17 มี.ค. – สธ.แจงการตรวจแลป เป็นแค่เครื่องมือวินิจฉัย ต้องทำควบคู่กับการควบคุมโรค ย้ำมาตรการคุมโควิด-19 ของญี่ปุ่นที่ได้ผลดี เพราะคนมีวินัย
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงการตรวจแลปเพื่อหาเชื้อโควิด-19 ว่า การตรวจแลปเป็นเพียงเครื่องมือในการวินิจฉัยโรค ส่วนการควบคุมโรคจะสำเร็จหรือไม่ต้องอาศัย ความร่วมมือของประชาชน ดำเนินการควบคู่กับการตรวจแลป การตรวจไม่สามารถทำได้ในทุกคน เหมาะสมกับกลุ่มเสี่ยง และขึ้นอยู่กับช่วงเวลาระยะเวลา ที่สัมผัสโรค การตรวจจะให้ผลดีเมื่อมีอาการ โดยพบว่า การตรวจแลป มี 2 แบบด้วยกัน คือ 1.การตรวจจากสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ ประกอบด้วย การ ตรวจ เยื่อบุในคอ ,การตรวจเนื้อเยื่อหลังจมูก และ การตรวจจากเสมหะ ในปอด เหมาะกับการวินิจฉัยโรค ในระยะเวลาฟักตัว 1-14 วัน 2.การตรวจด้วยเลือด เพื่อหากระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย เหมาะสำหรับการตรวจในการสอบสวนโรค ใช้ในทางระบาดวิทยา เหมาะสำหรับคนหมู่มาก เช่นอย่างกรณี การตรวจในสนามมวย สถานบันเทิง แต่เหมาะสมสำหรับในช่วงเวลา 5-7 วัน
นายแพทย์โอภาส กล่าวว่า การตรวจแลปที่ได้ผลดีในการควบคุมป้องกันโรค ไม่ใช่ การตรวจคนจำนวนมาก โดยประเทศที่ได้รับการยกย่องว่า ควบคุมโรคได้ผลดี ได้แก่ ประเทศจีน ,ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ตรวจเฉพาะคนที่เหมาะสม ไม่ใช่ตรวจทุกคน ที่สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ใช้การตรวจแลปน้อยมาก เนื่องจากทุกคน มีวินัยดี มีการควบคุมโรคได้ดี และไม่มีใคร ตรวจแลปแบบเกาหลีใต้ ซึ่งความจริงของการตรวจแลปทางเกาหลีใต้ ก็ไม่ได้ตรวจทุกคน แต่ตรวจเฉพาะคนที่อยู่ในเมืองแทกู และคยองซังเหนือ ขณะเดียวกันเรื่องปัจจัยบราคาการตรวจ ในการตรวจหาสารคัดหลั่ง ระบบทางเดินหายใจ มีราคา 2,500 บาท และต้องมีการตรวจยืนยันควบคู่กับแลปอีก 1 ที่ เพื่อยืนยันมาตรฐาน และให้ผลตรวจที่ชัดเจน ส่วน การตรวจโดยใช้เลือดนั้น จะเป็นการตรวจโดยชุดทดสอบ แบบ จึงต้องมีการนำเข้าน้ำยาตรวจ ส่วนภาพรวมของการตรวจยืนยันในห้องแลป นั้น ปัจจุบันมีแลปยืนยัน 40 แห่ง และในอนาคตเตรียมขยายให้ได้มากถึง 100 แห่ง .-สำนักข่าวไทย