สำนักข่าวไทย 27 ก.ค.- แนวทางผ่อนคลายมาตรการของสถานศึกษาทางศบค.ได้ให้กรมควบคุมโรคและกระทรวงศึกษาธิการประเมินผลร่วมกัน จากข้อมูลสถิติผู้ป่วยสะสมโรคโควิด-19 ของประเทศไทย
1.กลุ่มเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีการติดเชื้อค่อนข้างต่ำ ประมาณ (1-6%)
2.กลุ่มอายุ 0-9 ปี 62 ราย (1.9%)
3.กลุ่มอายุ 10-19 ปี 126 ราย (3.87%)
ไม่เคยพบการป่วยเป็นกลุ่มก้อนในโรงเรียน และยังไม่มีการระบาดในโรงเรียน
จากข้อสังเกตของนักวิชาการ ที่ว่าเด็กติดเชื้อน้อยกว่า เกิดจากตัวรับเชื้อในโพรงจมูกของเด็กน้อยกว่าผู้ใหญ่ ทำให้มีโอกาสในการรับเชื้อน้อยไปด้วย สิ่งที่น่ากังวลคือเด็กอาจจะเป็นพาหะนำ เชื้อไปแพร่สู่ครอบครัวที่เป็นผู้ใหญ่ได้ ตอนนี้มี 4,528 โรงเรียนที่ยังใช้วิธีการให้เด็กสลับเวลาเรียน เนื่องจากเด็กมีจำนวนมากกว่าห้องเรียน ทำให้เด็กได้รับผลกระทบที่ไม่ได้เรียนในห้องเรียนเป็นเวลานาน
1. การเรียนรู้ของนักเรียนถดถอยลง
2.การเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษา
3.ผลกระทบทางโภชนาการ
4.ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
5.การออกจากการเรียนกลางคัน
6.ผู้ปกครองอาจจะต้องลางาน สูญเสียรายได้
จึงมีการประชุมรวมกันของกรมควบคุมโรคและกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณาผ่อนคลาย แต่ต้องมีมาตรการที่เข้มข้นขึ้น
1.ให้นักเรียนไปเรียนได้ตามปกติจัดห้องเรียน
2.ให้จัดโต๊ะเรียนให้ห่างกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. กรณีห้องแอร์ ให้เปิดประตู หน้าต่าง ช่วงพักเที่ยงหรือช่วงที่ไม่มีการเรียนการสอนมีการ
4. บันทึกข้อมูลการป่วยโรคทางเดินหายใจกำกับโดยคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
5. ปรับมาตรการ ตามสถานการณ์ การระบาดและข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนั้นเป็นระยะๆ
จากผลตรวจประเมินและติดตามหลังเปิดภาคเรียน พบว่าสถานศึกษาร้อยละ 99.47 มีมาตรการการป้องกันอย่างครบถ้วน มีไม่ครบแค่ร้อยละ 0.53 ซึ่งเป็นภาพรวมจากทั่วประเทศ คิดเป็น 132 แห่ง ซึ่งได้ชี้แนะให้ไปปรับปรุงแล้ว มีรายงานเด็กที่ป่วยพบ 687 คน ป่วย ไม่ได้ป่วยเป็นโควิด-19 เป็นไข้ ไอ จาม และโรงเรียน 96% มีแผนการรองรับกรณีพบเด็กติดเชื้อ