เสวนา ‘ไหว้เจ้า ไหว้พระจันทร์ วิถีชุมชนจีนเจริญกรุงเยาวราช’

กทม.15 ก.ย.-เวทีเสวนา ‘ไหว้เจ้า ไหว้พระจันทร์ วิถีชุมชนจีนเจริญกรุงเยาวราช’ หวังเห็นเสน่ห์ของชุมชนกลับมาอีกครั้ง บนพื้นฐานประเพณีดั้งเดิม ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง แต่คงอัตลักษณ์เฉพาะไว้


ค่ำคืนวันไหว้พระจันทร์ 13 กันยายน 2562 ประชาชนจำนวนมาก เดินทางไปชื่นชมความงดงามและเรียนรู้ เรื่องราววิถีวัฒนธรรมชาวจีน ในย่านเก่าเล่าเรื่อง เจริญกรุง เยาวราช เนื่องในงาน ‘ดูโคม ชมจันทร์ สร้างสรรค์งานศิลป์’ กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ 3 ชุมชนย่านเยาวราช-เจริญกรุง จัดขึ้น ภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนาเมืองวัฒนธรรมอัจฉริยะ : กรณีศึกษาย่านเยาวราช-เจริญกรุง” ระหว่างวันที่ 13–22 กันยายน 2562  ณ ชุมชนเจริญไชย และห้างหุ้นส่วนจํากัด เอี๊ยะเซ้ง กงษี ร้านโชห่วยเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี 


ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดงานพร้อมกล่าวว่า ภาคภูมิใจในการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนกับนักวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ย่านเยาวราชอันนำไปสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์จากต้นทุนทางวัฒนธรรม โดยจะเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์และความหมายของพื้นที่ให้อยู่ได้ในสภาวะปัจจุบัน


ภายในงานได้เปิดเวทีเสวนา เรื่อง “ไหว้เจ้า ไหว้พระจันทร์ วิถีชุมชนจีนเจริญกรุงเยาวราช” โดยมีผู้อยู่อาศัยในพื้นที่และนักวิจัยมาบอกเล่าเรื่องราวผ่านมุมมองต่างๆ ที่น่าสนใจ  นายวุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์ จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมจีนและศาลเจ้า ชี้ให้เห็นความสำคัญของชาวเยาวราชในการเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมทรงคุณค่าในทุกๆด้าน โดยจากงานวิจัย พบว่า ศาลเจ้าในประเทศไทยมี 20,000 แห่ง แต่อยู่ที่เยาวราชถึง 50 แห่ง และในศาลเจ้าเป็นที่รวบรวมอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีนสะท้อนผ่านทั้งประเพณี ครอบครัว วัฒนธรรม ความเชื่อ ความผูกพันกับเทพเจ้าจีนของคนจีนโพ้นทะเลยุคบุกเบิก โดยหวังจะเห็นเสน่ห์ของชุมชนเยาวราชกลับมาอีกครั้งบนพื้นฐานประเพณีดั้งเดิม ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง แต่คงอัตลักษณ์เฉพาะไว้

นายบดินทร์ เดชะวัฒนไพศาล ทายาทรุ่นที่ 4 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอี๊ยะเซ้ง กงษี หวังอยากให้คนรุ่นใหม่ภาคภูมิใจกับเยาวราช และเข้าใจลึกซึ้งถึงความหมายที่ซ่อนอยู่ในตึก อาคาร ศาลเจ้าที่คนมักมาเดินถ่ายรูปเชิงท่องเที่ยว แต่จริงๆแล้วภายใต้ตึกเก่าแก่มีต้นทุนวัฒนธรรมซ่อนอยู่ กรณีตึกเอ๊ยะเซ้งสร้างแล้วเสร็จปีพ.ศ.2477 โดยต้นตระกูลคือนายบักเกว้ง แซ่เตีย ที่อพยพจากมณฑลกวางตุ้ง เข้ามาเช่าตึกเพื่อมาค้าขายแต่จนปัจจุบันไม่เคยเปลี่ยนแปลงตึก แม้กระทั่งบานประตูสีเขียวเก่าแก่ที่เป็นสัญลักษณ์ของร้าน ทุกมุมของอาคารสะท้อนความเชื่อของชาวจีนตามหลักฮวงจุ้ยเพื่อให้การค้ารุ่งเรือง อาคารเป็นทรงสำเภาจีนทอดยาวสะท้อนถึงการไม่หยุดนิ่ง พื้นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดไม่เท่ากัน  ในยุคโบราณเชื่อกันว่าเป็นการไหลเวียนของเงินตราตามหลักเรือสำเภา เหมือนเงินไหลวนแบบเรือ เสาคานจะไม่มีเหลี่ยม เนื่องจากเชื่อว่าดาบคมจะสร้างความเจ็บป่วย ครอบครัววิวาทกัน  วิถีวัฒนธรรมจีน  เทพเจ้าในวัดจีนล้วนเป็นต้นทุนวัฒนธรรม  หากหายไปอาจจะไม่สามารถกลับมาได้อีก

ขณะที่นางสุวรรณา คงศักดิ์ไพศาล บริษัท ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ จำกัด แสดงความดีใจที่เห็นบรรยากาศเก่าๆกลับมาสู่เยาวราช โดยเฉพาะโคมโบราณที่สมัยเด็กเด็ก ๆ จะวิ่งตามดูโคมรูปกระต่ายสีสันต่างๆซึ่งไม่รู้ว่าหายไปจากชุมชนเมื่อใด เทศกาลไหว้พระจันทร์สำหรับชาวเยาวราชเป็นเสมือนวันแห่งความรักของชาวไทยเชื้อสายจีน ในอดีตคนในครอบครัวจะมารวมตัวกันและตั้งโต๊ะไหว้เจ้าขนาดใหญ่แตกต่างจากปัจจุบันที่ตั้โต๊ะเล็กๆหน้าบ้านตัวเอง ใช้เทียนขนาดใหญ่จุดทั้งคืนตั้งแต่  20.00-23.00 น.ส่วนของไหว้สะท้อนรายละเอียดของความรัก อาทิ ดอกไม้ โคมไฟ ขนมหวาน ซุ้มต้นอ้อย  ของเจ ผลไม้ เครื่องสำอางและของหอม เป็นต้น สำหรับขนมไหว้พระจันทร์นั้น ในชุมชนสมัยก่อนทำขนมไหว้พระจันทร์เอง ด้วยการซื้อถั่วมาอบ และบดด้วยพิมพ์ไม้เก่าแก่ ลูกหลานจะมาช่วยกันทำขนมเป็นบรรยากาศที่อบอุ่นและสนุกสนาน

ภายหลังการแสวนาผู้เข้าร่วมเสวนาได้เดินชมพิธีไหว้พระจันทร์วิถีชุมชนจีนเจริญกรุง-เยาวราช ตามเส้นทาง-ชมโคม ชมความงดงามของซุ้มไหว้พระจันทร์ บริเวณชุมชนเจริญไชยพร้อมรับการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ชุมชนอย่างเต็มอิ่ม

นอกจากนี้ที่ร้านเอี๊ยะเซ้ง กงษี ถนนเจริญกรุง ยังได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานของคณะอาจารย์และนักศึกษาภาควิชาต่างๆภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนาเมืองวัฒนธรรมอัจฉริยะ กรณีศึกษาย่านเยาวราช–เจริญกรุง โดยแบ่งเป็น 4 ห้องนิทรรศการ อาทิ ผลงานผังเมืองทางสถาปัตยกรรมย่านไชน่าทาวน์เยาวราช- เจริญกรุง, ผลงานทางโบราณคดีในย่านชุมชนชาวจีน, เครื่องประดับเงิน โคมไฟไหว้พระจันทร์ ซึ่งแสดงออกถึงความสัมพันธ์ของชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยในละแวกดังกล่าว รวมถึงการจัดแสดงผลงานภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น โดยนิทรรศการดังกล่าวจะจัดต่อเนื่องตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 22 ก.ย.62 ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.ทุกวัน (ยกเว้นวันอาทิตย์) ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

ฉายารัฐบาลปี67

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี 67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง” ฉายานายกฯ “แพทองโพย” ด้าน 7 รัฐมนตรีติดโผ “บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี” พ่วง 3 รัฐมนตรีโลกลืม ส่วนวาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”

เลือกตั้ง อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี พร้อมขอบคุณคนเสื้อแดง และนายทักษิณ ชินวัตร ที่ช่วยผลักดัน

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน