fbpx

ภัยแล้งขยายวงกว้าง พืชผลการเกษตรยืนต้นตาย

พิจิตร 18 ม.ค.- สถานการณ์ภัยแล้งขยายวงกว้าง พืชผลการเกษตรยืนต้นตาย แต่บางจังหวัดชาวนายังคงปลูกข้าว โดยขุดบ่อบาดาลแม้ว่าจะมีการขอความร่วมมือให้งดทำนาปรัง


เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดสายพันธุ์ข้าวเหนียวในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลท่าหลวง  อำเภอเมืองพิจิตร นำต้นข้าวโพดที่เริ่มยืนต้นตาย มาให้ผู้สื่อข่าวดู หลังจากที่ต้องเผชิญภัยแล้ง แหล่งน้ำตามธรรมชาติทั้งห้วยหนองลำคลองและบึงลดระดับลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี ข้าวโพดสายพันธุ์ข้าวเหนียวของกลุ่มเกษตรกรในหมู่บ้านจำนวนกว่า 1,000 ไร่ ที่มีอายุเฉลี่ย 1 เดือนเศษ มีสภาพยืนต้นเหี่ยวเฉาตาย เพราะขาดน้ำไปหล่อเลี้ยงลำต้นเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวอยู่นอกเขตชลประทาน   ไม่มีแม่น้ำสายหลักไหลผ่าน ประกอบกับบ่อบาดาลที่มีอยู่ก็ประสบปัญหาน้ำสูบไม่ขึ้น ทำให้เกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดไม่สามารถหาแหล่งน้ำมาหล่อเลี้ยงต้นข้าวโพดสายพันธุ์ข้าวเหนียวได้

เกษตรกร เล่าว่า ปีนี้ภัยแล้งมาเร็วกว่าทุกปี แหล่งน้ำตามธรรมชาติลดระดับลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ปริมาณน้ำใต้ดินก็ลดระดับลงตามปริมาณน้ำในแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่แห้งขอดตามไปด้วย ทำให้น้ำที่สูบจากระบบบ่อบาดาลเพื่อที่จะรดต้นข้าวโพดไม่มีน้ำให้สูบขึ้นแต่อย่างใด  ชาวสวนส่วนใหญ่จึงตัดสินใจปล่อยให้ต้นข้าวโพดเหี่ยวเฉายืนต้นตาย   เพราะราคาข้าวโพดที่จะขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7 – 8 บาท หรือตันละ 7 – 8 พันบาทเท่านั้น ซึ่งไม่คุ้มกับต้นทุนต่างๆ ที่จะตามมาหากต้องลงทุนเพิ่ม โดยเฉพาะการว่าจ้างเอกชนมาปรับสภาพขุดเจาะบ่อบาดาลให้มีความลึกเพื่อหาแหล่งน้ำที่ต้องใช้เงินจำนวนกว่า 3 หมื่นบาท 


ปรับการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท

แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท ด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ได้ลดระดับลงต่ำจากระดับเก็บกักถึง 3 เมตร 34 เซนติเมตร (จาก 16.50 เมตร เหลือ 13.16 เมตร) ทำให้เขื่อนเจ้าพระยาต้องปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนลง จากที่เคยระบายน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อไปช่วยผลักดันน้ำเค็มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อสัปดาห์ก่อนลดลงมาเหลือ 80 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนลดต่ำลงไปมากกว่านี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการส่งน้ำเข้าระบบชลประทานด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ เพื่อไปรักษาระบบนิเวศ และเพื่ออุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา

ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ชลประทานได้เร่งกำจัดผักตบชวา บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ที่ไหลมากองรวมกันเต็มลำน้ำ ยาวกว่า 300 เมตร เพื่อไม่ให้กีดขวางทางน้ำ และลดการระเหยของน้ำ


แม่น้ำชีแห้งขอด ประปาหมู่บ้านขาดน้ำ

โคราชแล้งโหดแม่น้ำชีแห้งขอด แหล่งประปาหมู่บ้านขาดน้ำ 3 เดือน ประกาศภัยแล้ง 5 อำเภอ ที่บ้านใหม่ดอนเปล้า หมู่ 15 ตำบลใหม่ อำเภอโนนสูง สระน้ำขนาดใหญ่เนื้อที่ 8 ไร่ น้ำแห้งขอด ไม่มีน้ำผลิตน้ำประปา ชาวบ้านกว่า 100 ครัวเรือน เดือดร้อนขาดแคลนน้ำใช้มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว หรือนาน 3 เดือนแล้ว

นายทองสุข กลอนกลาง ผู้ใหญ่บ้าน บอกว่า สระน้ำแห่งนี้ไม่เคยแห้ง แต่ปีนี้แล้งหนักสุดในรอบ 20 ปี จึงอยากวอนภาครัฐเร่งหาทางช่วยเหลือชาวบ้านเป็นการเร่งด่วน

เช่นเดียวกัน ลำน้ำชี แม่น้ำสายหลักช่วงไหลผ่าน อ.แก้งสนามนาง จ.นครราชสีมา สภาพแห้งขอด เหลือน้ำเล็กน้อย แม้ชาวบ้านช่วยกันกั้นฝายทดน้ำขนาดใหญ่ แต่ปริมาณน้ำก็ไม่เพียงพอผลิตประปาแจกจ่าย 12 หมู่บ้านและชุมชนตลาด เขตเศรษฐกิจของ อ.แก้งสนามนาง โดยเฉพาะโรงพยาบาลแก้งสนามนาง อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ

จ.นครราชสีมา ได้ประกาศเขตภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินภัยแล้ง 5 อำเภอ 45 ตำบล 441 หมู่บ้าน 13 ชุมชน ประกอบด้วย อ.โนนสูง อ.ปักธงชัย อ.โชคชัย อ.เทพารักษ์ และ อ.จักราช ส่วนราชการต้องแจกน้ำช่วยเหลือ

น้ำยมแห้ง ชาวนาเจาะบ่อบาดาลสู้แล้ง

สภาพแม่น้ำยม รวมถึงแหล่งน้ำต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เริ่มแห้งขอดลงทุกขณะ และถูกจ่อด้วยเครื่องสูบน้ำของชาวนาตลอดสาย เพื่อดึงน้ำขึ้นไปทำนาข้าว มีชาวบ้านในพื้นที่ต่างนำเครื่องมือมาจับปลาในน้ำที่เหลืออยู่เป็นแอ่ง ๆ และคาดว่าจะแห้งขอดไม่เหลือน้ำติดก้นคลองเลยในเร็ววันนี้ เป็นสภาพภัยแล้งรุนแรงที่ใกล้เคียงปี 2558 ขณะที่พื้นที่โดยรวมของ อ.บางระกำในหลาย ๆ ตำบล เต็มไปด้วยนาข้าวอายุ 1-2 เดือน ที่ยังแลดูเขียวขจี แม้ว่ากรมชลประทานจะออกประกาศแจ้งเตือนว่าปีนี้จะงดส่งน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร เนื่องจากน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ ก็เลือกที่จะทำดีกว่าปล่อยให้พื้นที่รกร้างว่างเปล่าจำนวนมาก มีบ่อน้ำบาดาลเป็นของตัวเอง เพื่อดึงน้ำขึ้นมาหล่อเลี้ยงนาข้าว 

นายดำรง ทองรอด อายุ 70 ปี เล่าว่า ตนทำนา 20 ไร่ เดิมใช้น้ำจากคลองบางแก้ว หรือแม่น้ำยมสายเก่าเป็นหลัก โดยสูบน้ำขึ้นมาหลายทอดกว่าจะถึงที่นาของตนเอง แต่ปัจจุบันน้ำในคลองบางแก้ว แทบไม่มีเหลือแล้ว เพราะต่างระดมสูบน้ำกัน ต้องหันมาใช้น้ำจากบ่อบาดาล ที่ลงทุนเจาะบ่อไว้แล้ว ในงบประมาณ 20,000 บาท ซึ่งปกติในหลายปีที่ผ่านมา ชลประทานจะส่งน้ำจากแม่น้ำน่านมาช่วยในพื้นที่ อ.บางระกำ แต่ปีนี้ทางการประกาศงดส่งน้ำ เพราะน้ำในเขื่อนเหลือน้อย ตนยึดอาชีพทำนามานาน และยังมีหนี้สินกับ ธ.ก.ส.อยู่ ถ้าไม่ทำนารอบนี้ ก็จะไม่มีเงินส่งดอกเบี้ยส่งต้นให้กับธนาคาร จะให้ไปทำอาชีพอื่น ก็ทำไม่ไหวและไม่ชำนาญ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ระทึก! สารแอมโมเนียจากโรงน้ำแข็งรั่ว บาดเจ็บนับร้อย

ระทึกกลางดึก สารแอมโมเนียรั่วในโรงน้ำแข็ง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ชาวบ้านสูดดม ได้รับผลกระทบกว่า 100 คน ต้องกระจายส่งตาม รพ. ต่างๆ

จับแล้ว! ชายอินเดียฆ่าปาดคอหญิงวัย 51 ปี

เกิดเหตุฆ่าปาดคอหญิงอายุ 51 ปี ในโรงแรมท้องที่ สน.ตลาดพลู ผู้ต้องสงสัยเป็นชายชาวอินเดียที่อยู่ด้วยกันในโรงแรม กว่า 1 สัปดาห์ ก่อนหายตัวไปหลังเกิดเหตุ ล่าสุดตามจับได้แล้ว สารภาพอ้างแค้นผู้ตายไม่คืนเงิน

วัยรุ่นเชียงใหม่ ตะลุมบอนงานไม้ค้ำ จ.เชียงใหม่

กลุ่มวัยรุ่นตะลุมบอนชกต่อยกันในงานแห่ไม้ค้ำโพธิ์ จ.เชียงใหม่ ขณะที่ผู้จัดงานติดป้ายเตือนทะเลาะวิวาทในงาน จับได้ปรับ 75,000 มอบให้คนถ่ายคลิป 5,000

ล่า “จัก เขาบายศรี” ถ้าต่อสู้อาจจำเป็นต้องวิสามัญ

ตำรวจปิดล้อมตรวจค้นหลายจุดทั่วเมืองชลบุรี ล่าตัว “จัก เขาบายศรี” มือกราดยิงวันไหล ย่านบ่อนไก่ จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต หากเจอตัวแล้วยิงต่อสู้ อาจจำเป็นต้องวิสามัญ วอนญาติรีบประสานพามามอบตัว

ข่าวแนะนำ

ศาลสั่งจำคุกลูกชาย รมช.เมาแล้วขับ 2 เดือน ปรับ 4 พันบาท

ศาลสั่งจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท ลูกชายรัฐมนตรีช่วย เมาขับฝ่าด่านตรวจ โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี พร้อมพักใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือน

ติดตามโครงการทางแยกต่างระดับ แยกท่าเรือ จ.ภูเก็ต

จ.ภูเก็ต 19 เม.ย.-นายกฯ ติดตามโครงการทางแยกต่างระดับ แยกท่าเรือ จ.ภูเก็ต พร้อมสำรวจการจราจร วงเวียนอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร