กรุงเทพฯ 4
ก.ค.-กระทรวงพลังงานกำลังปรับ 5
แผนพลังงานหลัก ซึ่งป็นแผนระยะยาว2558-2579 เอกชนนำเสนอให้เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (SOLAR) จากเดิม 6,000 เมกะวัตต์ เป็น 20,000 เมกะวัตต์
เสนอให้ประมูลเป็นรายพื้นที่
นางสาววันดี กุญชรยาคง
ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
เพื่อเป็นการส่งเสริมการลดภาวะโลกร้อนตามทิศทางของโลก และแนวโน้มโซลาร์เซลล์สามารถช่วยลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(Peak)ช่วงกลางวัน
และรับมือก๊าซธรรมชาติในประเทศที่กำลังลดลง ดังนั้น รัฐบาลน่าจะมีการพิจารณาปรับตัวเลขการส่งเสริมติดตั้งโซลาร์เซลล์
จากแผนเดิม 6,000เมกะวัตต์ เป็น 20,000 เมกะวัตต์ ในปี 2579 และไม่ควรจัดเก็บค่าสำรองไฟฟ้า(back up rate) แต่อย่างใด เพราะจะเป็นการสกัด
การลงทุนของอุตสาหกรรมนี้
“back up rate ในยุโรป ก็ไม่มี แม้ ในสหรัฐอาจจะมีบ้าง
แต่ก็ต้องดูว่านโยบายของสหรัฐส่งเสริมอะไร การจะใช้ back up rateในไทย ก็อาจจะขัดนโยบายที่นายกรัฐมนนตรีไทยประกาศในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สมัยที่ 21 (COP-21) ที่กรุงปารีส ว่า ไทยจะลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20-25”นางสาววันดีกล่าว
นางสาววันดี
ยังเสนอด้วยว่า หากกระทรวงพลังงานเปิดส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์รอบใหม่ ก็ควรจัดแบ่งประมูลตามพื้นที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เกิดพีก
จัดทำโซนนิ่งแล้วให้ประมูลเสรีภายใต้ราคารับซื้อที่แข่งขันได้กับค่าไฟฟ้าในระบบที่ขณะนี้ต้นทุนอยู่ที่2-3 บาทต่อหน่วย
วิธีการนี้ก็จะไม่เพิ่มภาระต่อค่าไฟฟ้าภาคประชาชนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ เอสพีซีจี ยังร่วมทุนกับพันธมิตรญี่ปุ่น บริษัท Kyocera Corporation (Kyocera ) และ
กองทุนความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยในการพัฒนากลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism) หรือกองทุนเจซีเอ็ม เพื่อช่วยเหลือติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปโรงงานญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย
ซึ่งมีเงินอุดหนุนช่วยเหลือติดตั้ง ร้อยละ 35 ของเงินลงทุนทั้งหมด
ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง และคาดว่าโรงงานญี่ปุ่นที่มีประมาณ 7 พันแห่ง จะให้ความสนใจ เงื่อนไขหลักที่สำคัญคือ
ต้องแบ่งคาร์บอนเครดิตให้ เจซีเอ็มครึ่งหนึ่งและใช้วัสดุอุปกรณ์
ที่ปรึกษาจากญี่ปุ่น
ส่วนการลงทุนใหม่ในปีนี้
บริษัทจะประกาศแผนร่วมทุนในโครงการโซลาร์ฟาร์มในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นหลายร้อยเมกะวัตต์จากขณะนี้มี1 โครงการ30 เมกะวัตต์
ซึ่งโครงการนี้มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆของเอเชีย
และจะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายกำลังการผลิตตามแผน
ที่ตั้งไว้ 500 เมกะวัตต์ภายในปี 2562 จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 300
เมกะวัตต์
“โครงการโซลาร์ฟาร์มในญี่ปุ่นโครงการที่ 2 ของบริษัท
คาดว่าภายหลังจากสรุปดีลลงทุนกับพันธมิตรในปีนี้
จะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในปลายปีนี้ และเริ่มผลิตไฟฟ้าได้ภายในปีหน้า ราคารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ FiT อยู่ที่กว่า 40 เยนต่อหน่วย สัญญารับซื้อไฟฟ้า 25 ปี ใช้เงินลงทุนประมาณ
100-120 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ ”นางสาววันดี กล่าว–สำนักข่าวไทย
สำหรับเม็ดเงินลงทุนใหม่จะมาจากการเตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทให้แก่บุคคลในวงจำกัด
(PP) จากทุนจดทะเบียน
923 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 1.01พันล้านบาท
โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 92 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
คาดว่าจะได้เงินจากการออกหุ้น PP ในครั้งนี้ประมาณ
2 พันล้านบาท –สำนักข่าวไทย