อธิบดีคพ. เปิดแผนรับมือฝุ่น PM2.5 ปี 2566

กรุงเทพฯ 27 ธ.ค. – อธิบดีกรมควบคุมมลพิษเผย พร้อมดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ที่คาดว่า ต้นปี 2566 อาจสะสมเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยจะบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนเฉพาะกิจที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบ ย้ำให้ประชาชนติดตามข่าวสารและการแจ้งเตือนอย่างใกล้ชิด


นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษและผู้อำนวยการศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) กล่าวว่า ได้เตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ในการป้องกันและแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยคาดว่า ต้นปี 2566 อาจมีสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่มีบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ฝุ่น PM2.5 เกิดการสะสมจนเกินมาตรฐานได้

นอกจากนี้ยังประเมินปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอาจทำให้ในเมืองมีปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้น ส่วนพื้นที่เกษตรอาจมีการเผาวัสดุการเกษตรเพื่อเตรียมเพาะปลูกโดยมีแรงจูงใจจากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น ส่วนพื้นที่ป่า ปริมาณเชื้อเพลิงที่สะสม อาจทำให้เกิดไฟป่า


ที่ผ่านมา ศกพ.ได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2565 มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 กรมควบคุมมลพิษ จัดทำแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เห็นชอบ โดยมี 3​ พื้นที่ 7 มาตรการประกอบด้วย

  • 1) เร่งรัดการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและแจ้งเตือนล่วงหน้า 7 วันทุกพื้นที่
  • 2) ยกระดับมาตรการการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • 3) ยกระดับการบริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบครบวงจร (ชิงเก็บ ลดเผา และ Burn Check)
  • 4) กำกับดูแลการดำเนินการในทุกระดับอย่างเข้มงวด ติดตามผลการดำเนินการและประเมินสถานการณ์เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
  • 5) ลดจุดความร้อน ป้องกันและควบคุมการเกิดไฟในทุกพื้นที่ และพัฒนาระบบพยากรณ์ความรุนแรงและอันตรายของไฟ (Fire Danger Rating System : FDRS)
  • 6) ผลักดันกลไกระหว่างประเทศ เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • 7) ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน ไฟป่า และฝุ่นละออง

สำหรับพื้นที่เป้าหมายในการลดการระบายฝุ่นละอองครอบคลุมดังนี้

1) พื้นที่เมือง แหล่งกำเนิดมาจากการจราจรและโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงเน้นมาตรการในการป้องกันการเกิดปัญหาและมาตรการแก้ไขปัญหา ดังนี้


– ด้านการจราจร ขอความร่วมมือให้บำรุงรักษาเครื่องยนต์ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้มีการกำหนดโครงการ อาทิ โครงการรถรัฐลดมลพิษ โครงการคลินิกรถ ลดฝุ่น PM2.5 ร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ให้บริการตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ฟรี และลดค่าน้ำมันเครื่อง ค่าอะไหล่ และค่าแรงเป็นพิเศษ การน้ำมันกำมะถันต่ำมาจำหน่ายในช่วงวิกฤต ฝุ่น PM2.5 รวมถึงการเพิ่มความเข้มงวดตรวจวัดควันดำและขยายพื้นที่ตรวจวัดควันดำเพื่อควบคุมตั้งแต่ต้นทาง เช่น บริษัทรถบรรทุก  สถานีขนส่ง และอู่รถโดยสารสาธารณะประจำทางและไม่ประจำทาง อู่รถโดยสาร ขสมก. เป็นต้น

– ด้านโรงงานอุตสาหกรรม จะมีการตรวจกำกับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มในการปล่อยมลพิษสูง ร้อยละ 100 ตลอดปี  โดยในช่วงวิกฤตระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2565 จะเร่งตรวจกำกับโรงงานเชิงรุกโดยเฉพาะโรงงานที่มีความเสี่ยงในการปล่อยฝุ่นละอองจากกระบวนการเผาไหม้ และกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของฝุ่น โดยโรงงานที่มีความเสี่ยงในการปล่อยฝุ่นละอองประกอบด้วย โรงงานที่ใช้หม้อน้ำ โรงงานที่ใช้ถ่านหิน โรงงานหลอมเหล็ก โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จโรงงานแอสฟัลติก รวมทั้งสิ้น 896 โรงงาน นอกจากนี้ยังมีการควบคุมสถานประกอบการ ได้แก่ กิจการผสมซีเมนต์ กิจการหลอมโลหะ อู่พ่นสีรถยนต์ กิจกรรมผลิตธูป เป็นต้น

2) พื้นที่เกษตร แหล่งกำเนิดฝุ่นละอองมาจากการเผาเศษวัสดุการเกษตร ดังนั้นจึงเน้นการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรเพื่อลดการเผาในพื้นที่การเกษตร สร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผา โดยกำหนดเป้าหมายใน 62 จังหวัด เกษตรกรจำนวน 17,640 คน และตั้งเป้าหมายในการลดจำนวนจุดความร้อนร้อยละ 10%

3) พื้นที่ป่า แหล่งกำเนิดฝุ่นละอองที่สำคัญมาจากไฟป่า ดังนั้นจึงเน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ ป้องกันไฟป่า การบริหารจัดการเชื้อเพลิงด้วยวิธีชิงเก็บลดเผา ไม่น้อยกว่า 3,000 ตัน บูรณาการกับทุกภาคส่วน ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือในการควบคุมไฟป่า การประยุกต์ใช้ระบบพยากรณ์ระดับชั้นอันตรายของไฟ (Fire Danger Rating System: FDRS) และดับไฟป่า โดยกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดให้ลดจำนวนจุดความร้อนละ 20% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง ทั้งนี้ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูล ข่าวสาร การรายงานคุณภาพอากาศ การคาดการณ์คุณภาพอากาศ และการแจ้งเตือนได้ที่เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน Air4thai หรือ แฟนเพจศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“พิธา-ทักษิณ” ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

“พิธา” ลงพื้นที่ตลาดต้นลำไย จ.เชียงใหม่ พบปะพี่น้องประชาชน ด้านพรรคเพื่อไทย “ทักษิณ” ขึ้นเวทีแนะนำ “พิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือ สว.ก๊อง” ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

ไตรภาคีเคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค.68

ไตรภาคี เคาะค่าจ้าง 400 บาท ลูกจ้าง 4 จังหวัด 1 อำเภอ “ภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อ.เกาะสมุย” มีผล 1 ม.ค.68 ขึ้นค่าจ้าง 7-55 บาท 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้วันละ 337 บาท

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น