ไทยเตรียมทดสอบวัคซีนโควิดในคนปลายปีนี้

นนทบุรี24พ.ค.-ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เผย ไทยเตรียมทดลองวัคซีนในคน หลังทดลองในลิงได้ผลดี คาดปลายปีหน้า ไทยสามารถผลิตวัคซีนรักษาโควิด-19 ใช้ในประเทศไทย 


นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายวิฑูรย์ วงศ์หาญกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ร่วมแถลงความก้าวหน้าวัคซีนโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุข 


ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ภายใต้การกำกับของกระทรวงสาธารณสุข  ร่วมมือกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ วช.ภายใต้การกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมถึง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ไบโอเทค สวทช. มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  ขณะนี้ถือว่ามีความก้าวหน้า เริ่มทำการทดสอบในสัตว์ทดลองทั้งหนูและลิง  ซึ่งการพัฒนาวัคซีนนั้นทำในหลายรูปแบบ แต่ที่มีความก้าวหน้า คือ DNA วัคซีน และ mRNA วัคซีน โดย DNA วัคซีน บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด และไบโอเทค ทดสอบในหนูทดลอง ส่วน mRNA วัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทดสอบในหนู และเริ่มทดสอบในลิงเมื่อวันที่ 23 พ.ค.   ซึ่งวัคซีนที่ผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลองต้องให้ได้ผลเป็นที่พอใจ ผ่านเงื่อนไขทั้งความปลอดภัยและกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สัตว์ทดลองถึงจะนำมาเริ่มทดสอบในคนได้ หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนจะสามารถเริ่มทดสอบวัคซีนในคนปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ซึ่งการทดสอบในคนจะมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดูความปลอดภัย ทดสอบในอาสาสมัคร 30-50 คน ระยะที่ 2 ดูการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทดสอบในอาสาสมัคร250-500 คน และระยะที่ 3 ดูว่าให้ผลในการป้องกันโรค ทดสอบในอาสาสมัครมากกว่า 1,000 คน  และคาดว่าจะสามารถผลิตวัคซีนใช้ภายในประเทศได้ปลายปี64  นักวิจัยไทยกำลังพยายามกันอยู่ ซึ่งไทยมีโรงงานในการผลิตวัคซีนอยู่ คือบริษัทไบโอเนท-เอเชีย ที่มีศักยภาพ แต่ต้องได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีบางส่วนจากต่างประเทศ ซึ่งได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย รวมถึงประเทศจีนแล้ว แต่หากยังไม่สามารถผลิตได้อาจต้องซื้อวัคซีนจากประเทศต้นทางมาใช้ในช่วงสั้นๆไปก่อน  ย้ำว่าหากทุกอย่างเป็นไปตามแผน  แต่หากแผนสะดุดต้องมีปรับกันใหม่อีกรอบ  ซึ่งจะเห็นว่าการพัฒนาวัคซีนต้นแบบของไทยใช้เวลาเพียง 50 วัน ซึ่งถือเป็นระยะเวลาที่เร็วเพื่อให้ทันต่อการป้องกัน 

ขณะที่นานาชาติเริ่มทดสอบในคนแล้วเป็นวัคซีน 10 ชนิด คือ ประเทศจีน สหรัฐเมริกา อังกฤษ เยอรมนี และออสเตรเลีย  ซึ่งก็จะเป็นพื้นฐานสำคัญให้ประเทศที่กำลังพัฒนาวัคซีนนำไปเป็นข้อมูลเพื่อปรับปรุงวัคซีนให้ดีขึ้นเรื่อยๆ .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง