fbpx

ไทยร่วมรณรงค์วันส้วมโลก ‘ส้วมปลอดภัย สุขใจทุกคน’

ทำเนียบรัฐบาล 19 พ.ย.-เนื่องในวันส้วมโลก (19พ.ย.) สธ.รณรงค์ “ส้วมปลอดภัย สุขใจทุกคน” Safe Toilets for All ก่อนประชุม ครม. โดยนายกฯได้ร่วมเยี่ยมชมนิทรรศการ พร้อมเชิญชวนให้ทุกคนร่วมใส่ใจรักษาคุณภาพส้วมสาธารณะ 



นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้วันที่ 19 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันส้วมโลก ในปีนี้ องค์การส้วมโลก (World Toilet Organization) ได้กำหนด Theme คือ “Toilets for All – Leaving No One Behind” เพื่อรณรงค์ยุติการขับถ่ายในที่โล่ง และส่งเสริมให้   ทุกคนสามารถเข้าถึงการสุขาภิบาลที่ดี โดยจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง กรมอนามัยในฐานะตัวแทนการรณรงค์ส้วมโลกในประเทศไทย จึงดำเนินกิจกรรมรณรงค์ภายใต้หัวข้อ “ส้วมปลอดภัย สุขใจทุกคน (Safe Toilets for All)” โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการสร้างส้วมที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนทุกกลุ่มวัย จัดให้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ มีแสงสว่างเพียงพอ แยกเป็นสัดส่วนชาย-หญิง รวมทั้งในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ผู้เกี่ยวข้องสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้ทุกเพศทุกวัยใช้ส้วมที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัยและเท่าเทียม ในสถานที่สาธารณะเป้าหมาย 12 ประเภท ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยว ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาดสด สถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ราชการ สวนสาธารณะ ศาสนสถาน ส้วมสาธารณะริมทาง และห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า 


พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัย ได้ดำเนินการสำรวจส้วมสาธารณะตามเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระหว่างปี 2549-2562 ในภาพรวมมีส้วมสาธารณะที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานดีขึ้นจากร้อยละ 9.08 มาเป็นร้อยละ 72.18 และจากการสำรวจการปนเปื้อนเชื้อโรคในห้องส้วมพบเชื้อ อี.โคไล (E. coli) ที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง โดยพบมากที่สุดบริเวณพื้นห้องส้วม ที่รองนั่งโถส้วม ที่จับสายฉีดชำระ ซึ่งการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะไทย (HAS) มุ่งเน้นการพัฒนา 3 ด้าน จึงเกิดแนวคิดในการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ “ส้วม 3 ดี มีทุกที่ เพื่อทุกคน” คือ  

1) สะอาดดี (Health) หมายถึง ห้องส้วมและสุขภัณฑ์ทั้งหมด ต้องมีความสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น สภาพพร้อมใช้งาน และมีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชน   มีพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกต้อง 


2) เพียงพอดี (Accessibility) หมายถึง ห้องส้วมต้องมีจำนวนที่เพียงพอสำหรับประชาชนทั่วไป ผู้พิการ ผู้สูงวัย หญิงตั้งครรภ์ พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ รวมถึงจัดให้มีส้วมที่เหมาะสมตามหลักอารยสถาปัตย์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้บริการได้ง่ายขึ้น 

และ 3) ปลอดภัยดี (Safety) หมายถึง ส่งเสริมการสร้างส้วมที่ปลอดภัย ไม่ตั้งอยู่ในจุดที่ลับตาคน มีแสงสว่างเพียงพอ แยกเป็นสัดส่วนชายหญิง และการให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในส้วม

“ปัจจุบันนี้ เจ้าของส้วมสาธารณะส่วนใหญ่ ได้มีการพัฒนาส้วม รวมทั้งมีการบริหารจัดการให้ส้วมสะอาด เพียงพอกับผู้มาใช้บริการที่ดีขึ้น ดังนั้นประชาชนที่ใช้บริการจึงต้องให้ความร่วมมือในการรักษาความสะอาดของส้วม และที่สำคัญคือต้องมีพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกต้อง คือ 1) ไม่ขึ้นไปเหยียบบนโถส้วมแบบนั่งราบ 2) ไม่ทิ้งวัสดุอื่นใดนอกจากกระดาษชำระลงในโถส้วม 3) ราดน้ำหรือกดชักโครกทุกครั้งหลังการใช้ส้วม และ4) ล้างมือทุกครั้งหลังการใช้ส้วม ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีของทุกคน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ขอบคุณทุกหน่วยงานระดมช่วยผู้ประสบภัย

“นายกฯ แพทองธาร” ขอบคุณทุกหน่วยงานระดมช่วยผู้ประสบอุทกภัย หวัง ศปช.รับมือ-ช่วยเหลือรวดเร็วทันท่วงที รวมถึงการเยียวยาหลังจากนี้

ฟื้นฟูชายแดนแม่สาย-เร่งกู้ตลาดสายลมจอย

เจ้าหน้าที่เร่งฟื้นฟูชุมชนชายแดนแม่สายที่ถูกน้ำท่วมและจมโคลนมานาน 10 วัน รวมทั้งเร่งกู้ตลาดสายลมจอยแหล่งจำหน่ายสินค้าชายแดนที่เสียหายอย่างหนัก

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553