“มีชัย” เผย รธน.ใหม่เปิดช่องให้ประชาชนเข้าถึงศาล รธน.ได้ง่ายขึ้นกรณีถูกละเมิด

รัฐสภา 26 เม.ย.-ประธาน กรธ.ระบุ รธน.ใหม่เปิดช่องให้ประชาชนเข้าถึงศาล รธน.ได้ง่ายขึ้นกรณีถูกละเมิด วอนทุกฝ่ายช่วยคิดกำหนดในกฎหมายลูกเพื่อให้เกิดความสมดุล เพื่อไม่ให้มีคดีค้างที่ศาลรัฐธรรมนูญมากเกินไป


นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวเปิดการสัมมนารับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ โดยย้ำว่า ศาลรัฐธรรมนูญเสมือนเสาหลักที่จะค้ำจุนให้รัฐธรรมนูญเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่จัดทำเอาไว้ แต่การทำงานของศาลรัฐธรรมนูญจะต้องมีกฎกติกาว่าจะเดินเข้ามาศาลรัฐธรรมนูญได้อย่างไร และการปฏิบัติแต่ละเรื่องจะมีผลกระทบอย่างไร ในขณะที่ กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญมาถึงบทศาล ก็ค่อนข้างกังวลว่าทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าถึงศาลได้ง่าย แต่ต้องไม่ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเกิดภาระจนทำไม่ไหว เพราะมีเพียงแห่งเดียว และมีตุลาการเพียง 9 คน หากมากันมากจะทำให้เกิดปัญหาเดิมคือทำไม่ไหว ทำให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความล่าช้า ซึ่งตามรัฐธรรมนูญวางหลักการไว้ว่าให้ทั้งหน่วยงานของรัฐและประชาชนเข้าศาลรัฐธรรมนูญได้ โดยรัฐธรรมนูญปัจจุบันเปิดช่องไว้กว้างกว่ารัฐธรรมนูญในอดีต โดยหากหน่วยงานใดเกิดความสงสัย หรือเกิดวิกฤติสามารถส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ และคำวินิจฉัยถือเป็นอันสิ้นสุด ผูกพันทุกองค์กร ดังนั้นจึงได้กำหนดคุณสมบัติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้เข้มด้วยเช่นกัน คือจะต้องมีคุณลักษณะ 3  ประการ คือ ต้องมีความรับผิดชอบสูง กล้าหาญ และต้องมีพฤติกรรมทางจริยธรรมที่ดี หากไม่ได้ จะต้องยอมเสียเวลาในการสรรหาใหม่เพื่อให้ได้ตามคุณลักษณะดังกล่าว

“เวลาเกิดทางตัน เราจึงเปิดช่องไว้ให้ไปศาลรัฐธรรมนูญได้ และต้องเป็นข้อยุติ ส่วนทางด้านประชาชนนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดช่องเอาไว้ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเอาไว้มาก หากถูกละเมิดก็สามารถไปหาศาลรัฐธรรมนูญได้ แต่กรณีนี้หากปล่อยให้ ไหลไปเป็นแม่น้ำ คงลำบาก จึงเขียนไว้ว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เขียนไว้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จึงต้องรับฟังความเห็นเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการนำเรื่องไปสู่ศาลได้อย่างพอดี พออยู่ และศาลรัฐธรรมนูญสามารถทำงานได้” นายมีชัย กล่าว


ด้านนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานเห็นตรงกันว่าควรใช้ระบบไต่สวน แต่ควรวางการทำงานระบบการไต่สวนไว้ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาความไม่เข้มข้นในการไต่สวนที่เป้าหมายและวิธีการต่างกัน ดังนั้นควรกำหนดตั้งแต่คำนิยามของคำว่าระบบไต่สวนว่าควรเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไร ซึ่งอาจจะตั้งแต่เริ่มคดีจนถึงขั้นตอนการตัดสินคดี และควรปฏิรูปตั้งแต่การเขียนคำร้อง เพื่อป้องกันปัญหาการไม่รับฟ้อง เพราะทนายเขียนคำร้องคำให้การไม่ชัดเจน ควรกำหนดประเด็นเพื่อวินิจฉัยอย่าให้มีผลต่อการพิจารณาคดี เพราะความเก่งหรือไม่เก่งในกฎหมายวิธีพิจารณา

นายจรัญ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในขั้นตอนการเก็บหลักฐาน ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการเรียกพยานหลักฐาน แต่ที่ผ่านมา ศาลแทบไม่เคยเรียกพยานหลักฐานเลย แต่วินิจฉัยไปตามข้อเท็จจริงพยานหลักฐานที่นำเสนอ จึงเห็นว่าควรกำหนดให้ศาลใช้อำนาจในส่วนนี้เท่าที่จะสามารถออกแบบได้ และเพื่อให้ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ โดยจะครหาไม่ได้ เพราะถือว่าได้เดินไปตามครรลองของกฎหมาย

“หลายคดีเราถึงทางตัน ไม่มีทางได้หลักฐานอะไรแล้ว ใช้วิธีว่าถ้าพยานหลักฐานไปชัดให้ยกประโยชน์ให้จำเลย ยกฟ้อง แต่อยากให้เขียนไว้ว่าถ้าสงสัยแล้วต้องให้พยายามแสวงหาพยานหลักฐาน เพราะคดีรัฐธรรมนูญต่างจากคดีอาญา” นายจรัญ กล่าว


สำหรับเรื่องคำร้องตรงของประชานที่จะมาตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นายจรัญ กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะ 9 ปีที่ผ่านมา ประชาชนจะฟ้องตรงได้ต่อเมื่อมีกรณีข้อขัดแย้งในข้อกฎหมาย จะต้องไปตามองค์กรอื่น ๆ จนกว่าจะไม่มีทางวินิจฉัย เช่น ไปที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือ ศาลปกครองก่อน ทำให้มีข้อแย้งที่กว่าจะมาถึงศาลรัฐธรรมนูญน้อยมาก แทบจะไม่ได้ใช้เลย จึงเสนอให้กำหนดไว้ในมาตรา 47 ว่า ให้บุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่มีสิทธิยื่นคำร้อง อย่างไรก็ตาม อยากให้ช่วยกันคิดเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลกัน เพื่อไม่ต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นองค์กรที่มีอำนาจเหนือคนอื่น

สำหรับปัญหาการทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายจรัญ กล่าวว่า มีจุดเดียวที่หนักใจ และยังไม่ได้รับการแก้ไขในรัฐธรรมนูญ คือ กรณีที่ความเห็นของตุลาการที่เป็นองค์คณะเท่ากัน คือ กรณีที่มีองค์คณะ 8 คน แล้วมีคะแนน 4 ต่อ 4 จะทำอย่างไร เพราะต้องใช้เสียงข้างมาก จึงควรเขียนทางออกในรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อไม่ได้เขียนไว้ จึงคิดว่าเขียนเพิ่มในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้ว่าให้ทำแบบที่ศาลรัฐธรรมนูญในอดีต คือ ให้ประชุมกันทำคำแนะนำร่วมกันใน 8 คน ซึ่งจะไม่ใช่ประเด็นวินิจฉัย แต่เป็นการให้คำแนะนำว่าควรดำเนินการอย่างไรด้วยเหตุผลอะไร โดยจะเป็นการปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติด้วย พร้อมกันนี้ยังเสนอให้มีการเผยแพร่ความเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยด้วย และในเรื่องขอบเขตของคำวินิจฉัย ควรจะเปิดช่องให้มีการวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อชี้แนวทางให้กับผู้ปฏิบัติได้แทนที่จะกำหนดตายตัวเหมือนศาลยุติธรรมที่ไมสามารถวินิจฉัยนอกประเด็นคำขอได้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฉายารัฐบาลปี67

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี 67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง” ฉายานายกฯ “แพทองโพย” ด้าน 7 รัฐมนตรีติดโผ “บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี” พ่วง 3 รัฐมนตรีโลกลืม ส่วนวาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร