จ่อทบทวนประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การนำหมูลงเลี้ยงใหม่ หวั่นกระทบรายย่อย

กรุงเทพฯ 10 ก.พ. – กรมปศุสัตว์ แจงพร้อมทบทวน ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การนำสุกร หรือหมูป่า เข้ามาเลี้ยงใหม่ พ.ศ.2567 ย้ำหลักการป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริการในสุกร แต่หวั่นข้อกำหนดบางประการอาจกระทบเกษตรกรรายย่อย โดยเฉพาะชนเผ่าในพื้นที่สูงที่เลี้ยงสุกรไว้หลังบ้าน เตรียมหามาตรการยกระดับการเลี้ยงเกษตรกรรายย่อยให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด


นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวทางโซเชียลมีเดียถึงข้อกังวลต่อประกาศของกรมปศุสัตว์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การนำสุกร หรือหมูป่า เข้ามาเลี้ยงใหม่ พ.ศ. 2567 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 เมษายน 2568 ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย โดยเฉพาะผู้เลี้ยงสุกรหลังบ้านของชนเผ่าในพื้นที่สูงนั้น กรมปศุสัตว์พิจารณาแล้วเนื่องจากสาระสำคัญในบางประเด็นของประกาศดังกล่าว อาจจะมีความไม่ชัดเจน กรมปศุสัตว์จึงพร้อมนำมาพิจารณาทบทวนร่วมกับผู้แทนเกษตรกรรายย่อย รวมถึงคณะทำงานด้านวิชาการในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนภาคเกษตรกร ภาคเอกชน และภาคการศึกษาเพื่อกำหนดมาตรการในการเลี้ยงสุกรให้มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันโรคได้ ตลอดจนสอดคล้องกับการประกอบอาชีพของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทุกระดับต่อไป

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน “กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานสินค้าการเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. 2566” ได้ถูกประกาศและนำมาบังคับใช้แล้วในฟาร์มสุกรเชิงพาณิชย์ที่เลี้ยงสุกรขุน ตั้งแต่ 500 ตัวขึ้นไป หรือเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ ตั้งแต่ 95 ตัวขึ้นไป ซึ่งมีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ในการเลี้ยงและการจัดการฟาร์มเพื่อให้เนื้อสุกรมีมาตรฐาน ปลอดโรคและปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยผู้ประกอบการต้องได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ (Good Agricultural Practice: GAP) ด้วย


สำหรับเกษตรกรรายย่อยและผู้เลี้ยงสุกรหลังบ้านนั้น ในช่วงที่ผ่านมาได้รับความเสียหายจากการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร และโรคระบาดอื่นๆในสุกร เป็นเหตุให้เกษตรกรรายย่อยเลิกเลี้ยงจำนวนมาก กรมปศุสัตว์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยกระดับการป้องกันควบคุมโรค เนื่องจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคติดต่อในสุกรที่มีความรุนแรง มีอัตราการป่วยและตายสูง ไม่มีทางรักษาและยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการป้องกันโรค ซึ่งการยกระดับการป้องกันควบคุมโรคในการเลี้ยงของเกษตรกรรายย่อยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาด สามารถเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้ และมีอาชีพที่มั่นคงต่อไป

ทั้งนี้ หากเกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีข้อเสนอแนะสามารถแจ้งได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านทางแอพพลิเคชั่น DLD 4.0 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก app store และ google play store ทั้งในระบบ iOS และ android. -512 – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในสหรัฐ-เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี รายงานว่า พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลนี้อย่างน้อย 24 ล้านคนแล้วทั่วสหรัฐ

ตัดไฟเมียนมา

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันปลดพนักงานแล้วกว่าร้อยคน

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันออนไลน์และกลุ่มสแกมเมอร์ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ปลดพนักงานแล้วกว่า 100 คน เนื่องจากขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ทำให้พนักงานทยอยเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก กลับมาทางด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ลั่นพร้อมแจงศึกซักฟอก เป็นนายกฯ ต้องตอบทุกเรื่อง

นายกฯ ขอคุยพรรคร่วมก่อนประชุมร่วมรัฐสภาแก้ รธน. หลัง “ชูศักดิ์” บอกอาจมีการยื่นศาล รธน.ตีความต้องทำประชามติก่อน ลั่นพร้อมแจงศึกซักฟอก เป็นนายกฯ ต้องตอบทุกเรื่อง

ราคาทองคำ

ทองไทยนิวไฮรายวัน 1 ชม.แรกวันนี้ ราคาเปลี่ยน 7 รอบ

ราคาทองคำนิวไฮต่อเนื่องวันนี้แพงสุดในประวัติศาสตร์ ตามตลาดโลก และบาทอ่อนค่า โดย 1 ชม.แรกวันนี้ราคาเปลี่ยน 7 รอบ ตั้งแต่ต้นปี ขึ้นราคามาแล้ว 4,900 บาทต่อบาททองคำ

รถเมล์ยกล้อ

รถเมล์เสียหลักเกี่ยวสลิงยึดสายไฟฟ้าแรงสูง

รถเมล์สาย 167 วิ่งระหว่างเคหะพระรามที่ 2 ถึงสวนลุมพินี เจอคราบน้ำมันบริเวณแยกมไหสวรรค์ ลื่นเสียหลักเกี่ยวสลิงยึดสายไฟฟ้าแรงสูง โชคดีไม่มีผู้บาดเจ็บ

อุตุฯ เผยภาคเหนือ-อีสาน อากาศหนาวในตอนเช้า

กรมอุตุฯ เผยภาคเหนือ ภาคอีสาน มีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคกลาง กทม.-ปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคใต้ มีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง