ชัวร์ก่อนแชร์: ห้ามใช้น้ำดับเพลิงไหม้รถ EV จริงหรือ?

แบตเตอรี่ Lithium-Ion ในรถยนต์ EV ไม่มีโลหะลิเทียมเป็นส่วนประกอบของแบตเตอรี่ ไฟที่เกิดจากรถยนต์ EV จึงไม่ใช่ไฟ Class D หรือไฟที่เกิดจากโลหะซึ่งห้ามใช้น้ำดับไฟ ดังนั้นเพลิงไหม้รถยนต์ EV จึงสามารถใช้น้ำดับได้

ชัวร์ก่อนแชร์: รถ EV สิ้นเปลืองมากกว่าการใช้รถน้ำมัน จริงหรือ?

ผลการเปรียบเทียบในหลายประเทศ พบว่าการใช้รถ EV ประหยัดค่าพลังงานมากกว่ารถน้ำมัน ส่วนราคาสุทธิการเป็นเจ้าของรถยนต์ EV จะถูกกว่าการเป็นเจ้าของรถน้ำมันในอนาคต

ชัวร์ก่อนแชร์: ยาปลุกเซ็กซ์ทำให้ผู้ป่วยเอดส์เป็นมะเร็ง จริงหรือ?

แม้การใช้ป๊อปเปอร์จะมีผลต่อภูมิคุ้มกัน แต่สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเอดส์เป็นมะเร็งชนิดคาโปซิ ซาร์โคมา มาจากสภาวะระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ชัวร์ก่อนแชร์: ยาต้านไวรัส AZT ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงตายมากกว่าเชื้อเอดส์ จริงหรือ?

แม้ยา AZT จะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้มากและทำให้เกิดไวรัสดื้อยาได้ง่าย แต่ก็ช่วยให้วงการแพทย์พบว่าการรักษาผู้ป่วยเอดส์จำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสหลายสูตร

ชัวร์ก่อนแชร์: สมมุติฐานดูสเบิร์ก : HIV ≠ AIDS จริงหรือ?

สมมุติฐานดูสเบิร์กเคยถูกใช้กำหนดนโยบายรับมือโรคเอดส์ในแอฟริกาใต้ ทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคเอดส์มากกว่า 3 แสนราย

ชัวร์ก่อนแชร์: “โดนัลด์ ทรัมป์” แฉ “พ่อของคู่แข่งเลือกตั้ง” เคยร่วมงานกับมือสังหาร “เจเอฟเค” จริงหรือ?

การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญไม่พบหลักฐานว่าชายที่ถ่ายภาพร่วมกับมือสังหารเจเอฟเค เป็นคนเดียวกับพ่อคู่แข่งเลือกตั้งของ โดนัลด์ ทรัมป์

ชัวร์ก่อนแชร์: “ซีไอเอ” ยอมรับวางแผนลอบสังหาร “เจเอฟเค” จริงหรือ?

เอกสารเกี่ยวกับการลอบสังหารเจเอฟเคที่เปิดเผยแล้วประมาณ 99% ไม่พบหลักฐานว่า CIA มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนลอบสังหาร

ชัวร์ก่อนแชร์: “เจเอฟเค” เตรียมแฉแผนลับ ก่อนถูกลอบสังหาร จริงหรือ?

ไม่มีหลักฐานว่าเจเอฟเคเคยพูดหรือเขียนข้อความสื่อถึงความตั้งใจที่จะเปิดโปงแผนลับการถูกลอบสังหาร

ชัวร์ก่อนแชร์: นสพ.ตีข่าว “เจเอฟเค” รอดตายจากการลอบสังหาร จริงหรือ?

27 พฤศจิกายน 2566แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อมีการแชร์ข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์เก่าที่รายงานว่า จอห์น เอฟ. เคนเนดี อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่โด่งดังไปทั่วโลกจากเหตุลอบสังหารเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 1963 แท้จริงแล้วกลับรอดชีวิตจากการเหตุการณ์ครั้งนั้นมาได้ บทสรุป : เป็นข่าวพาดหัวจากจินตนาการของ สตีเฟน คิง นักเขียนนิยายสยองขวัญ ที่ปรากฏบนหลังนิยายเรื่อง 11/22/63 ที่ตีพิมพ์ในปี 2011 FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบโดย Reuters Fact Check ยืนยันว่า ข้อความไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และไม่ใช่การรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์เช่นกัน ข้อความพาดหัวข่าวที่ถูกแชร์ นำมาจากปกหลังของนิยายปี 2011 เรื่อง 11/22/63 นิยายลำดับที่ 49 ของ สตีเฟน คิง นักเขียนนิยายสยองขวัญชื่อดังชาวอเมริกัน เนื้อหาของ 11/22/63 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ธารน้ำแข็งโลกไม่เคยลดลงตลอด 100 ปีที่ผ่านมา จริงหรือ?

จำนวนธารน้ำแข็งไม่ใช่สิ่งวัดปริมาณน้ำแข็งของขั้วโลก เพราะในฤดูร้อนที่ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ละลาย จะก่อให้เกิดธารน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากเช่นกัน

1 17 18 19 20 21 31