นนทบุรี 20 เม.ย. –จับตากระทรวงพลังงานจะต่ออายุโรงไฟฟ้าไอพีพีเก่าหรือไม่
หลังรุ่นแรกทยอยหมดอายุและโรงไฟฟ้าใหม่แจ้งเกิดยาก ด้านRATCH เพิ่มแผนกพลังผลิตเท่าตัวในปี2570พร้อมจับมือBTS ประมูลรถไฟฟ้าหลายเส้นทาง
บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
แถลงเปิดตัวนายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่
ที่เข้ามารับภารกิจสานต่อจากนายรัมย์ เหราบัตย์ ที่เกษียณอายุการทำงาน เมื่อวันที่
5 เมษายน
ที่ผ่านมา
นายกิจจากล่าวว่า
ในฐานะบริษัทเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอร์ยี่
ผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนรายใหญ่(ไอพีพี)700 MW ซึ่งจะหมดอายุสัญญา20 ปีในปี2563
ในขณะนี้บริษัทได้ทำหนังสือถึงกระทรวงพลังงาน เพื่อขอต่อสัญญา 5 และ 10 ปี
โดยได้เสนอลดราคาค่าไฟฟ้าให้เหมาะสม
ซึ่งกระทรวงคงจะดูถึงค่าไฟฟ้าและสำรองไฟ้ฟ้าในช่วงดังกล่าวที่มีประมาณร้อยละ30
ว่าเหมาะสมในการต่ออายุหรือไม่
ทั้งนี้ สัญญาไอพีพีที่ทยอยหมดอายุต่อจากไตรเอนเนอร์ยี่คืออิสเทิร์น์เพาเวอร์
(EPEC) จ.สมุทรปราการ
ปี 2566
โรงไฟฟ้าราชบุรีในส่วนพลังความร้อน ปี 2568!โรงไฟฟ้าราชบุรีพลังความร้อนร่วม ปี2570 และโรงไฟฟ้า
ราชบุรีเพาเวอร์ ปี2576
บริษัทฯ
ได้ปรับแผนที่จะผลักดันกำลังผลิตให้เพิ่มขึ้นอีก 7,000 เมกะวัตต์
พร้อมทั้งเตรียมแผนการจัดหาเงินรองรับการลงทุนประมาณ 300,000 ล้านบาทภายใน 10 ปีข้างหน้า
หรือปี 2570
เพื่อรักษาและเสริมสร้างฐานธุรกิจของบริษัทฯ ให้แข็งแกร่งและมั่นคงต่อเนื่อง
จากที่แผนเดิม มีกำลังผลิต 10,000 MW ในปี 2566 ในขณะที่ปีนี้มีกำลังผลิต6,980 MW โดยในส่วนนี้เป็นพลังงานทดแทนราวร้อยละ
10
และตามแผนในอนาคตจะมีพลังงานทดแทนร้อยละ20
สำหรับแผนธุรกิจในปีนี้ยังคงเป้าหมายตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ
เห็นชอบ โดยบริษัทฯ จะต้องเร่งสร้างกำลังผลิตเทียบเท่าให้เติบโตถึง 7,500 เมกะวัตต์
พร้อมทั้งบริหารสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพเพื่อรักษาการเติบโตของรายได้
โดยมุ่งเน้นที่โรงไฟฟ้าสินทรัพย์หลัก ได้แก่ โรงไฟฟ้าราชบุรี โรงไฟฟ้าหงสาใน สปป.
ลาว กลุ่มโรงไฟฟ้าโคเจนเนอเรชั่น และกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
แนวทางดำเนินการต้องดำเนินการควบคู่กันไป
แนวทางการลงทุนโครงการขนาดใหญ่จะใช้รูปแบบการซื้อและควบรวมกิจการให้มากขึ้น
เพื่อลดระยะเวลาการพัฒนาโครงการและสามารถรับรู้เมกะวัตต์และรายได้ในทันที
ส่วนการลงทุนแบบพัฒนาโครงการหรือ กรีนฟิลด์ จะมุ่งเน้นโครงการประเภทพลังงานทดแทน
เพราะระยะเวลาพัฒนาโครงการสั้นเพียง 1-3 ปี ด้านเป้าหมายการลงทุนได้ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมตั้งแต่
ธุรกิจไฟฟ้า เชื้อเพลิง พลังงานทดแทน สาธารณูปโภค ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ
ที่เป็นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ที่ตอบสนองกระแสโลกในอนาคต เช่น
ธุรกิจสีเขียว ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานทดแทน
เป็นต้น
นอกจากนี้บริษัทจะร่วมมือกับพันธมิตรในการยื่นเสนอลงทุนโครงการโซลาร์ฟาร์มราชการและสหกรณ์การเกษตรที่เปิดรับซื้อในเร็วนี้ๆ219MW รวมทั้งสนใจเรื่องการลงทุนEnergy Storage ธุรกิจอื่นๆ
โดยการจับมือกับพันธมิตรเช่นกลุ่มบีทีเอสประมูลเส้นทางรถไฟฟ้าของรัฐบาล
อีกหลายเส้นทาง จากขณะนี้ชนะประมูลเส้นทางสีเหลืองและสีชมพูแล้ว โดย 2
โครงการรับทราบว่าร่างสัญญาจะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในเดือน พ.ค.นี้
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล
กรรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ.กล่าวว่า เรื่องการต่อสัญญาไอพีพีนั้น
คงต้องได้รับคำยืนยันจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยว่า
สำรองไฟ้ฟ้าในช่วงนั้นเป็นอย่างไร
โดยก่อนหน้านี้ช่วงที่โรงไฟฟ้าระยองของกลุ่มเอ็กโก้ ที่ไม่ได้ต่อสัญญาก็เนื่องจาก
กฟผ. ยืนยันว่ามีสำรองไฟฟ้าสูงจนไม่จำเป็นต้องต่อสัญญา อย่างไรก็ตาม
โรงไฟฟ้าใหม่ๆยอมรับว่าก่อสร้างได้ยากเพราะมีการต่อต้าน แต่การจะต่อสัญญากับโรงไฟฟ้าเก่าก็ต้องดูถึงประสิทธิภาพและอัตราค่าไฟฟ้าด้วย
และภาพรวมก็ต้องดูถึงแผนพลังงานทุกด้านสามารถเดินหน้าตามแผนได้หรือไม่ – สำนักข่าวไทย