่วยให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับคนในชุมชนได้อีกช่องทางหนึ่ง รวมทั้งยังมีความร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลเกาะลิบง “เนื่องจากโดรนเป็นอุปกรณ์ที่เข้าถึงพื้นที่ส่วนบุคคลได้โดยง่าย ในประเทศไทยจึงได้วางกฎและมาตรการในการใช้โดรน เพื่อไม่ให้กระทบสิทธิส่วนบุคคล และการรักษาความปลอดภัย” นายพุทธิพงษ์ กล่าว.-สำนักข่าวไทย

เพื่อไทยจี้นายกฯ ลาออก

หัวหน้าพรรคเพื่อไทย จี้นายกฯ ลาออก พร้อมเรียกร้อง 4 ข้อ ทางออกประเทศ ประกันตัวคนถูกจับ เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปล่อยตัวผู้ชุมนุม

“บิ๊กปั๊ด”สั่งดูแลสวัสดิการ ตร.ดูแลม็อบเต็มที่

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งหน่วยที่เกี่ยวข้องดูแลสวัสดิการกำลังพลที่ดูแลการชุมนุมอย่างเต็มที่ ย้ำไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยอมเบี้ยเลี้ยงเด็ดขาด

ผบ.ตร.ยังไม่ยกระดับใช้กฎหมาย เน้นเจราจาผู้ชุมนุม

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระบุ ยังไม่จำเป็นต้องยกระดับการใช้กฎหมายกับผู้ชุมนุม เชื่อ การเจรจาสร้างความเข้าใจจะเป็นประโยชน์กว่า พร้อมเตรียมจัดทำวีดีโอ ชี้แจงข้อเท็จจริงการใช้สารเคมีสีฟ้า ในการสลายการชุมนุม

ประชาชนปลดแอกออกแถลงการณ์เปิดประชุมวิสามัญ

คณะประชาชนปลดแอก ออกแถลงการณ์ให้เปิดประชุมสมัยวิสามัญ และเรียกร้องให้สภาพิจารณา 3 ข้อ หยุดดำเนินคดีประชาชน ปล่อยตัวแกนนำม็อบ และแก้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

ไบโอเทค พัฒนาอวัยวะจำลองป้องกันไวรัสซิก้า

กทม. 19 ต.ค. 63 – ไบโอเทค สวทช. พัฒนาออร์แกนอยด์ หรือ อวัยวะจำลองมดลูกและรกใช้ศึกษาวิธียับยั้งการแพร่เชื้อไวรัสซิกาจากแม่สู่ลูก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) นำเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงออร์แกนอยด์ (Organoid) มาสร้างและพัฒนาแบบจำลองอวัยวะสามมิติของมดลูกและรก สำหรับใช้ศึกษากลไกการติดเชื้อไวรัสซิกาในมดลูก การถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ทารกในระหว่างตั้งครรภ์รวมทั้งการทดสอบและพัฒนาสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสซิกา เพื่อการนำมาใช้ต้านทานเชื้อไวรัสซิกา และป้องการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้จากแม่สู่ทารกในครรภ์ ปัจจุบันมีผลการศึกษายืนยันแล้วว่า เมื่อผู้หญิงมีครรภ์ได้ติดเชื้อไวรัสซิกา เชื้อไวรัสสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้ ซึ่งมีผลให้ทารกมีอาการสมองเล็ก สมองไม่พัฒนา รุนแรงสุดอาจเสียชีวิตทันทีหลังกำเนิด  เห็นได้ว่าการติดเชื้อไวรัสซิกาในทารกส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งด้านสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศไทย และประเทศที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสนี้ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนที่สามารถจะยับยั้งการถ่ายทอดเชื้อไวรัสซิกาจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้ ดร.ธีรวัฒน์ วิวัฒน์พาณิชย์ นักวิจัยทีมวิจัยการออกแบบและวิศวกรรมชีวโมเลกุลขั้นแนวหน้า ไบโอเทค กล่าวว่า ทีมวิจัยได้ประสบความสำเร็จในการสร้างออร์แกนอยด์ ซึ่งเป็นกลุ่มก้อนเซลล์ที่ได้เพาะเลี้ยงแบบสามมิติจนมีลักษณะและคุณสมบัติเสมือนหรือคล้ายกับอวัยวะจริงในร่างกาย โดยนักวิจัยสามารถนำออร์แกนอยด์หรือระบบอวัยวะจำลอง มาศึกษากระบวนการทางชีวภาพต่างๆ ตั้งแต่พฤติกรรมของเซลล์ การทำงานของระบบอวัยวะของร่างกาย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบอวัยวะในร่างกาย การตอบสนองต่อฮอร์โมนหรือยา กระบวนการก่อโรคจากเชื้อต่าง ๆ และโรคทางพันธุกรรมได้ ซึ่งจุดเด่นของออร์แกนอยด์ ช่วยให้นักวิจัยสามารถทำการทดลองเพื่อศึกษาโรค และทดสอบยาในภาวะที่คล้ายคลึงกับร่างกายโดยที่ยังไม่ต้องทดสอบกับอาสาสมัครหรือคนไข้จริง ทั้งนี้ทีมวิจัยไบโอเทค และภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล จะพัฒนาออร์แกนอยด์ของมดลูกและรก เพื่อใช้ทดสอบและพัฒนาสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสซิกา เพื่อนำมาใช้ต้านทานเชื้อไวรัสซิกา และป้องการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้จากแม่สู่ทารกในครรภ์ต่อไป อย่างไรโครงการนี้ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 5 โครงการ จาก 121 ผู้สมัครจาก 37 ประเทศ ที่ชนะ TDR Global Crowdfunding Challenge Contest ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ให้การสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับโรคติดต่อในเขตร้อน โดยทีมวิจัยได้ตั้งเป้าหมายงบประมาณในการดำเนินงานวิจัยเบื้องต้นไว้ที่ 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 260,000 บาท โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการสนับสนุนโครงการสามารถร่วมบริจาคเงินให้กับโครงการได้ที่ www.experiment.com/noZika4Baby ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563

1 146 147 148 149 150 440