กยท. คลอด “โฉนดต้นยางพารา” ใช้ค้ำประกันเงินกู้จากธ.ก.ส.

กรุงเทพฯ 12 ม.ค. – รมว. เกษตรฯ เป็นประธานการลงนาม MOU  ระหว่างกยท. และธ.ก.ส. เรื่อง “การส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มสวนยางพาราและการจัดทำโฉนดต้นยางพารา” เพื่อแปลงสินทรัพย์เป็นทุนให้เกษตรกร โดยสามารถนำโฉนดต้นยางพาราเป็นเอกสารค้ำประกันเงินกู้ในการต่อยอดอาชีพได้


ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีลงนาม MOU ระหว่างนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และนายณรงค์ ขันติวิริยะกุล รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เรื่อง “การส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มสวนยางพารา และการจัดทำโฉนดต้นยางพารา” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแปลงสินทรัพย์จากสวนยางเป็นทุน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่ชาวสวนยางพารา ตลอดจนขับเคลื่อนโครงการ Carbon Credit ในสวนยางพารา เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายจัดทำโครงการโฉนดต้นไม้สำหรับต้นไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อให้เกษตรกรนำไม้ยืนต้นไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงินกับธ.ก.ส. เป็นการเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับเกษตรกร เพื่อต่อยอดอาชีพด้านการเกษตรได้อย่างยั่งยืน การร่วมมือกันของทั้งสองหน่วยงานในการจัดทำโฉนดต้นยางพาราครั้งนี้ จึงเป็นการขับเคลื่อนให้เกษตรกรชาวสวนยางสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินได้มากขึ้นและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทั้งสองหน่วยงานจะร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพารา อาทิ การขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ Carbon Credit ในสวนยางพารา การส่งเสริมการขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความกินดีอยู่ดีของเกษตรกรไทย


นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการกยท. ว่า กยท. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ร่วมมือกับธ.ก.ส. บรรจุต้นยางพาราให้เป็นไม้ชนิดหนึ่งในระบบค้ำประกันเงินกู้ และดำเนินการจัดทำโฉนดต้นยางพาราเพื่อใช้เป็นหลักประกันเงินกู้จากธ.ก.ส. ซึ่งเกษตรกรที่สามารถขอรับโฉนดต้นยางจะต้องขึ้นทะเบียนกับกยท. และมีสวนยางตั้งอยู่บนดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุนสำหรับการประกอบอาชีพการทำสวนยางซึ่งจะใช้โฉนดต้นยางพาราเป็นเอกสารประกอบการขอรับบริการสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่ให้บริการ

ทั้งนี้กยท. จะเป็นผู้ประเมินราคาต้นยางพาราที่จะนำมาใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อกับธ.ก.ส. และจัดทำโฉนดต้นยางพาราเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาขอสินเชื่อของ ธ.ก.ส. ทุกครั้ง ทั้งนี้ จะผลักดันให้สามารถใช้ได้กับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ตลอดจนใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวน โดยจะเร่งบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ต่อไปโดยเร็ว

ทั้งนี้หลังจากลงนาม MOU ร่วมกัน กยท. และ ธ.ก.ส. จะอบรมผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ทั่วประเทศ ให้มีความรู้เรื่องวิธีการประเมินมูลค่าไม้ยางพารา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของทั้งสองหน่วยงานร่วมกันประเมินมูลค่าไม้ยางพาราสำหรับใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ ตลอดจนบูรณาการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรม และพัฒนาศักยภาพด้านการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ Carbon Credit ในสวนยาง ส่งเสริมให้เกษตรกรร่วมกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกสร้างสมดุลเชิงนิเวศ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการขายผลผลิตจากยางพาราเพียงอย่างเดียว


นายณรงค์ ขันติวิริยะกุล รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า การร่วมมือกับกยท. ในครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์กับและ ธ.ก.ส. เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราและบุคลากรของธ.ก.ส. เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำนวัตกรรมไปพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต การส่งเสริมการจัดทำโฉนดต้นยางพารา เพื่อใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อกับ ธ.ก.ส.

นอกจากนี้ธ.ก.ส. และกยท. พร้อมร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจสีเขียวตามนโยบายด้านการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ที่มีการส่งเสริมให้เกษตรกรนำสวนยางพาราไปขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program : T-VER) รวมถึงเข้าร่วมโครงการ BAAC Carbon Credit ที่จะช่วยสร้างอาชีพเสริมและสร้างรายได้ให้เกษตรกร ซึ่ง ธ.ก.ส. เตรียมเปิดตัวการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ที่ธนาคารต้นไม้บ้านท่าลี่และบ้านแดง จังหวัดขอนแก่น . 512 – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

วันที่ 11 ปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. ถล่ม

วันที่ 11 ของปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. พังถล่ม เจ้าหน้าที่เดินหน้าใช้เครื่องจักรหนักเข้า เคลียร์ซากต่อเนื่อง โดยเฉพาะโซนบี และซี ที่คาดว่าเป็นจุดที่มีผู้ติดค้างอยู่จำนวนมาก

ชุดค้นหาลงโพรงโซน B, C ลึก 5-6 เมตร ได้กลิ่นแรง ไม่พบผู้สูญหาย

“กู้ภัย” เผยเจาะโพรงพื้นที่โซน B และ C ได้แล้ว พร้อมส่งชุดค้นหาลงโพรงไปตรวจสอบลึก 5-6 เมตร ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม แต่ได้กลิ่นแรง เร่งเดินหน้าเครื่องจักรหนักเคลียร์ซากต่อเนื่อง ยันจะช่วยเหลือจนกว่านำร่างสุดท้ายออกมาครบ