เปิดผลวิจัยตอกย้ำอันตรายเหล้ามือสอง

กทม. 23 ก.ย.-เครือข่ายองค์กรงดเหล้า เปิดผลวิจัยอันตรายเหล้ามือสอง ทำร้ายเด็กเยาวชนไทย เผยความรุนแรงในครอบครัวนักดื่ม เป็นวงจรอันตรายพบภาวะเสี่ยงเพิ่มกว่า 3.3 เท่า หวั่นเด็กโตขึ้นสร้างปัญหาสังคม 


วันนี้ (23ก.ย.) ที่เดอะฮอลล์บางกอก สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็ก กระทรวงยุติธรรม ศูนย์วิจัยปัญหาสุราและภาคีเครือข่าย ร่วมจัดเวทีเสวนาหัวข้อ “สถานการณ์ความเสี่ยงของเด็กและเยาวชนไทยในครอบครัวนักดื่ม” 


นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า กรมมีนโยบายติดตามดูแลช่วยเหลือเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน โดยได้ยกระดับการบริการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชน ครอบครัวของเด็กและเยาวชนรวมทั้งเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงด้านพฤติกรรม ให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาผ่าน คลินิกให้คำปรึกษาเด็กและเยาวชนครอบครัวอบอุ่นทั้ง 77 จังหวัด  ตนเห็นด้วยกับมาตรการเข้มเดิมของ คสช.ที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถานศึกษาทั่วประเทศกว่า 40,000 จุด ซึ่งทุกหน่วยงานยังต้องบูรณาการเฝ้าระวังไม่ให้มีการฝ่าฝืน  

ส่วนประเด็นการเปิดผับถึงตี 4 มองว่าต้องศึกษาอย่างละเอียดถึงผลดีผลเสีย ถ้ามีการแบ่งโซนบริหารจัดการได้ก็อาจนำนโยบายนี้มาใช้ได้ 


น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล่าสุดปี 2560 โดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา พบเด็กและเยาวชน อายุ 15-24 ปี หรือกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ จำนวน 2,282,523 คน หรือร้อยละ 23.91 หรือคิดเป็น1ใน 4 ของเยาวชนทั้งหมดที่ระบุว่าดื่มสุราในรอบ12เดือนที่ผ่านมา โดยนักดื่มประจำและนักดื่มหนักมีสัดส่วนลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีการดำเนินการใดๆ เพื่อป้องกัน ในวันข้างหน้าประเทศไทยอาจมีเยาวชนที่เป็นนักดื่มประจำและนักดื่มหนักเพิ่มมากขึ้น  ข้อสำคัญประเทศไทยยังขาดนโยบายเปลี่ยนแปลงมาตรการควบคุมการผลิตเบียร์เชิงอุตสาหกรรมภายในประเทศ ที่น่ากังวลและเป็นอุปสรรคต่อการลดจำนวนกลุ่มเยาวชนที่เป็นนักดื่มหน้าใหม่ ขณะที่งานวิจัยของกรมพินิจฯพบว่ากลุ่มเด็กและเยาวชนเกือบครึ่ง ร้อยละ 40.8 มีกระทําความผิดภายใน 5 ชั่วโมงหลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับฐานความผิด มีความ สัมพันธ์กับการกระทําความผิดฐานอาวุธและวัตถุระเบิดอย่างมีนัยสําคัญ   

ด้าน ภญ.อรทัย วลีวงศ์ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุขได้นำเสนอผลงานงานวิจัย ภัยเหล้าที่เราไม่ได้ดื่มโดยระบุว่างานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลกระทบของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อบุคคลรอบข้างผู้ดื่มในประเทศไทย (Thailand Alcohol’s Harm to Others project) ซึ่งศึกษาการได้รับผลกระทบมือสองหรือผลกระทบด้านลบจากการดื่มในมิติต่าง ๆ ของคนในครอบครัว ญาติ พี่น้อง เพื่อน และเพื่อนร่วมงานของผู้ดื่ม รวมทั้งผลกระทบจากการดื่มของคนแปลกหน้าในสังคมต่อบุคคลอื่นที่อยู่รอบข้าง พบว่าร้อยละ 25 รายงานว่าเด็กในความดูแลของตนเคยได้รับผลกระทบจากการดื่มแอลกฮอล์ของใครบางคนอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ถูกดุด่าอย่างรุนแรงร้อยละ 7.4 อยู่ในเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวร้อยละ 7.4  ถูกทอดทิ้ง/ถูกปล่อยให้อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 3.5 ถูกตี ทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 1.7 

นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ23ของเด็กและเยาวชนพักอาศัยอยู่ในครอบครัวไหนที่มีคนดื่มอย่างหนัก โดยเด็กในครอบครัวนี้จะมีโอกาสได้รับผลกระทบมากขึ้นเป็น 3.3 เท่าของครอบครัวที่ไม่มีคนดื่มหนักในบ้าน ซึ่งผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อเด็กและเยาวชนเหล่านี้  จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของความรุนแรงต่อเด็กซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและใจ คุณภาพชีวิตและพัฒนาการของเด็ก ตลอดจนส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ปัญหาเหล่านี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของแอลกอฮอล์ที่ซ่อนอยู่ในระดับครอบครัวจากการดื่มของสมาชิกในครัวเรือนซึ่งจัดเป็นทั้งปัญหาสังคม ปัญหาสาธารณสุขและเกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิเด็ก ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญแก่สังคมมากขึ้น   

นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า จากข้อมูลงานวิจัย ชี้ชัดว่า ครอบครัวที่มี   นักดื่มนั้น จะผลิตซ้ำความรุนแรงจนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว จนกว่าจะถึงจุดแตกหักในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีนัยยะไม่ต่างจากใบอนุญาตให้เด็กๆใช้มันต่อไปหรือผลิตซ้ำได้ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีความชอบธรรมที่จะนำไปสู่นโยบายในเชิงป้องกัน เชิงเยียวยาอย่างเป็นระบบ เช่น 1.พ่อแม่หรือครอบครัวที่เป็นนักดื่มต้องเข้าถึงการบำบัดที่มีประสิทธิภาพ  2.การช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวต้องไม่เน้นการรักสถาบันครอบครัวแต่ต้องเน้นการปกป้องผู้ถูกกระทำ 3.องค์กรที่รับผิดชอบเยาวชนที่ผ่านความรุนแรงในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นระดับถูกกระทำ ระดับรู้เห็นหรือประจักษ์พยาน ต้องไม่ซ้ำเติมหรือผลิตซ้ำความรุนแรงกับเยาวชนโดยเด็ดขาด เพื่อปฎิบัติการเพื่อสื่อสารกับเยาวชนอย่างตรงไปตรงมาบนความเคารพในคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว ด้านแม่ตะโกนร้องขอความเป็นธรรม ถูกกลั่นแกล้ง แจงเป็นเงินบุญ ปี 64 ขณะที่ “สามารถ” เผย “อยากพูด แต่พูดไม่ได้“

งด ครม.

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” วันศุกร์

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” ศุกร์นี้ นายกฯ ตั้งเป้าปีหน้าน้ำท่วมภาคเหนือต้องไม่เกิดอีก ด้าน ศปช. เตรียมเสนอแผนแก้อย่างเป็นระบบใน ครม.สัญจร ศุกร์นี้