กรธ.เปิดรับฟังความเห็นร่างพ.ร.บ.กรรมการสิทธิฯ

C_4436รัฐสภา 26 ม.ค. –มีชัย เปิดเวที ฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ชี้ที่มา กสม. ไม่หลากหลาย ไม่คล่องตัว การสรรหาไม่โปร่งใส ต้องปรับหลักเกณฑ์สร้างกลไกใหม่เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ


นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวเปิดสัมมนารับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. … ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าการทำงานของ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีปัญหาอย่างต่อเนื่องที่นำไปสู่การลดบทบาทในนานาชาติ  ซึ่งปัจจัยหนึ่งเกิดจาก ที่มาของ กสม. ไม่มีความหลากหลาย  ขาดความโปร่งใสในการสรรหา และไม่เชื่อมโยงกัน นอกจากนี้ ยังพบว่าการทำงานของ กสม. ไม่มีความคล่องตัว ไม่ปรับตัวเข้าหากัน แบ่งงานกันทำ จนทำให้เกิดปัญหาตามมา  จึงต้องปรับหลักเกณฑ์ขั้นตอนการทำงานให้มีความคล่องตัวมากขึ้น

นายมีชัย กล่าวว่า  กรธ. จึงได้กำหนดภารกิจให้มีความชัดเจนมากขึ้น และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน  กำหนดองค์ประกอบที่มาของคณะกรรมการ กสม. จะต้องมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ อย่างน้อยสาขาละ 1 คน สร้างกลไกใหม่ให้ทำงานเป็นทีม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน  ทำงานให้สอดคล้อง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเกิดผลกับประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยัง เปิดช่องทางให้สามารถนำผู้เชี่ยวชาญมาจัดทำแผนการรายงานประจำปีไว้ล่วงหน้า


ประธาน กรธ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาการทำงานของ กสม. และผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเกี่ยวข้องกัน จนทำให้การทำงานซ้ำซ้อน ดังนั้น กรธ. เห็นว่าหากทั้ง 2 หน่วยงานร่วมมือกันอย่างจริงจัง  เชื่อว่าภายใน 5-10 ปี  จะลดขั้นตอนและได้รับการแก้ไขให้รวดเร็วขึ้น  กรธ. พยายามเขียนใน รัฐธรรมนูญสร้างกลไกให้สำนักงานเป็นเครื่องมือรองรับการทำงานของคณะกรรมการอย่างจริงจัง  เพื่อให้มีแรงกระตุ้นในการทำงานและเกิดความสำเร็จโดยมีการทำงาน  3 แนวทาง คือ แสวงหาข้อเท็จจริง วิเคราะห์ข้อเท็จจริง หาทางแก้ไขไม่ให้เกิดเหตุในอนาคต

“อยากให้ กสม. ริเริ่มทำเรื่องการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างเป็นระบบให้มากขึ้น มากกว่าการแก้ปัญหารายบุคคล โดยเฉพาะเรื่องการใส่โซ่ตรวนนักโทษ และการปล่อยให้ผู้สื่อข่าวซักถามผู้ต้องหา ที่อยากให้แก้ไขทั้งระบบ ทำให้เป็นรูปธรรม ปัญหาที่ทำให้ไทยถูกมองในแง่ลบเพราะที่มาของ กสม.ไม่หลากหลายพอ ขาดความโปร่งใสในการสรรหา กสม. ต้องทำแผนงานประจำปีล่วงหน้า ถ้าจัดทำไม่แล้วเสร็จให้กสม. พ้นตำแหน่งไปทั้งคณะ เพื่อป้องกันไม่ให้การทำงานล่าช้า” นายมีชัย กล่าว

ขณะที่ผู้ร่วมสัมมนาได้สะท้อนความเห็นอยากให้ปรับในเรื่องของคณะกรรมการสรรหาให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะตัวคณะกรรมการสรรหาต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้ความรู้ดังกล่าวสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้อย่างตรงจุด.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง