fbpx

ป.ป.ท.สรุปทุจริตเงินคนจน 76 จังหวัด ไม่พบ 9จังหวัด

ศูนย์ราชการฯ 30 เม.ย.-ป.ป.ท.สรุปทุจริตเงินคนไร้คนที่พึ่ง 76 จังหวัด  ไม่พบทุจริต 9 จังหวัด ‘สิงห์บุรี-ฉะเชิงเทรา-ปราจีนบุรี-นครศรีธรรมราช- นนทบุรี-แพร่-นครสวรรค์-สุโขทัย-อุตรดิตถ์’


พ.ท.กรทิพย์ ดาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวภายหลังการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน การตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ.2560 ประเภทเงินอุดหนุนเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่งว่า เริ่มดำเนิน การมาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงวันนี้(30เม.ย.)ตรวจครบเสร็จสิ้นแล้วทั้ง 76 ศูนย์ ใน 76 จังหวัด พบพฤติการณ์ทุจริตของเจ้าหน้าที่รวม 67 ศูนย์ 


โดยพบว่ามี 9จังหวัดที่ไม่พบการทุจริตคือจ.สิงห์บุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครศรีธรรมราช นนทบุรี แพร่ นครสวรรค์ สุโขทัย และอุตรดิตถ์

พ.ท.กรทิพย์ กล่าวต่อไปว่า ทั้ง 67 ศูนย์ บอร์ด ป.ป.ท.มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวนไปแล้ว43 จังหวัด ส่วนที่เหลือวันพฤหัสบดี(3พ.ค.)นี้จะส่งรายชื่อที่เหลือให้บอร์ดฯตั้งอนุกรรมการไต่สวนฯที่เหลือทั้งหมด  


สำหรับรายชื่อของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เดิม ป.ป.ท.ส่งให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)ไปก่อนหน้านี้156ราย ล่าสุดตรวจสอบพบเพิ่ม และส่งไปให้ พม.พิจารณาโทษอีก 33 ราย รวม 43 ศูนย์ที่ตั้งอนุกรรมการไต่สวน พบเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องรวม 189 ราย คาดการณ์ว่าหากตั้งอนุกรรมการครบทั้งหมดจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 250 คน

พ.ท.กรทิพย์ กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับ 9 จังหวัด ที่ระบุไม่ได้หมายความว่าไม่ได้มีการทุจริต เพียงแต่การตรวจของเจ้าหน้าที่ที่ลงไปในพื้นที่ 2 ครั้ง ไม่พบเอกสารหลักฐาน หรือพยานบุคคลที่นำไปสู่การพิสูจน์ จึงต้องใช้คำว่าไม่พบพฤติการณ์ทุจริต   

ทั้งนี้ ในส่วนของจ.สิงห์บุรีที่เป็น1ใน 9 จังหวัดที่ไม่พบการทุจริตเงินคนไร้ที่พึ่ง แต่ปรากฎพบพฤติการณ์ทุจริตการจัดซื้อผ้าห่ม ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนิน การตรวจสอบอยู่ เพราะจากข้อมูลของเจ้าหน้าที่ที่ลงไปสำรวจ พบว่ามีเหตุที่บ่งบอกได้ชัดเจนว่ามีการเตรียมการในเรื่องนี้ไว้แล้วซึ่งจะเร่งตรวจสอบ รวมถึงดูว่าในจังหวัดอื่นมีพฤติการณ์แบบเดียวกันหรือไม่

ส่วนกรณีที่พฤติกรรมในการทุจริตเงินคนไร้ที่พึ่งทั้ง67ศูนย์ ลักษณะมีความคล้ายคลึงกันทุกพื้นที่คือขอบัตรประจำตัวประชาชนชาวบ้านโดยอ้างว่าจะเอาไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆก่อนนำมาใช้ปลอมแปลงเอกสารหลักฐานของชาวบ้านนำมาเบิกเงิน แล้วเงินที่ได้มาจ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง ตรงนี้ถือว่าทำในลักษณะขบวนการหรือไม่ เลขาธิการ ป.ป.ท. กล่าวว่า ลักษณะทำเป็นขบวนการหลักฐานไปไม่ถึง แต่น่าจะมีการพูดคุยกันระหว่างศูนย์

“การทำการทุจริตแบบนี้ไม่มีใครทำแล้วทิ้งหลักฐานไว้ ซึ่งในทางการตรวจสอบเราไม่สามารถสาวไปพฤติกรรมที่เกี่ยวโยงกันชัดเจนว่าทำเป็นขบวนการ น่าจะมีการพูดคุยกันระหว่างเจ้าหน้าที่ศูนย์ และเลียนแบบพฤติกรรมกันมากกว่า” เลขา ป.ป.ท.กล่าว

พ.ท.กรทิพย์ กล่าวด้วยว่า หลังเสร็จสิ้นการตรวจสอบทุจริตเงินศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง  ป.ป.ท.จะมีการขยายการตรวจสอบเพิ่มเติมในเฟสที่ 3 ในส่วนของตรวจสอบนิคมสร้างตนเอง/ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง หรือศูนย์ชาวเขา/ศูนย์ประสานงานโครงการฯ/หมู่บ้านสหกรณ์พบว่ามีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ว่ามีการทุจริต ในงบประมาณส่วนนี้อีกกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งผู้อำนวยการศูนย์ที่เกี่ยวข้องไม่เกินระดับ8เป็นส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตรวจสอบของ ป.ป.ท. รวมมีทั้งหมด 28 ศูนย์ โดยวางกรอบระยะเวลา 90 วันนับจากวันพรุ่งนี้(1 พ.ค.)เป็นต้นไป.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย