เสพข่าวมากไป เสี่ยงภาวะ Headline Anxiety

ในยุคที่การติดตามข่าวทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ปลายนิ้ว ผู้คนจึงสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น ส่งผลให้เกิดอาการท้วมท้น (overwhelm) จนจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ยาก


ภาวะ headline anxiety คืออะไร ?

ภาวะ headline anxiety หรือ headline stress disorder ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะเครียดหรือวิตกกังวลที่เกิดจากการเสพข่าวจากสื่อต่าง ๆ มากเกินไป ซึ่งจัดเป็นปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนึ่งที่เกิดจากพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของเราในระยะเวลานาน จนมีอาการจิตตก วิตกกังวล และเครียด

อาการโดยทั่วไป

อาการทั่วไปที่เหนได้ชัดเจน คือ อาการใจสั่น แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า หรืออาจมีอาการฉุนเฉียว โกรธง่าย ซึ่งอาจแสดงออกเพียงชั่วครั้งชั่วคราว และเป็นเฉพาะวันนั้น ๆ ที่เราจดจ่อกับข่าวมากเกินไป


อาการข้างต้นถือเป็นสัญญานเตือนของปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ที่อาจตามมาในภายหลังได้ หากเรายังปล่อยให้ความวิตกกังวลคงอยู่ และยังไม่เลิกพฤติกรรมดังกล่าว อาการอาจหนักขึ้นและมีโอกาสส่งผลต่อการเกิดโรคบางอย่างได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรควิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้า

กลุ่มทีมีความเสี่ยงต่อภาวะ Headline Anxiety

ผู้ที่มีภาวะเหนื่อยล้าทั้งกายและใจมาก่อน: เช่น คนที่เครียดเรื่องงาน การเงิน หรือมีปัญหาชีวิตส่วนตัวเป็นทุนเดิม อาจมีจิตใจที่อ่อนไหวต่อข่าวต่าง ๆ ง่าย เนื่องจากความเครียดที่มีก่อนหน้านี้ถูกกระตุ้นด้วยเนื้อหาข่าวที่สะเทือนใจ ส่งผลให้มีภาวะ headline anxiety ง่ายกว่าคนทั่วไป

ผู้ที่มีโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า: คนที่มีปัญหาสุขภาพจิตอาจมีอาการแย่ลง หากได้รับข่าวสารที่น่ากังวล หรือเกิดความเครียด โอกาสที่จะเกิดภาวะ headline anxiety จึงสูงกว่าคนปกติ


ผู้ที่ใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์บ่อย ๆ: คนที่ติดโซเชียลมีเดีย หรือใช้เวลาอยู่กับโลกออนไลน์นาน ๆ เสี่ยงเป็นภาวะ headline anxiety เนื่องจากมีข่าวมากมายหลายประเภทที่ยังไม่ถูกตรวจสอบและคัดกรอง ปะปนกันอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้คนกลุ่มนี้มีโอกาจที่จะได้รับข่าวปลอมสูง และเกิดอาการเครียดจากเนื้อหาที่ปลุกปั่นได้ในเวลาต่อมา

คนที่ขาดวิจารณญาณในการเสพข่าว: ผู้รับสารแต่ละคนมีวุฒิภาวะหรือบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน  บางคนอาจไม่มีประสบการณ์ในการวิเคราะห์ข่าวมากพอ ทำให้พวกเขามีแนวโน้มเชื่อพาดหัวข่าวได้ง่าย โดยที่ไม่ได้อ่านรายละเอียดเนื้อหาข้างใน จึงมีโอกาสตื่นตระหนกกับข้อความบนพาดหัวข่าวที่มีลักษณะค่อนข้างรุนแรงและกระตุ้นความรู้สึกผู้อ่าน

คำแนะในการรับมือที่เหมาะสม

การจำกัดเวลาในกรเสพข่าว: พยายามกำหนดเวลาในการเล่นโซเชียลอย่างเคร่งครัด แบ่งเวลาให้ชัดเจนว่าตอนไหนควรพอ ตอนไหนควรตามข่าว และหากอาการยังไม่ดีขึ้น ลองงดเสพข่าวสักพัก หยุดรับข่าวสารที่ไม่ได้มีผลกระทบกับตนเองโดยตรง หรืออาจจะงดการใช้โซเชียลมีเดียไปสักพักใหญ่ ๆ

อย่าเชื่อพาดหัวข่าวที่เห็นในทันที: ลักษณะการใช้คำของพาดหัวข่าวมักจะเกินจริงเสมอ เพื่อต้องการให้คนอ่านสนใจกดเข้าไปดู เพราะฉะนั้นเราไม่ควรให้ความสำคัญมากไปกว่าเนื้อหาภายใน เพราะสิ่งที่พาดหัวข่าวสื่ออาจไม่ได้ตรงกับสิ่งที่เนื้อข่าวเล่าก็ได้

ตรวจสอบข่าวก่อนปักใจเชื่อ: การตรวจสอบข็อเท็จจริงจะช่วยกรองข่าวที่ส่งผลกระทบกับจิตใจเราออกไปได้มาก เนื่องจากข่าวปลอมข้อมูลเท็จส่วนใหญ่มักจะมีเนื้อหาที่สร้างความตื่นตระหนกและหวาดกลัว

ลองเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ดูบ้าง: การหมกหมุ่นอยู่กับข่าวคนเดียวยิ่งทำให้มีอาการแย่ลง เนื่องจากไม่มีเรื่องอื่นมาช่วยหันเหความสนใจ ลองหากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำเมื่อรู้ตัวว่ากำลังมีอาการเครียดอาจช่วยได้ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือออกไปพูดคุยกับคนอื่นเพื่อให้เลิกจมอยูกับความคิดด้านลบ  

พยายามมองหาสิ่งดี ๆ ในข่าวที่อ่าน: ทุกสิ่งทุกอย่างมีทั้งด้านดีและด้านร้ายเสมอ ข่าวสารก็เช่นกัน อย่ามองโลกในแง่ร้ายจนเกินเหตุและพยายามหาประโยชน์หรือข้อดีของข่าวนั้น ๆ แต่หากไม่เป็นผล การเปลี่ยนเนื้อหาข่าวในการติดตามอาจช่วยได้ ลองเปลี่ยนไปอ่านข่าวที่ทำให้รู้สึกมีกำลังใจ หรือดีใจไปกับบุคคลในข่าวนั้น ๆ  

ทั้งนี้ หากทำตามคำแนะนำข้างต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น อาจลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาสุขภาพจิต เช่น การโทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือไปพบนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ด้วยตนเอง

เรียบเรียงบทความโดย: ชณิดา ภิรมณ์ยินดี

ที่มา: Mahidol Chanel


ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“พิธา-ทักษิณ” ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

“พิธา” ลงพื้นที่ตลาดต้นลำไย จ.เชียงใหม่ พบปะพี่น้องประชาชน ด้านพรรคเพื่อไทย “ทักษิณ” ขึ้นเวทีแนะนำ “พิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือ สว.ก๊อง” ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

ไตรภาคีเคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค.68

ไตรภาคี เคาะค่าจ้าง 400 บาท ลูกจ้าง 4 จังหวัด 1 อำเภอ “ภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อ.เกาะสมุย” มีผล 1 ม.ค.68 ขึ้นค่าจ้าง 7-55 บาท 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้วันละ 337 บาท

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น