ตลาดหลักทรัพย์ฯ 17 พ.ค. – บอร์ด ตลท.เห็นชอบรายละเอียดมาตรการ Auto Halt และ Dynamic Price Band (DPB) ยกระดับความเชื่อมั่นตลาดทุน
นายรองรักษ์ พนาปวุฒิกุล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานกฎหมายและบริหารกิจกรรมเพื่อสังคม หัวหน้ากลุ่มงานกฎหมายและวินัย และหัวหน้ากลุ่มงานเลขานุการองค์กรและกำกับองค์กร ในฐานะโฆษกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2567 ที่ผ่านมา คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ มีมติเห็นชอบในการดำเนินการเพื่อยกระดับความเชื่อมั่นในรายละเอียดเพิ่มเติม อีก 2 มาตรการ ได้แก่มาตรการ Auto Halt และมาตรการ Dynamic Price Band โดยก่อนหน้านี้ได้เห็นชอบในหลักการไปแล้วทั้งหมด 14 มาตรการ
สำหรับมาตรการ Dynamic Price Band (DPB) หรือ เพิ่ม Circut Breaker รายหุ้น เป็นมาตรการในกลุ่มการลดความผันผวนที่ผิดปกติของราคาหลักทรัพย์ โดย กำหนดกรอบการเคลื่อนไหวของราคาที่แคบกว่า Celling & Floor ) เพื่อไม่ให้ราคาผันผวนเร็วเกินไป หากคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่ส่งเข้ามาแล้วทำให้หุ้นมีความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ก็จะมีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าว เงื่อนไข การ trigger เมื่อความเคลื่อนไหว +/- 10% จากราคาซื้อขายล่าสุด เมื่อมีคำสั่งที่จะทำให้จับคู่นอก Dynamic Price Band จะหยุดการซื้อขายและเปิดให้มี Pre-Open 2 นาที โดยปกติ การซื้อขายหลักทรัพย์จะไม่เกิน celling กับ floor ที่ 30% มาตรการ Dynamic Price Band จะทำให้ราคาหุ้นเคลื่อนไหวทั้งขาขึ้นและขาลงเป็นไปอย่างเหมาะสมมากขึ้น จะไม่ทำให้เกิดเหตุการณ์หุ้นดีดขึ้นแรง หรือร่วงติดฟลอร์ทันที่ทีเปิดตลาด การปั่นหุ้นทำได้ยากขึ้น คาดว่าจะเริ่มนำมาใช้ได้ในช่วงปลายไตรมาสสองปีนี้ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกได้มีการเริ่มใช้เกณฑ์นี้
ขณะที่มาตรการ Auto Halt เพื่อควบคุมคำสั่งซื้อขายที่อาจมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หากพบมีการส่งคำสั่งซื้อหรือขายที่มีปริมาณเกินกว่า 15% ของทุนจดทะเบียนหลักทรัพย์ จะถูกหยุดพักการซื้อขายเป็นเวลา 60 นาทีซึ่งในช่วงระยะเวลาที่มีการหยุดพักทางโบรกเกอร์จะสามารถติดต่อลูกค้าเพื่อตรวจสอบว่าคำสั่งซื้อหรือขายที่ที่ส่งเข้ามาเป็นปริมาณมากผิดปกติเป็นคำสั่งซื้อที่แท้จริงหรือไม่ เมื่อ Auto Halt ก็จะทำให้เกิดหยุดการหยุดพักการซื้อขายเฉพาะหุ้นนั้น ไม่ได้หยุดพักทั้งตลาด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบโดยคาดการณ์เบื้องต้นว่าจะสามารถนำมาใช้ได้ช่วงไตรมาสสี่ของปีนี้
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากกรณีการปั่นหุ้น ของ บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE ที่มีการส่งคำคำสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมากถึง 23% ของทุนจดทะเบียนบริษัท เมื่อมีมาตรการ Auto Halt ก็จะทำให้เกิดหยุดการหยุดพักการซื้อขายเฉพาะหุ้นนั้น ไม่ได้หยุดพักทั้งตลาด เพื่อไม่ให้เกิดกรณีซ้ำรอย
“เชื่อว่า ทั้งสองมาตรการดังกล่าวจะเป็นกลไกในการควบคุมดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น” นายรองรักษ์ กล่าว. -516-สำนักข่าวไทย