จีนปล่อย “โลมาหัวบาตรหลังเรียบ” สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ลงแยงซีครั้งแรก

อู่ฮั่น, 26 เม.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันอังคาร (25 เม.ย.) คณะเจ้าหน้าที่ทำการปล่อยโลมาหัวบาตรหลังเรียบแยงซีภายใต้โครงการอนุรักษ์นอกถิ่นที่อยู่อาศัย จำนวน 4 ตัวลงสู่แม่น้ำแยงซี ส่วนมณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีน ซึ่งถือเป็นการปล่อยสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งชนิดนี้ลงแม่น้ำสายยาวที่สุดของจีนเป็นครั้งแรก โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนประชากร รายงานระบุว่าโลมาหัวบาตรหลังเรียบที่ปล่อยทั้งหมด เกิดในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติเทียนเอ๋อโจวของหูเป่ย ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์นอกถิ่นที่อยู่อาศัยสำหรับโลมาหัวบาตรหลังเรียบที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230426/f1ec4c37ef5a4103aca8903ef82ed8ad/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/354195_20230426ขอบคุณภาพจาก Xinhua

PowerChina เตรียมสร้างโรงไฟฟ้า “พลังงานลม” แห่งแรกในลาว

เวียงจันทน์, 26 เม.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันอังคาร (25 เม.ย.) นครหลวงเวียงจันทน์ของลาว จัดพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมมอนสูน ขนาด 600 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการแรกในประเทศที่ทำสัญญากับบริษัท พาวเวอร์ คอนสตรักชัน คอร์เปอเรชัน ออฟ ไชน่า จำกัด หรือพาวเวอร์ไชน่า (PowerChina) พิธีดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ลาวและจีนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก อาทิ สะเหลิมไซ กมมะสิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของลาว คำเจน วงโพสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนของลาว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอื่นๆ รวมถึงจ้าวเหวินอวี่ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและพาณิชย์ของสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำลาว และกลุ่มตัวแทนผู้พัฒนาและผู้รับเหมาโครงการฯ โพไซ ไซยะสอน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ของลาว กล่าวว่าโครงการโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะปูทางสู่การพัฒนาพลังงานลม รวมถึงมอบแรงผลักดันใหม่แก่การพัฒนาเศรษฐกิจและภาคพลังงานของประเทศ พร้อมหวังว่าโครงการฯ จะก่อสร้างอย่างราบรื่นด้วยแรงสนับสนุนจากทางการลาวในทุกระดับ หยางเจี้ยน รองผู้จัดการทั่วไปของสำนักงานใหญ่พาวเวอร์ไชน่า สาขาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่าบริษัทฯ จะใช้ข้อได้เปรียบด้านเทคโนโลยีและประสบการณ์อย่างเต็มที่เพื่อสร้างโครงการฯ เป็นเกณฑ์มาตรฐานของโครงการพลังงานใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนแบ่งปันความรู้และความแข็งแกร่งแก่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในลาว รวมถึงสร้างความสำเร็จครั้งใหม่แก่แผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) อนึ่ง โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมมอนสูนพัฒนาโดยบริษัท มอนสูน วินด์ พาวเวอร์ […]

วาง 10 มาตรการเข้ม เร่งเก็บกักน้ำ แก้แล้ง

กรุงเทพฯ 26 เม.ย.66 – “พล.อ.ประวิตร”สั่งการเร็ว เข้ม 10 มาตรการรับมือฤดูแล้ง เร่งเก็บกักน้ำช่วงฤดูฝนให้มากที่สุด    พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่าจากการติดตามผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการรับมือฤดูแล้งปี 2565 / 2566 ที่หน่วยงานต่างๆ ได้ บูรณาการการทำงานร่วมกัน พบว่า สามารถป้องกันและบรรเทาผลกระทบช่วงแล้งให้กับพี่น้องประชาชนได้เป็นอย่างดี การบริหารจัดการน้ำในภาพรวมยังเป็นไปตามแผน และอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ คาดว่าช่วงฤดูแล้งที่เหลืออีกไม่ถึง 1 เดือนจากนี้สถานการณ์ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก และน่าจะผ่านพ้นไปด้วยดี โดย สทนช. จะยังคงติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์แล้งร่วมกับหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ ของพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.การผลิตน้ำประปา 2. การเกษตรนอกเขตชลประทาน 3. กลุ่มไม้ผลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และ 4. ด้านคุณภาพน้ำ (น้ำเค็ม) จนกว่าจะสิ้นสุดฤดูแล้งนี้ สำหรับสถานการณ์พายุฤดูร้อนบริเวณตอนบนของประเทศขณะนี้ ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในแหล่งน้ำขนาดต่างๆ เล็กน้อย ดังนั้น หน่วยงานด้านการบริหารจัดการน้ำยังคงต้องเคร่งครัดการจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผน […]

กำลังผลิตติดตั้ง “โซลาร์เซลล์” ทั่วโลกพุ่งขึ้น 25% ในปี 2022

ฮิวสตัน, 24 เม.ย. (ซินหัว) — สถาบันเศรษฐศาสตร์พลังงานและการวิเคราะห์ทางการเงิน (IEEFA) รายงานกำลังการผลิตสะสมของเซลล์แสงอาทิตย์ (PV) แบบติดตั้งและแบบใช้งานแล้วทั่วโลกในปี 2022 เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 25 เนื่องด้วยการปรับขึ้นราคาในยุคหลังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) และการต่อสู้ทางภูมิรัฐศาสตร์ รายงานภาพรวมตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ระดับโลก ปี 2023 ซึ่งออกโดยองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่ากำลังการผลิตสะสมของเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งและแบบใช้งานแล้วทั่วโลกอยู่ที่ราว 1.2 เทระวัตต์ (TW) เมื่อนับถึงสิ้นปี 2022 และจีนยังคงเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตติดตั้งมากที่สุด สถาบันฯ อ้างอิงข้อมูลจากพีวีเทค (PV Tech) แหล่งข่าวเทคโนโลยี รายงานว่าปี 2022 มีการติดตั้งและใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลก 240 กิกะวัตต์ ซึ่งส่งผลให้กำลังการผลิตสะสมสูงแตะ 1,185 กิกะวัตต์ และจีนยังคงครองตำแหน่งมีกำลังการผลิตสะสมและกำลังการผลิตใหม่สูงสุด โดยมีการเพิ่มกำลังการผลิต 106 กิกะวัตต์ หรือร้อยละ 44 ของกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกด้านสหภาพยุโรป (EU) มีกำลังการผลิตติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ใหม่ 38.7 กิกะวัตต์ในปี 2022 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 27 […]

ชาวปักกิ่งหันมา “เดิน-ขี่จักรยาน” สูงสุดในรอบทศวรรษ

ปักกิ่ง, 24 เม.ย. (ซินหัว) — คณะกรรมาธิการการคมนาคมเทศบาลกรุงปักกิ่งของจีน พบว่าผู้อยู่อาศัยในเขตศูนย์กลาง 6 แห่งของปักกิ่งหันมาใช้การขนส่งที่ช้าลงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมาธิการฯ ระบุว่าผู้อยู่อาศัยเดินหรือขี่จักรยานถึงร้อยละ 49 ในปี 2022 ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนสูงสุดในรอบทศวรรษ โดยการเดินครองสัดส่วนการเดินทางร้อยละ 31.7 ขณะการขี่จักรยานครองสัดส่วนร้อยละ 17.3 อนึ่ง หน่วยงานในปักกิ่งดำเนินสารพัดมาตรการเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้การขนส่งที่ช้าลง ซึ่งมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จางหยาน เจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการฯ ในเขตไห่เตี้ยนของปักกิ่ง กล่าวว่าไห่เตี้ยนขยายเลนจักรยานยาว 319 กิโลเมตร และปรับปรุงทางเท้า 6 สาย ในปี 2022 – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230424/550376d388734e59ad546ed964389c0b/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/353734_20230424ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนเผยชุดภาพสี “ดาวอังคาร” ทั้งดวงครั้งแรก

เหอเฝย, 25 เม.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันจันทร์ (24 เม.ย.) องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ร่วมกันเผยแพร่ชุดภาพดาวอังคารทั้งดวงที่ได้จากภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีน ชุดภาพสีของดาวอังคารข้างต้นถูกเผยแพร่ ณ พิธีเปิดวันอวกาศจีน (Space Day of China) ในนครเหอเฝย เมืองเอกของมณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน ภาพเหล่านี้ประกอบด้วยการฉายภาพซีกตะวันออกและตะวันตกของดาวอังคาร เส้นโครงแผนที่แบบโรบินสันของดาวอังคาร รวมถึงเส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์และเส้นโครงแผนที่คงทิศทางของดาวอังคาร ซึ่งถูกประมวลผลตามมาตรฐานการจัดทำแผนที่ความละเอียดเชิงพื้นที่ 76 เมตร องค์การฯ ระบุว่าภาพเหล่านี้อ้างอิงจากข้อมูลภาพ 14,757 ภาพ ซึ่งได้มาจากกล้องบันทึกภาพการสำรวจระยะไกลบนยานโคจรเทียนเวิ่น-1 ระยะ 8 เดือน นับจากเดือนพฤศจิกายน 2021 จนถึงกรกฎาคม 2022 อนึ่ง ภารกิจเทียนเวิ่น-1 ประกอบด้วยยานโคจร ยานลงจอด และยานสำรวจพื้นผิว ถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศวันที่ 23 ก.ค. 2020 และเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารหลังจากเดินทางนาน 202 วัน ยานลงจอดที่บรรทุกยานสำรวจพื้นผิวจู้หรงได้ลงจอดบนดาวอังคาร วันที่ 15 พ.ค. 2021 […]

จีนจำลองวิธีสร้าง “ฐานปฏิบัติการ” บนดวงจันทร์ ผสานเทคนิคก่อสร้างจีนโบราณ

ปักกิ่ง, 22 เม.ย. (ซินหัว) — พลทหารหุ่นยนต์จำนวนมากกำลังวิ่งขวักไขว่อยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์ หุ่นยนต์บางตัวกำลังใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เพื่อเปลี่ยนทรัพยากรจากแหล่งกำเนิดบนดวงจันทร์ให้เป็นวัสดุก่อสร้าง ขณะที่บางตัวกำลังง่วนอยู่กับการก่ออิฐและการประกอบโครงสร้าง ภาพเหตุการณ์ข้างต้นไม่ใช่ฉากในภาพยนตร์ไซไฟแต่อย่างใด แต่เป็นไอเดียที่เกิดขึ้นในการทดลองจริงในห้องปฏิบัติการของนักวิทยาศาสตร์จีน ศาสตราจารย์ติงเลี่ยอวิ๋น ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวจง (Huazhong University of Science and Technology) ได้นำทีมเพื่อทำวิจัยเรื่องการสร้างฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์มาตั้งแต่ปี 2015 ทีมวิจัยของเขาได้เสนอแนวคิดในการผสมผสานการพิมพ์ 3 มิติเข้ากับเทคนิคการก่ออิฐ เซาะร่อง และทำเดือยแบบดั้งเดิมของจีน โดยใช้ดินจากดวงจันทร์ในการผลิตอิฐที่มีร่องและเดือย จากนั้นใช้หุ่นยนต์ประกอบโครงสร้างคล้ายกับการเล่นตัวต่อเลโก้ ติงกล่าวกับหนังสือพิมพ์ไชน่า ไซแอนซ์ เดลี (China Science Daily) ว่าวิธีนี้จะทำให้เราสร้างโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่บนดวงจันทร์ได้ ทั้งยังประหยัดพลังงานและช่วยลดต้นทุน การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างนอกโลกเช่นนี้ต้องเผชิญความท้าทายหลายประการ เนื่องจากดวงจันทร์มีสภาวะสุญญากาศระดับสูงยิ่งยวด และมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ต่างกันมากถึง 300-400 องศาเซลเซียส วิธีการก่อสร้างแบบดั้งเดิมจึงแทบไม่สามารถนำมาใช้ได้ ทั้งยังไม่สามารถรับประกันความเสถียรของโครงสร้างได้เช่นกัน นอกจากนี้ การที่ดวงจันทร์เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง มีรังสีคอสมิกสูง มีลมสุริยะ รวมถึงได้รับผลกระทบต่างๆ จากอุกกาบาตขนาดเล็ก บวกกับบนผิวดวงจันทร์นั้นมีสภาพภูมิประเทศที่ซับซ้อน การก่อสร้างในแหล่งกำเนิดบนพื้นผิวดวงจันทร์จึงเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนอย่างมากและต้องผสานความรู้หลากหลายสาขาวิขา ศาสตราจารย์ติงระบุว่าวัสดุต่างๆ เช่น […]

จีนโชว์เทคโนโลยีปลูก “ผักจากอวกาศ” ในซานตง

โซ่วกวง, 22 เม.ย. (ซินหัว) — สวนผักจำลองสภาพแวดล้อมในอวกาศ เช่น การแผ่รังสีระดับรุนแรง สภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ และสุญญากาศขั้นสูง ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพืชผักนานาชาติจีน ครั้งที่ 24 เมืองโซ่วกวง ฐานเพาะปลูกผักแห่งสำคัญในมณฑลซานตงทางตะวันออกของจีน เปิดม่านงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพืชผักนานาชาติจีน ครั้งที่ 24 เมื่อวันพฤหัสบดี (20 เม.ย.) ที่ผ่านมา ผู้คนที่แวะเวียนมาชมงานมหกรรมฯ ให้ความสนใจกับสวนผักที่จำลองสภาพแวดล้อมในอวกาศอย่างมาก หม่าจุนเจวียน เจ้าหน้าที่งานมหกรรมฯ ระบุว่า “แคปซูลอวกาศ” นี้ได้จำลองสภาพพิเศษในอวกาศ เช่น การแผ่รังสีระดับรุนแรง สภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ และสุญญากาศขั้นสูง โดยมีการนำพืชผักมาปลูกภายใต้สภาวะเหล่านี้ สวนผักนี้ยังใช้แสงแดดเทียม เทคโนโลยีการเพาะปลูกไร้ดิน การควบคุมสภาพแวดล้อมอัจฉริยะ และเทคโนโลยีอื่นๆ โดยมีการนำเมล็ดพันธุ์ผักที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเพื่อทดสอบการขยายพันธุ์มาปลูกที่สวนด้วย อนึ่ง จีนทำการทดลองขยายพันธุ์พืชในอวกาศครั้งแรกในปี 1987 โดยส่งเมล็ดพืชไปกับดาวเทียมและส่งกลับมายังโลกหลังจากได้รับรังสีคอสมิก นับตั้งแต่นั้นเมล็ดพันธุ์พืชหลายร้อยชนิดก็ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศพร้อมกับดาวเทียมและยานอวกาศเสินโจว (Shenzhou) ที่สามารถเก็บกู้ชิ้นส่วนได้ – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230421/f311468ab8b1489a9e98f0ddbf80ae08/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/353368_20230423ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนถอดรหัส “ซีกไผ่” เก่า 2,000 ปี บันทึกความรู้การแพทย์โบราณ

เฉิงตู, 23 เม.ย. (ซินหัว) — มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน รายงานว่าคณะนักวิจัยของจีนได้เผยแพร่เนื้อหาการแพทย์ดั้งเดิมที่หายสาบสูญไปเป็นเวลานาน ซึ่งเชื่อว่าเขียนโดยเปี่ยนเช่ว์ ผู้บุกเบิกการแพทย์ยุคจีนโบราณ โดยถอดรหัสจากซีกไผ่ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี ซีกไผ่จากราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (202 ปีก่อนคริสต์ศักราช-ปี 25) ถูกขุดพบจากกลุ่มหลุมศพในตำบลเทียนหุย นครเฉิงตู เมืองเอกของซื่อชวน เมื่อปี 2012 โดยการศึกษาเพิ่มเติมชี้ว่าซีกไผ่ดังกล่าวบันทึกวรรณกรรมทางการแพทย์อันล้ำค่าของโรงเรียนที่เปี่ยนเช่ว์เคยเป็นลูกศิษย์ ช่วงยุควสันตสารทหรือยุคชุนชิว และยุครณรัฐหรือยุคจ้านกั๋ว (770-221 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เปี่ยนเช่ว์ได้หยิบยกประสบการณ์และองค์ความรู้จากบรรพบุรุษ และนำเสนอวิธีวินิจฉัย 4 วิธี ได้แก่ ตรวจสอบ ฟัง-ดมกลิ่น สอบถาม และกดคลำ ซึ่งวางรากฐานสำหรับการวินิจฉัยและการรักษาของแพทย์แผนจีน (TCM) ซีกไผ่ดังกล่าวเสียหายและอ่อนตัวเหมือนเส้นก๋วยเตี๋ยวเนื่องจากจมน้ำอยู่นานกว่า 2,000 ปี ส่งผลให้การฟื้นฟูและวิจัยยากลำบากขึ้นหลายเท่า ทว่าท้ายที่สุดคณะนักโบราณคดี ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แผนจีน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญการปกป้องและบูรณะโบราณวัตถุ สามารถบูรณะซีกไผ่ 930 แผ่น ที่มีตัวอักษรจีนอยู่กว่า 20,000 ตัว หลังจากทุ่มเทความพยายามนานนับสิบปี อนึ่ง มีการคาดการณ์ว่าซีกไผ่ข้างต้นเป็นชุดเอกสารการแพทย์โบราณที่มอบรายละเอียดเนื้อหาครบครันที่สุด […]

ทางรถไฟจีน-ลาว หนุนส่งออก “ทุเรียนไทย” ป้อนตลาดจีนรวดเร็ว

แหลมฉบัง/คุนหมิง, 20 เม.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันพุธ (19 เม.ย.) ขบวน “รถไฟผลไม้” บรรทุกทุเรียนและมังคุดของไทย จำนวน 23 ตู้คอนเทนเนอร์ ได้เดินทางถึงนครคุนหมิง รถไฟขบวนนี้มีต้นทางจากแหลมฉบัง ท่าเรือแห่งสำคัญของไทย และวิ่งถึงจุดหมายปลายทางในจีนโดยผ่าน “ทางรถไฟจีน-ลาว” ซึ่งปัจจุบันกำลังกลายเป็น “ทางด่วน” ของบรรดาผู้ส่งออกชาวไทยในการเข้าถึงตลาดจีนอย่างรวดเร็ว อรทัย เอื้อตระกูล วัย 67 ปี อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนำเข้าและส่งออกสินค้าพืชของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย เผยกับสำนักข่าวซินหัวว่าเมื่อก่อนทุเรียนส่วนใหญ่ถูกส่งออกสู่จีนทางถนนและทางทะเล ซึ่งเป็นเส้นทางที่เอาแน่เอานอนไม่ได้เพราะหลายปัจจัยอย่างสภาพอากาศเลวร้าย ทำให้บางครั้งใช้เวลาขนส่งนานกว่า 20 วัน แต่ปัจจุบันทุเรียนไทยถูกขนส่งถึงคุนหมิงภายใน 3 วัน ด้วยอานิสงส์จากการขนส่งแบบห่วงโซ่ความเย็นบนทางรถไฟจีน-ลาว ซึ่งอรทัยแสดงความหวังว่าจะช่วยให้ผู้บริโภคชาวจีนได้เพลิดเพลินกับทุเรียนสดใหม่และสุกอร่อยเหมือนกับชาวไทยเพิ่มขึ้น นที ชวนสนิท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD) กล่าวว่าปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกทุเรียนแห่งสำคัญที่สุดของไทย และหวังว่าผู้บริโภคชาวจีนจะได้ชิมทุเรียนรสชาติดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยขยับขยายตลาดทุเรียนไทย อนึ่ง ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ของไทยระบุว่าจีนเป็นตลาดส่งออกทุเรียนไทยขนาดใหญ่สุดในปี 2022 ครองสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 96 ของปริมาณการส่งออกทุเรียนทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 3.09 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว […]

“หญิงชาวเหมียว” สระผมริมน้ำ รับเทศกาลซานเย่ว์ซาน

หรงสุ่ย, 20 เม.ย. (ซินหัว) — หญิงสาวกลุ่มชาติพันธุ์เหมียวจับกลุ่มเดินไปสระผมยาวดำขลับริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลซานเย่ว์ซานที่กำลังจะมาถึง ในหมู่บ้านตั่งจิว ตำบลกานต้ง อำเภอปกครองตนเองหรงสุ่ย กลุ่มชาติพันธุ์เหมียว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน ผู้คนมักร่วมจัดกิจกรรมหลายรายการเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลดังกล่าว อันเป็นเทศกาลดั้งเดิมซึ่งตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติจีน – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230420/ea49019df4e144cfafb3cf3578c4abb9/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/352908_20230420ขอบคุณภาพจาก Xinhua

เมล็ดพันธุ์พืชชั้นยอดจากจีนและไทย สร้างรายได้ให้เกษตรกรสองประเทศ

หนานหนิง, 16 เม.ย. (ซินหัว) — เหลียงจงอู่วัย 48 ปี ชาวบ้านในตำบลถานลั่ว เขตซีเซียงถัง นครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีน เป็นหนึ่งในผู้ปลูกฟักทองพันธุ์ศรีเมือง 16 ของไทย ยุ่งเป็นพิเศษในช่วงนี้เนื่องจากฟักทองเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว เหลียงกล่าวว่าฟักทองพันธุ์นี้จากประเทศไทย มีรสชาติหอมหวานกว่า แถมยังโตเร็วและให้ผลผลิตมากกว่าฟักทองทั่วไป ทำให้ต้นทุนในการปลูกน้อยลงแต่ขายได้ราคาสูงขึ้น สร้างรายได้ 5,000-6,000 หยวนต่อหมู่” (ราว 25,000-30,000 บาทต่อพื้นที่ 666 ตารางเมตร) และเป็นแหล่งรายได้หลักของครอบครัว ฟักทองข้างต้นเป็นหนึ่งในพืชผักที่มีการเพาะปลูกในโครงการนำร่องศูนย์ชนบทระดับชาติ (Rural Complex) “เหม่ยลี่หนานฟาง” ในเขตซีเซียงถัง เมืองหนานหนิง โดยศูนย์ดังกล่าวเป็นโครงการของรัฐบาลจีนที่มุ่งให้ชาวบ้านในท้องถิ่นมีอาชีพและสร้างชุมชนเพื่อดึงดูดผู้อยู่อาศัยใหม่ รวมถึงดึงดูดนักท่องเที่ยวจากย่านเมือง ภายในศูนย์ฯ แห่งนี้ ปลูกพืชผักผลไม้ไทยหลายขนิด อาทิ มะระ ข้าวโพดหวาน แตงโม และแตงกวา โดยฟักทองสายพันธุ์ไทยนั้นบริษัทฯ ได้เมล็ดพันธุ์ที่นำเข้ามาในจีนโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี กรุ๊ป) อีกฟากหนึ่งในจังหวัดนครปฐมของไทย สวนสาธิตเกษตรขนาด 150 หมู่ (ราว […]

1 4 5 6 7 8 26