จุฬาฯ 6 ก.พ.- จุฬาฯ ร่วมหาทางออกปัญหา PM2.5เสนอรัฐควรกำหนดเป้าหมายชัด ปีหน้าจะลดค่าฝุ่นได้กี่เปอร์เซนต์ ออกกฏหมายอากาศสะอาด ให้ทุกคนในประเทศมีส่วนร่วม ลดต้นเหตุฝุ่นจิ๋ว ก่อนตายผ่อนส่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัด เสวนา ฝุ่นPM2.5 แก้ปัญหาอย่างไรให้ยั่งยืน เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และหาทางออกปัญหาฝุ่นPM2.5ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ปัญหาสำคัญที่เป็นวาระแห่งชาติ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ พร้อมเสนอมาตรการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ได้ผลจริง เป็นทางเลือกที่ภาครัฐจะนำไปใช้ในกาแก้ปัญหาดังกล่าวของประเทศ โดยเชิญนักวิชาการในแต่ละภาควิชาของจุฬาฯ มาร่วมเสนอทางออก ประกอบด้วย รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล ภาควิชาสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ,รศ.ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม คณะนิติศาสตร์ ,รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ผอ.สถาบันการขนส่ง, ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผอ.ศูนย์ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม,ภญ.ดร.สุชาดา สุขหร่อง คณะเภสัชศาสตร์ และ ผศ.ดร.ศรัณย์ เตชะเสน รองผอ.สถาบันวิจัยสภาวะสิ่งแวดล้อม
รศ.ดร.มาโนช กล่าวว่า ต้นเหตุฝุ่นในกทมและเมืองใหญ่ มีหลายปัจจัย หลักๆคือปริมาณการจราจรที่เพิ่มมากขึ้น และเครื่องยนต์ดีเซล รถเก่าอายุใช้งานมากกว่ 11 ปี เป็นสาเหตุต้นๆ ที่ส่งผลต่อปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก ช่วงเวลาที่ค่าฝุ่นมีปริมาณต่ำคือเวลา 12.00-20.00 ส่วนค่าฝุ่นสูงคือเวลา24.00น.ถึงรุ่งสาง ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฏหมายนการกำหนดอายุรถโดยสาร เพราะรถเก่าคืออีกต้นเหตุของฝุ่น การเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชน ที่ไม่ต่อเนื่องมีส่วนทำให้ประชาชนไม่ใช้ระบบขนส่งในการเดินทางและใช้รถยนตร์ส่วนตัวมากขึ้น รัฐควรมีส่วนช่วยกำหนดเป้าหมายให้ชัดว่าจะช่วยลดPM2.5 ได้กี่เปอร์เซ็น ภายในกี่ปี
ศ.ดร.ธีรยุทธ กล่าวว่า อนุภาคขนาดเล็กของฝุ่นPM 2.5 ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อสุขภาพ และฝุ่นขนาดเล็กสามารถสูดเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้โดยตรง หากไม่สวมหน้ากากระดับN95 นำไปสู่มะเร็งปอดได้ในอนาคต เมื่อไม่มีอาการเฉียบพลัน ทำให้คนไม่ใส่ใจป้องกัน แต่ผลเรื้อรังน่ากลัวที่สุด เนื่องจากคนไม่ป้องกัน
รศ.ดร.คนึงนิจ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นพลเมืองที่ได้รับผลกระทบจากอากาศที่ไม่สะอาด รัฐควรมีกกฏหมายแก้ปัญหาเชิงลึกอย่างจริงจัง การหายใจนำอากาศไม่สะอาด ทำให้เสียชีวิตก่อนเวลาอันควร มีการประเมินว่าประชากร กลุ่มเสียงจะตายเร็วขึ้น เพราะPM2.5เป็นฝุ่นจิ๋วที่มองไม่เห็น อยากให้เกิดกฏหมายอากาศสะอาด ต้องเป็นเครื่องมือคว้านลึกเชิงโครงสร้าง ปัจจุบันเคยชินกับการแก้ไขปัญหาที่อยู่เหนือน้ำ โดยไม่ได้คว้านลึกลงไปถึงตัวปัญหา pm2.5เป็นภาพสะท้อนของการบังคับใช้กฏหมายที่หย่อนยาน หากรัฐไม่ทำอะไรเลย ประชาชนมีสิทธิเลือกว่าจะตายเมื่อไหร่ ถูกยัดเยียดให้ตายก่อนเวลาอันควร
อย่างไรก็ตาม โมเดลที่ใช้ได้ผลของจุฬาฯ คือ การตรวจวัดคุณภาพอากาศ มีแอปพลิเคชั่นในการตรวจวัด เพื่อให้เห็นค่าฝุ่นที่น่ากลัว และมีจักรยานให้ใช้ภายในจุฬาฯ มีรถเมล์ไฟฟ้า ล้างแอร์ทุกปี เห็นชัดถึงค่าฝุ่นที่ลดลง เพื่อเป็นต้นแบบของระบบจัดการฝุ่นของมหาวิทยาลัย รัฐต้องปรับนโยบายให้คนในสังคมมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจริงจังในระยะยาว ปัญหาจึงจะสามารถจัดการได้ .-สำนักข่าวไทย